.
ตอนที่ 11 หนีห่าว ตามรอยศรัทธาลูกหลานเจ้าพ่อหมื่น ออกอากาศวันเสาร์ที่ 12 กันยายน 2563 ในช่วงเวลา 06.25 - 06.55น. ทางไทยรัฐทีวี ช่อง 32
ชาวไทยเชื้อสายจีนในจังหวัดนครพนม บรรพบุรุษอพยพมาจากจังหวัดแต้จิ๋ว จากเมืองซัวเถา มณฑลกวางตุ้ง ทางตอนใต้ของประเทศจีน อพยพทางเรือผ่านทะเลจีนใต้มาสู่กรุงเทพมหานคร บางส่วนก็ตั้งรกรากที่กรุงเทพมหานคร บางส่วนก็มองว่าการเดินทางออกไปในถิ่นทุรกันดาร น่าจะเป็นโอกาสในการเจริญเติบโตได้ดีกว่าอยู่ในเมืองหลวง จนมีคนจีนบางส่วนได้อพยพมายังภาคตะวันออกเฉียงเหนือจนมาถึงจังหวัดนครพนม
เมื่อเข้ามาอาศัยก็จะแต่งงานกับผู้หญิงคนไทยกลายเป็นค่านิยมในสมัยนั้นทำให้การสืบเชื้อสายเป็นคนไทยเชื้อสายจีนสืบต่อเนื่องกันมาตั้งแต่นั้น ต่อมามีการรวมกลุ่มพ่อค้าในจังหวัดนครพนมตั้งเป็น “สมาคมฮั้วเคี้ยว” เมื่อปี พ.ศ. 2489 มีนายกสมาคมคนแรกคือ นายโต๊ะเค็ง แซ่เตีย ความสัมพันธ์ระหว่างชาวจีนเป็นไปด้วยดีมาโดยตลอด และสมาคมพ่อค้าจังหวัดนครพนมได้เริ่มก่อตั้งสถานศึกษาขึ้นชื่อ “โรงเรียนตงเจี่ย” เพื่อให้ลูกหลานชาวจีนได้มีโอกาสเรียนภาษาจีนเพิ่มเติมจากภาษาไทยที่เป็นภาษาบังคับ
การอพยพชาวจีนเข้ามาในจังหวัดสกลนครมีมากกว่า 100 ปีตามหลักฐานบอกเล่าของชาวจีนในสกลนครว่าในช่วงปี พ.ศ. 2494 มีชาวจีนเข้ามาค้าขายในจังหวัดสกลนครประมาณ 20 ครอบครัวเท่านั้น เริ่มตั้งแต่มีรถไฟมาอยู่อีสาน ด้วยเสื่อผืนหมอนใบมีทั้งแต้จิ๋ว กวางตุ้ง ไหหลำ ฮกเกี้ยน และจีนแคะซึ่งส่วนใหญ่อพยพมาจากโคราช
ในระยะหลังๆในช่วงปี 2500 - 2512 มีคนจีนอพยพเข้ามาค้าขายมากขึ้นและเป็นชาวจีนแต้จิ๋วเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากมีชาวจีนมากขึ้น จึงมีการสร้างศาลเจ้าเจ้าปู่ เจ้าย่าสุ สานสุขสวัสดิ์และเมตตาธรรมมูลนิธิ ขึ้นมาตามลำดับ เพื่อประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อของชาวจีน เช่น ในว่าสารทจีน ตรุษจีน เฉลิมฉลองเจ้าปู่เจ้าย่า (ตึงเถ่ากง - ตึงเถ่าม่า)และที่แปลกกว่าคือ วันง่วนเซียว ที่จัดหลังวันตรุษจีน 15 วัน ที่ชาวสกลนครจะมาพบปะสังสรรค์จัดงานเลี้ยงฉลองและอวยพรซึ่งกันและกัน
ความเป็นมาของการรวมตัวของชาวไทยเชื้อสายจีนในจังหวัดมุกดาหาร ได้เริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2512 โดยชาวจีนในตลาด อำเภอมุกดาหารในขณะนั้นได้รวมตัวกัน เพื่อเป็นการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน หากมีคนจีนเสียชีวิตก็จะมาช่วยเหลือจัดงานศพ เพื่อนำไปฝังยังสุสานฮวงซุ้ยที่สรรหาไว้ ส่วนงาน บำเพ็ญกุศลก็เป็นไปตามแรงฐานะ บ้านไหนมีความพร้อมก็จัดให้มีพิธีกงเต็ก แต่ถ้าไม่สะดวกก็จัดให้มีพิธีเคารพศพตามประเพณี ประกอบกับ นิมนต์พระมาสวดอภิธรรมศพและทำบุญเลี้ยงพระตามประเพณีไทยควบคู่กันไป โดยคณะกรรมการที่มาช่วยงานศพจะต้องประชุมกัน จัดวางแผน และปรึกษาหารือกันเพื่อจัดงานศพ ซึ่งในเวลานั้นติดขัดเพราะกฎหมายการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ห้ามชุมนุมกันเกิน 5 คน ดังนั้นชาวจีนใน ตลาดจึงได้ไปปรึกษา ท่านสืบ รอดประเสริฐ ซึ่งดำรงตำแหน่ง นายอำเภอมุกดาหาร (มุกดาหารในขณะนั้นเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดนครพนม) ซึ่งได้รับคำแนะนำว่าจะต้องขออนุญาตจดทะเบียนจัดตั้งเป็นมูลนิธิฯ จึงจะชุมนุมกันได้ในขอบเขตให้ถูกต้องการกฎหมาย หลังจากนั้นได้รวบรวมคณะผู้ก่อตั้งจำนวน 13 คน ก่อตั้งมูลนิธิการกุศลมุกดาหาร “เต็กก่า จีหมกเกาะ”
