.
ตอนที่ 2 เยือนถิ่นไทอีสาน บ้านผึ่งแดด ออกอากาศวันเสาร์ที่ 11 กรกฎาคม 2563 ในช่วงเวลา 06.25 - 06.55น. ทางไทยรัฐทีวี ช่อง 32
บ้านท่าเรือ ตำบลท่าเรือ อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม
ชาวบ้านท่าเรือเป็นกลุ่มชนเผ่าไทยอีสาน (ลาว) ที่อพยพมาจากจังหวัดอุบลราชธานีเป็นเวลาร่วม 120 ปี มาตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณป่าล้อมรอบที่ราบลุ่ม ซึ่งมีหนองน้ำเล็ก ๆ และมีต้นไม้ใหญ่ที่ชาวบ้านเรียก "ไม้แต้" ในแต่ละปีพอถึงช่วงฤดูฝน จะมีเรือกระแซงจากอำเภอศรีสงครามบรรทุกอาหารแห้งมาแลกข้าวบริเวณท้ายหมู่บ้านติดต่อกันหลายปี จนถึงช่วงกลางปี พ.ศ. 2493 ชาวบ้านจึงตกลงให้เปลี่ยนชื่อหมู่บ้านเป็น บ้านท่าเรือ ตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน
บ้านผึ่งแดด ตำบลผึ่งแดด อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร
บ้านผึ่งแดด เดิมชื่อ “บ้านตากแดด” มาจากลาวจำปาสัก มาตั้งถิ่นฐานอยู่บ้านท่าวัวแดง แขวงสะหวันนะเขต (ลาว) จากนั้นค่อยเดินทางมาที่จังหวัดมุกดาหาร และได้ขยายอพยพมาที่บ้านตากแดก ซึ่งคนที่อพยพมาจากท่าวัวแดง มีเสื้อผ้าชุดเดียวใส่แล้วตากไว้ที่ราวไม้ไผ่ พอแห้งก็จะเอามาใส่อีก ณ บริเวณนั้นเรียกว่าผึ่งแดดจึงเป็นชื่อหมู่บ้านตากแดด ต่อมาได้เปลี่ยนไปตามสมัยสากลจาก “บ้านตากแดด” เป็น “บ้านผึ่งแดด” ปัจจุบันมีทั้งหมด 13 หมู่บ้านที่ขยายออกจากบ้านผึ่งแดด
บ้านผึ่งแดด หรือตากแดด (ภาษาลาว) หมู่บ้านถือกำเนิดและก่อตั้งมาเมื่อประมาณ ปี พ.ศ. 2257 เป็นตำนานบอกกล่าวเล่าขานจากรุ่นสู่รุ่นสืบต่อกันมา ประมาณ 305 ปี จนถึงปัจจุบัน ได้มีวัดเฉลิมชัยบ้านผึ่งแดด จัดตั้งวัดเมื่อปี 2265 โดยการนำการก่อสร้างวัด โดยอัญญา ท่านพระโพธิ์สาราช (หลวงปู่โพธิ์สาราช) พร้อมด้วยกลุ่มชาวบ้านโดยการนำของ “ท้าวจันทาวงศ์” (ต้นตระกูลสุพร) และชาวบ้านตากแดด (บ้านผึ่งแดดปัจจุบัน) เดิมชื่อ วัดโพธิ์ไทร เพราะบริเวณตั้งวัดมีต้นโพธิ์ 3 ต้นเป็นสัญลักษณ์ และชาวบ้านได้นำชื่อของ “อัญญาท่านโพธิ์สารราช” มาเป็นนามประกอบรวมกันเพื่อเป็นสิริมงคล หลังจากนั้นก็ได้เปลี่ยนชื่อวัด เมื่อปี พ.ศ.ใดไม่ปรากฏ เป็น “วัดเฉลิมชัย” บ้านผึ่งแดด
บ้านแป้น หมู่ที่ 5 และ หมู่ที่ 10 ตำบลบ้านแป้น อำเภอโพนนาแก้ว จังหวัดสกลนคร
กลุ่มชาติพันธุ์ไทอีสาน หรือ ไท - ลาว ถือเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นกลุ่มเก่าที่สุด อพยพเข้ามา ตั้งหลักแหล่งในแถบอีสาน โดยเฉพาะในจังหวัดสกลนครกลุ่มชาติพันธุ์ไทยลาวจะเป็นการอพยพจากบริเวณเขตจังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดกาฬสินธุ์ มหาสารคราม ยโสธร เข้ามาอาศัยอยู่ตามเขตพื้นที่ ๆ เป็นเนินสูง / โนน เป็นโคก และมีลุ่มน้ำไหลผ่าน เพื่อทำมาหากินกับการปลูกข้าวและหาอยู่หากินกับลุ่มแม่น้ำ ดังนั้น กลุ่มไทยลาวจึงกระจัดกระจายอยู่ตามแหล่งดังกล่าว ในทุกเขตอำเภอของสกลนคร และผสมผสานกัน