ชาวไทยเชื้อสายจีนในจังหวัดนครพนม บรรพบุรุษอพยพมาจากจังหวัดแต้จิ๋ว จากเมืองซัวเถา มณฑลกวางตุ้ง ทางตอนใต้ของประเทศจีน อพยพทางเรือผ่านทะเลจีนใต้มาสู่กรุงเทพมหานคร บางส่วนก็ตั้งรกรากที่กรุงเทพมหานคร บางส่วนก็มองว่าการเดินทางออกไปในถิ่นทุรกันดาร น่าจะเป็นโอกาสในการเจริญเติบโตได้ดีกว่าอยู่ในเมืองหลวง จนมีคนจีนบางส่วนได้อพยพมายังภาคตะวันออกเฉียงเหนือจนมาถึงจังหวัดนครพนม
เมื่อเข้ามาอาศัยก็จะแต่งงานกับผู้หญิงคนไทยกลายเป็นค่านิยมในสมัยนั้นทำให้การสืบเชื้อสายเป็นคนไทยเชื้อสายจีนสืบต่อเนื่องกันมาตั้งแต่นั้น ต่อมามีการรวมกลุ่มพ่อค้าในจังหวัดนครพนมตั้งเป็น “สมาคมฮั้วเคี้ยว” เมื่อปี พ.ศ. 2489 มีนายกสมาคมคนแรกคือ นายโต๊ะเค็ง แซ่เตีย ความสัมพันธ์ระหว่างชาวจีนเป็นไปด้วยดีมาโดยตลอด และสมาคมพ่อค้าจังหวัดนครพนมได้เริ่มก่อตั้งสถานศึกษาขึ้นชื่อ “โรงเรียนตงเจี่ย” เพื่อให้ลูกหลานชาวจีนได้มีโอกาสเรียนภาษาจีนเพิ่มเติมจากภาษาไทยที่เป็นภาษาบังคับ
การอพยพชาวจีนเข้ามาในจังหวัดสกลนครมีมากกว่า 100 ปีตามหลักฐานบอกเล่าของชาวจีนในสกลนครว่าในช่วงปี พ.ศ. 2494 มีชาวจีนเข้ามาค้าขายในจังหวัดสกลนครประมาณ 20 ครอบครัวเท่านั้น เริ่มตั้งแต่มีรถไฟมาอยู่อีสาน ด้วยเสื่อผืนหมอนใบมีทั้งแต้จิ๋ว กวางตุ้ง ไหหลำ ฮกเกี้ยน และจีนแคะซึ่งส่วนใหญ่อพยพมาจากโคราช
ในระยะหลังๆในช่วงปี 2500 - 2512 มีคนจีนอพยพเข้ามาค้าขายมากขึ้นและเป็นชาวจีนแต้จิ๋วเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากมีชาวจีนมากขึ้น จึงมีการสร้างศาลเจ้าเจ้าปู่ เจ้าย่าสุ สานสุขสวัสดิ์และเมตตาธรรมมูลนิธิ ขึ้นมาตามลำดับ เพื่อประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อของชาวจีน เช่น ในว่าสารทจีน ตรุษจีน เฉลิมฉลองเจ้าปู่เจ้าย่า (ตึงเถ่ากง - ตึงเถ่าม่า)และที่แปลกกว่าคือ วันง่วนเซียว ที่จัดหลังวันตรุษจีน 15 วัน ที่ชาวสกลนครจะมาพบปะสังสรรค์จัดงานเลี้ยงฉลองและอวยพรซึ่งกันและกัน
ความเป็นมาของการรวมตัวของชาวไทยเชื้อสายจีนในจังหวัดมุกดาหาร ได้เริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2512 โดยชาวจีนในตลาด อำเภอมุกดาหารในขณะนั้นได้รวมตัวกัน เพื่อเป็นการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน หากมีคนจีนเสียชีวิตก็จะมาช่วยเหลือจัดงานศพ เพื่อนำไปฝังยังสุสานฮวงซุ้ยที่สรรหาไว้ ส่วนงาน บำเพ็ญกุศลก็เป็นไปตามแรงฐานะ บ้านไหนมีความพร้อมก็จัดให้มีพิธีกงเต็ก แต่ถ้าไม่สะดวกก็จัดให้มีพิธีเคารพศพตามประเพณี ประกอบกับ นิมนต์พระมาสวดอภิธรรมศพและทำบุญเลี้ยงพระตามประเพณีไทยควบคู่กันไป โดยคณะกรรมการที่มาช่วยงานศพจะต้องประชุมกัน จัดวางแผน และปรึกษาหารือกันเพื่อจัดงานศพ ซึ่งในเวลานั้นติดขัดเพราะกฎหมายการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ห้ามชุมนุมกันเกิน 5 คน ดังนั้นชาวจีนใน ตลาดจึงได้ไปปรึกษา ท่านสืบ รอดประเสริฐ ซึ่งดำรงตำแหน่ง นายอำเภอมุกดาหาร (มุกดาหารในขณะนั้นเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดนครพนม) ซึ่งได้รับคำแนะนำว่าจะต้องขออนุญาตจดทะเบียนจัดตั้งเป็นมูลนิธิฯ จึงจะชุมนุมกันได้ในขอบเขตให้ถูกต้องการกฎหมาย หลังจากนั้นได้รวบรวมคณะผู้ก่อตั้งจำนวน 13 คน ก่อตั้งมูลนิธิการกุศลมุกดาหาร “เต็กก่า จีหมกเกาะ”
ชาวไทยเชื้อสายจีนในพื้นที่จังหวัดกลุ่มจังหวัดสนุก (สกลนคร - นครพนม - มุกดาหาร) มีการใช้ภาษาจีนกันบ้างในปัจจุบัน อีกทั้งยังมีการตั้งโรงเรียนสอนภาษาจีนในพื้นที่เพื่อให้ลูกหลานชาวไทยเชื้อสายจีนได้เรียนภาษาจีนเพิ่มเติม นอกเหนือจากภาษาไทยที่เป็นภาษาบังคับ
การแต่งกายของคนไทยเชื้อสายจีน ปัจจุบันแต่งชุดปกติ สากลทั่วไป แต่จะมีการแต่งชุดของชนเผ่า ในวันเทศกาลต่าง ๆ เช่น ตรุษจีน งานเชิดสิงโต งานมงคลต่าง ๆ
ชาวไทยเชื้อสายจีน นิยมสวมเสื้อคอจีนมีชื่อเรียกในภาษาจีนว่า “กังจวง” ซึ่งกันหรือเสื้อคอจีนดัดแปลงมาจากเสื้อนอกของชายในสมัยปลายราชวงศ์ชิงแบบเสื้อมีลักษณะเด่น 4 ประการคือ
1) คอเสื้อด้านหน้าตรงกลางไว้
2) แขนเสื้อและตัวเสื้อเป็นผ้าชิ้นเดียวกันจึงไม่มีรอยตะเข็บต่อระหว่างเสื้อและแขนเสื้อ
3) เสื้อเป็นแนวตรง
4) กระดุมเสื้อเป็นกระดุมแบบจีนซึ่งประกอบด้วยเม็ดกระดูกที่ใช้ตรงกลางเป็นปุ่มและห่วงรังดุม
นอกจากนี้ยังมีเครื่องแต่งกายที่เรียกว่า “กี่เพ้า” มาจากคำว่า ฉี (ธง) ผาว (เสื้อ) เป็นเครื่องแต่งกายของหญิงแมนจู ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ในสมัยราชวงศ์ชิงเครื่องแต่งกายที่เกิดจากการหลอมรวมเป็นหนึ่งของชนชาติต่าง ๆ ของจีนและถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมการแต่งกายของชาวจีนเป็นงานตัดเย็บที่รวมศิลปะหลายแขนงเอาไว้ด้วยกันไม่ว่าจะเป็นหัตถกรรมการปักลวดลายดอกไม้และนกหรือภาพอื่น ๆ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของจีน
จีนมีวัฒนธรรมอาหารการกินมากว่า 5,000 ปี ความมีเอกลักษณ์พิเศษเฉพาะตนนี้ หนึ่งคือมีรสชาติหลากหลาย จีนมีคำพูดที่ว่า “ภาคใต้นิยมหมี่ภาคเหนือนิยมเมี่ยน” ก็คือคนในภาคใต้ชอบทานข้าว และคนในภาคเหนือชอบทานพวกเส้น
นอกจากนี้แล้ว ยังมีคำพูดที่ว่า “ภาคใต้นิยมรสหวาน ภาคเหนือนิยมรสเค็ม ภาคตะวันออกนิยมรสเปรี้ยว ภาคตะวันตกนิยมรสเผ็ด” ซึ่งชาวจีนที่อาศัยอยู่ทุกมณฑลจะมีรสนิยมที่แตกต่างกันตามภูมิประเทศ
ในปัจจุบันอาหารจีนจำแนกออกเป็น 8 กลุ่มใหญ่ ๆ ได้แก่ อาหารกวางตุ้ง อาหารซานตง อาหารเสฉวน อาหารหูหนาน อาหารฮกเกี้ยน อาหารเจียงซู อาหารเจ้อเจียง และอาหารอันฮุย โดยอาหารเสฉวนจะมีรสเผ็ด อาหารกวางตุ้งจะมีรสหวาน อาหารซานตงจะมีรสเค็ม อาหารเจียงซูจะมีรสเปรี้ยว แต่ละประเภทจะเน้นรสชาติที่ต่างกันถือเป็นลักษณะพิเศษของตน
เอกลักษณ์พิเศษอย่างที่ 2 ของอาหารจีน คือ มีความแตกต่างกันตามแต่ฤดูในรอบปีของจีน ชาวจีนจะทำกับข้าวตามการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล ฤดูร้อนมักจะเป็นอาหารจืด ฤดูหนาวมักจะเป็นอาหารที่มีรสจัดเข้มข้น อันนี้ก็เพราะว่าชาวจีนได้รวบรวมประสบการณ์จากสมัยโบราณพบว่า คนในอากาศที่หนาว ต้องการพลังไปต่อสู้กับความหนาว รสชาติเข้มข้นจะชวนให้เกิดความอยากอาหารทำให้สามารถทานได้มากยิ่งขึ้น จะเป็นผลดีต่อสุขภาพ
ส่วนข้อที่ 3 คือ เน้นความสวยงามของรูปลักษณ์อาหาร ชาวจีนรับประทานอาหารไม่เพียงแต่ให้ความสำคัญต่อรสชาติเท่านั้น หากยังเน้นความสวยงามของอาหารด้วย ไม่ว่าเป็นแครอทหรือหัวไชเท้า ต่างก็สามารถแกะเป็นรูปต่าง ๆ นานา นอกจากนี้ ยังเน้นการประสานกลมกลืนกันของอาหาร เครื่องปรุงที่จะใส่อาหารและสิ่งแวดล้อมขณะรับประทานอาหารด้วย