กลุ่มไท - ลาวได้รับอิทธิพลจากราชธานีเวียงจันทร์โบราณมีตัวอักษรไทยน้อย หรือตัวลาว อักษรธรรม หรือตัวขอม พูดภาษาไทย - ลาว (ภาษาอีสาน) เป็นกลุ่มผู้นำทางด้านวัฒนธรรมภาคอีสาน เช่น ฮีตสิบสอง และคองสิบสี่ ก่อเกิดการทำบุญตามเทศกาลในรอบปี ทำให้มีงานบุญพระเวส (พระเวสสันดร) บุญบั้งไฟ เป็นต้น และยังมีการสวดสรภัญญะเป็นการสวดหมู่ทำนองไพเราะ มีการไหว้ครูบูชาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และสิ่งที่ควรเคารพบูชา มีสัญลักษณ์แห่งความศรัทธาในศาสนา การศรัทธาวัดพระธาตุเชิงชุม พระธาตุนารายณ์เจงเวงเป็นสถูปเจดีย์เพื่อการเคารพบูชา
บ้านท่าเรือ ตำบลท่าเรือ อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม
ชาวบ้านท่าเรือเป็นกลุ่มชนเผ่าไทยอีสาน (ลาว) ที่อพยพมาจากจังหวัดอุบลราชธานีเป็นเวลาร่วม 120 ปี มาตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณป่าล้อมรอบที่ราบลุ่ม ซึ่งมีหนองน้ำเล็ก ๆ และมีต้นไม้ใหญ่ที่ชาวบ้านเรียก "ไม้แต้" ในแต่ละปีพอถึงช่วงฤดูฝน จะมีเรือกระแซงจากอำเภอศรีสงครามบรรทุกอาหารแห้งมาแลกข้าวบริเวณท้ายหมู่บ้านติดต่อกันหลายปี จนถึงช่วงกลางปี พ.ศ. 2493 ชาวบ้านจึงตกลงให้เปลี่ยนชื่อหมู่บ้านเป็น บ้านท่าเรือ ตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน
บ้านผึ่งแดด ตำบลผึ่งแดด อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร
บ้านผึ่งแดด เดิมชื่อ “บ้านตากแดด” มาจากลาวจำปาสัก มาตั้งถิ่นฐานอยู่บ้านท่าวัวแดง แขวงสะหวันนะเขต (ลาว) จากนั้นค่อยเดินทางมาที่จังหวัดมุกดาหาร และได้ขยายอพยพมาที่บ้านตากแดก ซึ่งคนที่อพยพมาจากท่าวัวแดง มีเสื้อผ้าชุดเดียวใส่แล้วตากไว้ที่ราวไม้ไผ่ พอแห้งก็จะเอามาใส่อีก ณ บริเวณนั้นเรียกว่าผึ่งแดดจึงเป็นชื่อหมู่บ้านตากแดด ต่อมาได้เปลี่ยนไปตามสมัยสากลจาก “บ้านตากแดด” เป็น “บ้านผึ่งแดด” ปัจจุบันมีทั้งหมด 13 หมู่บ้านที่ขยายออกจากบ้านผึ่งแดด
บ้านผึ่งแดด หรือตากแดด (ภาษาลาว) หมู่บ้านถือกำเนิดและก่อตั้งมาเมื่อประมาณ ปี พ.ศ. 2257 เป็นตำนานบอกกล่าวเล่าขานจากรุ่นสู่รุ่นสืบต่อกันมา ประมาณ 305 ปี จนถึงปัจจุบัน ได้มีวัดเฉลิมชัยบ้านผึ่งแดด จัดตั้งวัดเมื่อปี 2265 โดยการนำการก่อสร้างวัด โดยอัญญา ท่านพระโพธิ์สาราช (หลวงปู่โพธิ์สาราช) พร้อมด้วยกลุ่มชาวบ้านโดยการนำของ “ท้าวจันทาวงศ์” (ต้นตระกูลสุพร) และชาวบ้านตากแดด (บ้านผึ่งแดดปัจจุบัน) เดิมชื่อ วัดโพธิ์ไทร เพราะบริเวณตั้งวัดมีต้นโพธิ์ 3 ต้นเป็นสัญลักษณ์ และชาวบ้านได้นำชื่อของ “อัญญาท่านโพธิ์สารราช” มาเป็นนามประกอบรวมกันเพื่อเป็นสิริมงคล หลังจากนั้นก็ได้เปลี่ยนชื่อวัด เมื่อปี พ.ศ.ใดไม่ปรากฏ เป็น “วัดเฉลิมชัย” บ้านผึ่งแดด