อาหารจีนได้รับความนิยมในทั่วโลก เมื่อพิจารณาสาเหตุที่ทำไมจึงเป็นที่นิยมของทั่วโลกนั้น นอกจากรสชาติแล้ว ความสวยงามของอาหารก็เป็นปัจจัยอย่างหนึ่งที่ดึงดูดความสนใจ ถือเป็นเนื้อหาพื้นฐานอย่างหนึ่งของวัฒนรรมอาหารจีน และเป็นเสน่ห์สำคัญของอาหารจีนด้วย
ชาวจีนสมัยก่อนจะประกอบอาหารด้วยการผัดในกระทะไฟแรงเป็นหลักเพราะเป็นวิธีที่ช่วยประหยัดเชื้อเพลิง และทำให้อาหารคงคุณค่าความสดกรอบเอาไว้ได้การทอด นึ่ง และเคี่ยวเป็นวิธีที่นิยมทำกันมาก ในขณะที่การย่างและอบนั้นจะทำกันในครัวของภัตตาคารเท่านั้น อาหารจีนต้องถึงพร้อมทั้งรสชาติและหน้าตา สำคัญ คือ ส่วนประกอบต่าง ๆ จะต้องกลมกลืนเข้ากันได้กับเครื่องปรุงรสจำพวก ซีอิ๊ว กระเทียม ขิงดอง น้ำส้ม น้ำมันงา แป้งถั่วเหลืองและหอมแดงปัจจุบันชาวไทยเชื้อสายจีน ก็จะบริโภคอาหารตามแต่ละภาคเป็นส่วนใหญ่ อาหารของชาวไทยเชื้อสายจีน ได้แก่ ประเภท ต้มผัด แกง ทอด ซุป แกง เช่น ผัดสี่สหาย ผัดกุ้ง ผักผักบุ้ง ผัดปวยเล้ง คะน้าน้ำมันหอย ปาท่องโก๋ ซาลาเปา ขนมไข่หงส์ โดยมีข้าวเป็นหลัก อาจจะมีโจ๊กหรือข้าวต้มบ้าง จุดเด่นของอาหารนี้ คือ ไม่รสจัด รสชาติเค็มปานกลาง นอกจากนี้ยังมี วัฒนธรรมการดื่มชา ซึ่งในอดีตเป็นวัฒนธรรมของคนจีนชั้นสูง ที่มีความพิถีพิถัน มีการทำขนมในงานมงคลต่าง ๆ เช่น บัวลอย ไข่หวาน กุ๊ยช่าย ขนมท้อ ขนมใบโพธิ์ ขนมเทียน ขนมเข่ง ถั่วตัด ตุ๊บตั๊บ ขนมคอเป็ด เป็นต้น
การดื่มสุรา
ในการดื่มสุรา ไม่ควรดื่มโดยไม่ชักชวนผู้อื่นให้ดื่มร่วมกัน เจ้าภาพมักจะดื่มเพื่อเป็นเกียรติแก่แขก โดยพูดคำว่า “กันเปย” ซึ่งหมายถึง ชนแก้ว หรือดื่มให้หมดแก้ว การสั่งอาหารเลี้ยงชาวจีนควรสั่งให้อาหารเหลือ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเจ้าภาพมีฐานะดี และให้เกียรติแขก ตอนท้ายของมื้อ มักจะมีการเสิร์ฟข้าว หรือ ก๋วยเตี๋ยว เป็นการแสดงความถ่อมตนของเจ้าภาพว่า อาจจะเลี้ยงแขกไม่อิ่มจึงต้องสั่งข้าวมา แขกและเจ้าภาพสามารถตักอาหารให้แก่กันได้ โดยใช้ตะเกียบ หรือ ช้อนกลาง หากไม่มี ควรใช้ตะเกียบ หรือ ช้อนของผู้ที่เราต้องการตักอาหารให้ ตักอาหารแทน ปกติงานเลี้ยงอาหารกลางวันมักจะเสร็จสิ้นภายในเวลา 1 ชั่วโมง และรับประทานอาหารเย็นประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่ง ร้านอาหารบางแห่งอาจมีระเบียบไม่ให้พนักงานรับทิป และบางร้านได้รวมค่าบริการไว้กับค่าอาหารเรียบร้อยแล้ว
ลักษณะที่อยู่อาศัยของคนไทยเชื้อสายจีน เมื่อครั้งที่อพยพเข้ามาในพื้นที่ นิยมอยู่เป็นอาคารพาณิชย์ 2 ชั้น สร้างจากปูน ที่สามารถทำการค้าขายและอาศัยอยู่ได้พร้อมกัน หากแต่จะต้องมีการเลือกทำเลและฮวงจุ้ยในการตั้งบ้านเรือน
1. เทศกาลตรุษจีน
วันตรุษจีน เป็นวันขึ้นปีใหม่ของชนชาติจีนแผ่นดินใหญ่และพี่น้องชาวไทยเชื้อสายจีน นั่นแสดงว่าเป็นสัญญาณอันดีที่จะมีงานรื่นเริง การสวมใสเสื้อสีแดงสด อันเป็นสีที่เป็นสิริมงคลของพี่น้องชาวจีน อาจจะบอกได้ว่าเป็นวันครอบครัวที่จะได้พบปะสังสรรค์ กินเลี้ยงอย่างมีความสุข
การไหว้ตรุษจีน จะนิยมเรียกกันว่า “วันชิวอิด” แปลว่า วันที่ 1 มีความน่าสนใจตรงที่ว่า คนจีนจะไหว้ “ไช้ซิ้งเอี๊ย” หรือเทพเจ้าแห่งโชคลาภ ในเวลากลางดึกเมื่อเวลาย่างเข้าวันตรุษหรือวันชิงอิด ไช้ แปลว่า โชคซิ้ง และเอี๊ย แปลว่า เจ้านอกจากนี้เวลาไหว้ยังมีฤกษ์ยาม และทิศที่จะตั้งโต๊ะไหว้ ยังเป็นทิศ และเวลาเฉพาะในแต่ละปี เพื่อความเป็นสิริมงคล ของไหว้จะไหว้ง่ายๆ ด้วยส้ม และโหงวเส็กทึ้งกับนำชาส้ม คนจีนเรียกว่า กา หรือ “ไต้กิก” แปลว่า โชคดี เพื่ออวยพรให้ลูกหลานโชคดี และใช้ให้เป็นของขวัญ
2. เทศกาลกินเจ
เทศกาลกินเจเดือนเก้า หรือ เทศกาลกินเจ (เก้าอ๊วงเจ หรือ กิวอ๊วงเจ) เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาช้านานของชาวจีน โดยจะกำหนดเอาวันตามจันทรคติ คือ เริ่มตั้งแต่ วันขึ้น 1 ค่ำ ถึงวันขึ้น 9 ค่ำ ตามปฏิทินจีนของทุก ๆ ปี รวม 9 วัน 9 คืน ผู้คนส่วนหนึ่งจะไม่กินเนื้อสัตว์ ทำให้ได้ช่วยชีวิตสัตว์ไว้ได้ส่วนหนึ่ง เนื่องจากมีการฆ่าสัตว์น้อยลง ผู้คนที่ศรัทธาในพุทธศาสนาจะพากันสละกิจโลกียวัตร และพากันเข้าวัดวาอารามบำเพ็ญศีลสมาทาน กินเจ คือ บริโภคแต่อาหารจำพวกพืชผัก และผลไม้เป็นหลัก ละเว้นไม่กระทำกิจใด ๆ อันนำมาซึ่งการเบียดเบียนเดือดร้อนให้เกิดแก่สัตว์โลก คือ การไม่เอาชีวิต เลือด เนื้อของสัตว์โลกให้มาเป็นของเรา พากันซักฟอกมลทินออกจากร่างกาย วาจา และใจ สวมเสื้อผ้าขาวสะอาด เข้าวัดเข้าวา พร้อมด้วยดอกไม้ธูปเทียนทำบุญทำทานแก่สัตว์โลกผู้ยากไร้ ถือศีลกิจเจเป็นเวลา 9 วัน ผู้ถือศีลกินเจ จะมีการชำระกระเพาะให้สะอาดก่อน โดยการกินเจในมื้อเย็นก่อนวันจริง 1 มื้อ และมื้อเช้าหลังวันที่เก้าขึ้น 9 ค่ำอีก 1 มื้อเป็นการลา ซึ่งจะเป็นวันส่งเจ้า ในช่วง 9 วันนี้ ทุกวันคี่ จะถือเป็นวันเจใหญ่ พุทธบริษัทจะไปทำบุญ และกินเจที่ศาสนสถาน นอกนั้นจะถือศีลกินเจที่บ้านเทศกาลกินเจ มาจากคำบอกเล่าที่เล่าต่อ ๆ กันมาเป็นเชิงปรัมปรา และมาจากคำสอน ความเชื่อทางศาสนาพุทธ ฝ่ายนิกายมหายาน เป็นกุศโลบายให้คนทำความดี เหมือนเช่นเรื่องอื่น ๆ แต่คนรุ่นหลังได้มีการเพิ่มเติมเสริมแต่งพิธีการ เพื่อให้เกิดความขลัง ให้มีความน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น จึงทำให้กลายเป็นพิธีการที่ต้องใช้เงินใช้ทองมากมายในการประกอบพิธีให้ครบถ้วน
3. เทศกาลไหว้เจ้า
การไหว้เจ้าเป็นธรรมเนียมประเพณีที่ลูกหลานจีนปฏิบัติสืบทอดกันมา ตามความเชื่อที่จะต้องไหว้เจ้าที่ และไหว้บรรพบุรุษ เพื่อให้เป็นสิริมงคล และนำมาซึ่งความสุข ความเจริญแก่ครอบครัว
ในปีหนึ่งมีการไหว้เจ้า 8 ครั้ง เรียกว่า “โป๊ยโจ่ย” แปลว่า 8 เทศกาล ดังนี้
-ไหว้เดือน 1 วันที่ 1 (เป็นการกำหนดวันทางจันทรคติของจีน) คือ ตรุษจีน เรียกว่า ง่วงตั้งโจ่ย
-ไหว้เดือน 1 วันที่ 15 เรียกว่า ง่วงเซียวโจ่ย
-ไหว้เดือน 3 วันที่ 4 เรียกว่า ไหว้เช็งเม้ง เป็นประเพณีที่ลูกหลานไปไหว้บรรพบุรุษที่ฮวงซุ้ย
-ไหว้เดือน 5 วันที่ 5 เรียกว่า โหงวเหว่ยโจ่ย เป็นเทศกาลไหว้ขนมจ้าง
-ไหว้เดือน 7 วันที่ 15 คือ ไหว้สารทจีน เรียกว่า ตงง้วงโจ่ย
-ไหว้เดือน 8 วันที่ 15 เรียกว่า ตงชิวโจ่ย ที่คนทั่วไปรู้จักกันดีว่า ไหว้พระจันทร์
-ไหว้เดือน 11 ไม่กำหนดวันแน่นอน เรียกว่า ไหว้ตังโจ่ย
-ไหว้เดือน 12 วันสิ้นปี เรียกว่า ไหว้สิ้นปี หรือ ก๊วยนี้โจ่ย
4. เทศกาลเช็งเม้ง
ชิงหมิง หรือ เช็งเม้ง, เชงเม้ง (ตามสำเนียงแต้จิ๋ว) หรือ “เฉ่งเบ๋ง” (ในสำเนียงฮกเกี้ยน) “เช็ง” หรือ "เฉ่ง” หมายถึง สะอาด บริสุทธิ์ และ “เม้ง” หรือ "เบ๋ง” หมายถึง สว่าง รวมแล้วหมายความถึง ช่วงเวลาแห่งความแจ่มใส รื่นรมย์
เช็งเม้งในประเทศจีน เริ่มต้นประมาณ 5 - 20 เมษายน เป็นฤดูใบไม้ผลิ อากาศจะคลายความหนาวเย็น เริ่มเข้าสู่ความอบอุ่น มีฝนตกปรอย ๆ มีบรรยากาศสดชื่น ท้องฟ้าใสสว่าง (เป็นที่มาของชื่อ เช็งเม้ง)
สำหรับในประเทศไทยเทศกาลเช็งเม้ง ถือวันที่ 5 เมษายนของทุกปีเป็นหลัก แล้วนับวันก่อนถึง 3 วัน และเลยไปอีก 3 วัน รวมเป็น 7 วัน (2 - 8 เมษายน) แต่ในปัจจุบันเนื่องจากมีปัญหาการจราจรคับคั่ง เลยขยายช่วงเวลาเทศกาลให้เร็วขึ้นอีก 3 สัปดาห์ (ประมาณ 15 มีนาคม - 8 เมษายน) แต่ในภาคใต้บางพื้นที่ เช่น จังหวัดตรังจะจัดเร็วกว่าที่อื่น 1 วัน ประมาณวันที่ 4 เมษายนของทุกปี
ประเพณีที่สำคัญมากที่สุดของของชาวจีน คือ ไหว้บรรพบุรุษที่สุสาน ฮวงซุ้ย (แต้จิ๋ว) หรือ บ่องซุ่ย (ฮกเกี้ยน) เป็นการแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ โดยมีอิทธิพลมาจากลัทธิขงจื๊อ ที่เน้นเรื่องความกตัญญูเป็นสำคัญ
5. เทศกาลสารทจีน
วันสารทจีน ตามปฏิทินทางจันทรคติ เทศกาลสารทจีนจะตรงกับวันที่ 15 เดือน 7 ตามปฏิทินจีน เทศกาลสารทจีนถือเป็นวันสำคัญที่ลูกหลานชาวจีนจะแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ โดยพิธีเซ่นไหว้ และยังถือเป็นเดือนที่ประตูนรกเปิดให้วิญญาณทั้งหลายมารับกุศลผลบุญได้
6. พิธีแต่งงานแบบจีน
พิธีแต่งงานแบบจีน หรืองานประเพณีแต่งงานแบบจีนนั้นถือได้ว่าเป็นพิธีแต่งงานที่ใกล้เคียงกับพิธีแต่งงานแบบไทยมากที่สุด และนอกจากนี้ พิธีแต่งงานแบบจีน ในปัจจุบันก็มีคนไทยเชื้อสายจีนยังนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายควบคู่ไปกับ พิธีแต่งงานแบบไทย
พิธีแต่งงานแบบจีน เริ่มจากแม่สื่อแม่ชัก แม่สื่อในสมัยก่อนจะมีบทบาทมาก ในการจับคู่ซึ่งจะต้องเป็นคนที่กว้างขวางพอสมควร แต่ในสมัยนี้มีความจำเป็นน้อยมากเพราะโอกาสที่หนุ่มสาวจะได้เจอกันมีมากขึ้น เมื่อตกลงปลงใจกันแล้วตามทำเนียมทางฝ่ายชายจะจัดการให้ซินแสผูกดวงและกำหนดฤกษ์ยาม
7. พิธีกงเต๊ก
กงเต๊ก หมายถึง การที่ลูกหลานทำบุญกุศลทั้งทำแทนตัวผู้ตายและทำให้ผู้ตายด้วย เพื่อให้ผู้ตายได้กุศลผลบุญมากพอที่จะไปขึ้นสวรรค์
8. เทศกาลง่วนเซียว
จัดให้มีขึ้นทุกปี ในเดือนแรกของปฏิทินจันทรคติเรียกว่า เดือนหยวน, และในสมัยก่อนเรียกเวลากลางคืนว่า เซียว ในภาษาจีนกลาง ดังนั้น ในประเทศจีนวันนี้จึงถูกเรียกว่า เทศกาลหยวนเซียว ในวันที่ 15 ของเดือนแรกในปีจันทรคตินี้เป็นวันที่พระจันทร์เต็มดวง ตามประเพณีของลัทธิเต๋าวันที่ 15 ในเดือนแรกของปฏิทินจันทรคติ เรียกว่า ซ่างหยวน ตรงกับคำเรียก “เทพแห่งฟ้า” ท่านเป็นผู้ที่ชอบแสงสว่าง และวัตถุแห่งความสุข ดังนั้น ผู้คนจึงได้แขวนโคมไฟสีสันสวยงามนับพัน ๆ เพื่อเป็นการแสดงความขอบคุณท่าน ในปัจจุบันผู้คนจะมีการละเล่นแก้ปริศนาที่อยู่ในโคมไฟ และกินขนมบัวลอยในเทศกาลหยวนเซียว เรียกว่า ขนมทังหยวน และครอบครัวก็มีการมารวมตัวกันอย่างมีความสุข
9. การแห่ปึ่งเถ่ากง ปึงเถ่าม่า
เจ้าปึงเถ่ากง - ม่า เจ้าหลักเมืองของคนจีน เป็นเทพเจ้าแห่งการค้าขาย และปกป้องชาวบ้านให้อยู่เย็นเป็นสุข เป็นที่เคารพบูชาของชาวไทยเชื้อสายจีน เป็นการแห่เพื่อให้ประชาชนได้สามารถกราบไหว้ เพื่อความเป็นสิริมงคล นอกจากนี้ยังมีการประมูลสิ่งของมงคล เพื่อนำเงินที่ได้ไปทำประโยชน์เพื่อสาธารณะ ด้วย
ชาวไทยเชื้อสายจีนจะได้รับการถ่ายทอดวัฒนธรรมประเพณีบางอย่างมาจากบรรพบุรุษ ได้แก่ การประกอบพิธีดั้งเดิมตามความเชื่อ เช่น เทศกาลตรุษจีน วันไหว้พระจันทร์ วันสาร์ทจีน วันเช็งเม้ง เทศกาลกินเจ จัดสมโภชเจ้าพ่อหมื่น เจ้าพ่อคำแดง เจ้าพ่อสัมมาติ เจ้าพ่อสิบสอง เจ้าพ่อหลักเมือง
ข้อห้ามปฏิบัติภายในชุมชน และข้อห้ามปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับชาติพันธุ์หรือท้องถิ่น เพื่อให้นักท่องเที่ยวปฏิบัติตาม คือ การให้เกียรติ และเคารพสถานที่ ที่ชุมชนเคารพนับถือ
1. การเริ่มต้นค้าขายของวันใหม่
ก่อนจะทำการค้าขาย ชาวไทยเชื้อสายจีน จะต้องจุดธุป ไหว้เจ้าที่ ไหว้ตีจู่เอี๊ย เพื่อความเป็นสิริมงคล โดย จุดทั้งหมด 5 ดอก โดยแยกเป็น กระถางหลังบ้าน 3 ดอก หน้าบ้าน ด้านซ้าย 1 ดอก ด้านขวา 1 ดอก พร้อมทั้งผลไม้ 5 อย่าง
2.การปฏิบัติตัว
จะต้องสำรวม พูดจาสุภาพ ไม่กล่าวหยาบคายต่อกัน อ่อนน้อมถ่อมตน ไม่ยกตนข่มท่าน เพื่อเป็นศิริมงคลต่อตัวเองและกิจการ
3. หลักการฮวงจุ้ย
คือ ศาสตร์ในการกำหนดที่ตั้งให้เหมาะสม และเป็นมงคลสำหรับสร้างสุสาน บ้าน เมือง เป็นต้น โดยมีองค์ประกอบธรรมชาติ เช่น แม่น้ำ ภูเขา ต้นไม้ เข้ามาเกี่ยว
ฮวงจุ้ย มีความหมายดั้งเดิมว่า ที่ใด ดินดี น้ำดี ไม่ขัดประเพณี ไม่มีคนชั่ว ที่นั่นทำเลดี เป็นที่ที่เหมาะสมสำหรับการอยู่อาศัย และถ้าสอดคล้องไม่ขัดต่อธรรมชาติ และวิถีชีวิตของตนเอง คือ มีความสมดุล สอดคล้องกันอย่างนี้ นี่คือ ศาสตร์แห่งฮวงจุ้ย ซึ่งต้องประกอบด้วยเหตุผล และมีองค์ประกอบของกรรมหรือวาสนาของแต่ละคน พื้นที่ที่เลือกอยู่อาศัย คือ สภาพแวดล้อม และคุณธรรมความดีของตัวบุคคล และบุคคลที่แวดล้อม
1. รำหวายตังกง รำกังฟูรำพัด
ชาวไทยเชื้อสายจีนจะได้รับการถ่ายทอดวัฒนธรรมประเพณีบางอย่างมาจากบรรพบุรุษ ได้แก่ การประกอบอาชีพดั้งเดิมตามความเชื่อ เช่น เทศกาลตรุษจีน วันไหน้พระจันทร์ วันสาร์ทจีน วันเช็งเม้ง และเทศกาลกินเจ จัดงานสมโภชน์เจ้าพ่อหมื่น เจ้าพ่อคำแดง เจ้าพ่อสัมมติ เจ้าพ่อสิบสอง เจ้าพ่อหลักเมือง เป็นต้น แต่ประเพณีที่สำคัญและแตกต่างต่างจากพื้นที่อื่น คือ งานคารวะผู้สูงอายุ (มุฑิตาสักการะ) จะจัดขึ้นเมื่อช่วงตรุษจีน เป็นการทำความเคารพ ไหว้ขอพรจากผู้สูงอายุ โดยนำผู้สูงอายุมารวมกันที่สมาคม แล้วจะมีการนำของมงคลเช่น ส้ม มาไหวขอพรท่าน และนอกจากนี้ยังเป็นการทำความรู้จักกันระหว่างวัยและเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างญาติพี่น้องและสมาชิกสมาคมอีกด้วย
2. การแสดงอุปรากรจีน (งิ้ว)
งิ้วเป็นการแสดงที่ผสมผสานการขับร้องและการเจรจาประกอบกับลีลาท่าทางของนักแสดง ให้ออกเป็นเรื่องราว โดยสมัยนั้นได้นำเอาเหตุการณ์ต่าง ๆ ในพงศาวดารและประวัติศาสตร์มาดัดแปลงเป็นบทแสดง รวมทั้งยังมีการนำเอาความเชื่อทางประเพณีและศาสนาเข้าไปผสมผสานกับการแสดง งิ้วด้วย เดิมประเทศจีนมีงิ้วราว 300 กว่าประเภท ส่วนใหญ่จะเป็นงิ้วท้องถิ่น ส่วนงิ้วระดับประเทศ เช่น งิ้วปักกิ่ง, งิ้วเส้าซิง, งิ้วเหอหนัน และงิ้วกวางตุ้ง โดยงิ้วปักกิ่งเป็นงิ้วที่มีชื่อเสียงมากที่สุด งิ้วได้รับการยอมรับจากองค์การยูเนสโก และยกระดับงิ้วให้เป็น “มรดกโลก”
3. การเชิดสิงโต
เป็นประเพณีการเต้นรำอย่างหนึ่งในวัฒนธรรมจีนและประเทศอื่น ๆ ในทวีปเอเชียที่ผู้แสดงเลียนแบบการเคลื่อนไหวของสิงโตในชุดสิงโต การเชิดสิงโตปกติจะแสดงในเทศกาลตรุษจีนและในเทศกาลทางประเพณี วัฒนธรรม และศาสนาของชาวจีนอื่น ๆ การเชิดสิงโตอาจแสดงในโอกาสสำคัญ เช่น งานเปิดตัวธุรกิจ การเฉลิมฉลองในโอกาสพิเศษ หรืองานสมรส หรืออาจใช้เชิดชูเกียรติแขกพิเศษในชุมชนของชาวจีน คนจีนโบราณมีความเชื่อว่า “สิงโต” เป็นบุตรของมังกร ซึ่งมีอำนาจและทรงพลังมากที่สุดในบรรดาบุตรทั้งหมด ได้รับมอบหมายจากสวรรค์ในฐานะผู้พิทักษ์ สิงโตจึงถือเป็นสัญลักษณ์ของพลังอำนาจ ความกล้าหาญ และความจงรักภักดี นอกจากนี้ยังเชื่อว่ากันว่าสิงโตเป็น สัตว์เทพเจ้าที่ศักดิ์สิทธิ์ แม้เพียงเสียงคำรามก็สามารถปัดเป่าวิญญาณและสิ่งชั่วร้ายได้
4. การละเล่นเอ็งกอ
ตามประวัติศาสตร์ของประเทศจีนกล่าวไว้ว่า ณ ที่เมืองหนึ่งของจีน มีพวกกบฏได้ทำการยึดเมืองและกระทำการไม่เหมาะสม จึงทำให้เหล่าขุนนาง เศรษฐี ประชาชน ได้รวมพลังกัน เพื่อที่จะต่อสู้และต้องการให้เมืองที่ตนอาศัยอยู่ ได้กลับคืนมา จึงมีคนกลุ่มนี้ซึ่งรวมเอาบรรดาชนชั้นต่าง ๆ ร่วมแรงร่วมใจกัน และได้คิดหาวิธีการต่าง ๆ ที่จะเข้าเมืองโดยไม่ถูกพวกกบฏจับได้ และที่สำคัญคือต้องจำหน้าไม่ได้ จึงคิดการแสดงขึ้นมาชุดหนึ่ง ให้มีความแตกต่างกันกับการแสดงที่เป็นชุดงิ้วและเรียงขานว่า “เอ็งกอ” เหล่าคนกล้าได้แต่งกายเป็นชุดรัดกุม เหมือนทหารที่ออกศึก ในรูปแบบการแสดงด้วยการเต้นตีไม้ สร้างความเร้าใจให้ผู้คนสนใจทำให้ทหารฝ่ายกบฏแม้กระทั่งขุนนางกังฉินก็ไม่สามารถจำหน้าคนเหล่านี้ได้ เนื่องจากมีการวาดหน้าทั้งใบหน้าแต่งเติมสีสันที่ฉูดฉาด ประชาชนที่อยู่ในเมืองที่ทราบข่าวและเป็นพวกเดียวกัน ได้เตรียมซ่อนมีด ซ่อนดาบ ไว้ให้
เมื่อการแสดงเริ่มต้น ทุกคนต่างสนใจที่ชม เมื่อการแสดงได้ล่วงเลยมาพอสมควร ก็ถึงเวลาที่ผู้กล้าทั้งหลายที่แสดง เอ็งกอ ได้เปลี่ยนมาเป็นคณะกู้เมือง และสามารถจับพวกกบฏขุนนางกังฉินได้
อาชีพคนจีนส่วนใหญ่ค้าขายเป็นหลัก มีร้านทำฟัน ร้านทอง ร้านขายของชำ ร้านขายเครื่องก่อสร้าง ปั้มน้ำมัน โรงแรม ร้านอาหาร ร้านค้าไม้ ร้านรับซื้อของเก่า เป็นต้น
1. ศาลเจ้าพ่อหมื่น
ตั้งอยู่ที่วัดโอกาส (ใกล้แม่น้ำโขง) ถนนสุนทรวิจิตร อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม เป็นศาลเจ้าที่ชาวไทยเชื้อสายจีนเคารพนับถือ ทุก ๆ ปีจะมีการจัดงานสมโภชน์เจ้าพ่อหมื่น เพื่ออนุรักษ์สืบสานประเพณี วัฒนธรรมอันมีคุณค่าต่อสังคม ส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยจะมีกิจกรรมทำบุญ ขบวนแห่มังกร สิงโต การแสดงงิ้วและ การประมูลสิ่งของมงคลและการบันเทิง มีการแสดงที่หลากหลาย
2. ปฏิมากรรมปูนปั้น
เป็นศิลปะนูนต่ำ เรื่อง สามก๊ก ที่ศาลาการเปรียญหลังเก่าวัดโอกาสศรีบัวบาน ซึ่งเป็นหนึ่งเดียวในประเทศไทย โดยสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ. 2480 มีทั้งหมด 56 ภาพ “ซึ่งเป็นเรื่องราวจีน ในวัดไทย และสร้างโดยช่างญวณ”
3. โรงเจมุกดาหาร “จีหมกเจตั๊ว” จังหวัดมุกดาหาร
4. วิหารไต่ฮงกง และศาลเจ้าเมตตาธรรมมูลนิธิ จังหวัดสกลนคร