บ้านแป้น หมู่ที่ 5 และ หมู่ที่ 10 ตำบลบ้านแป้น อำเภอโพนนาแก้ว จังหวัดสกลนคร
กลุ่มชาติพันธุ์ไทอีสาน หรือ ไท - ลาว ถือเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นกลุ่มเก่าที่สุด อพยพเข้ามา ตั้งหลักแหล่งในแถบอีสาน โดยเฉพาะในจังหวัดสกลนครกลุ่มชาติพันธุ์ไทยลาวจะเป็นการอพยพจากบริเวณเขตจังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดกาฬสินธุ์ มหาสารคราม ยโสธร เข้ามาอาศัยอยู่ตามเขตพื้นที่ ๆ เป็นเนินสูง / โนน เป็นโคก และมีลุ่มน้ำไหลผ่าน เพื่อทำมาหากินกับการปลูกข้าวและหาอยู่หากินกับลุ่มแม่น้ำ ดังนั้น กลุ่มไทยลาวจึงกระจัดกระจายอยู่ตามแหล่งดังกล่าว ในทุกเขตอำเภอของสกลนคร และผสมผสานกัน
กลุ่มไท - ลาวได้รับอิทธิพลจากราชธานีเวียงจันทร์โบราณมีตัวอักษรไทยน้อย หรือตัวลาว อักษรธรรม หรือตัวขอม พูดภาษาไทย - ลาว (ภาษาอีสาน) เป็นกลุ่มผู้นำทางด้านวัฒนธรรมภาคอีสาน เช่น ฮีตสิบสอง และคองสิบสี่ ก่อเกิดการทำบุญตามเทศกาลในรอบปี ทำให้มีงานบุญพระเวส (พระเวสสันดร) บุญบั้งไฟ เป็นต้น และยังมีการสวดสรภัญญะเป็นการสวดหมู่ทำนองไพเราะ มีการไหว้ครูบูชาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และสิ่งที่ควรเคารพบูชา มีสัญลักษณ์แห่งความศรัทธาในศาสนา การศรัทธาวัดพระธาตุเชิงชุม พระธาตุนารายณ์เจงเวงเป็นสถูปเจดีย์เพื่อการเคารพบูชา
ภาษาไทยถิ่นอีสาน หรือ ภาษาลาวอีสาน เป็นภาษาท้องถิ่นที่ใช้พูดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เป็นภาษาลาวสำเนียงหนึ่งในสำเนียงภาษาถิ่นของภาษาลาวซึ่งแบ่งเป็น 6 สำเนียงใหญ่ คือ
1. ภาษาลาวเวียงจันทน์ ใช้ในประเทศลาว ท้องที่นครหลวงเวียงจันทน์ แขวงบอลิคำไซ และในประเทศไทยท้องที่จังหวัดชัยภูมิ, หนองบัวลำภู, หนองคาย (อำเภอเมืองหนองคาย อำเภอศรีเชียงใหม่ อำเภอท่าบ่อ อำเภอโพนพิสัย อำเภอโพธิ์ตาก และอำเภอสังคมบางหมู่บ้าน), ขอนแก่น (อำเภอภูเวียง อำเภอชุมแพ อำเภอสีชมพู อำเภอภูผาม่าน อำเภอหนองนาคำ อำเภอเวียงเก่า และอำเภอหนองเรือบางหมู่บ้าน), ยโสธร (อำเภอเมืองยโสธร อำเภอทรายมูล และอำเภอกุดชุมบางหมู่บ้าน), อุดรธานี (อำเภอบ้านผือ และอำเภอเพ็ญบางหมู่บ้าน) และศรีสะเกษ (ในบางหมู่บ้านของอำเภอเมืองศรีสะเกษ อำเภอขุขันธ์ และอำเภอขุนหาญ)
2. ภาษาลาวเหนือ ใช้ในประเทศลาวท้องที่แขวงหลวงพระบาง ไชยบุรี อุดมไซ ในประเทศไทยท้องที่จังหวัดเลย, อุตรดิตถ์ (อำเภอบ้านโคก อำเภอน้ำปาด และอำเภอฟากท่า), เพชรบูรณ์ (อำเภอหล่มสัก อำเภอหล่มเก่า และอำเภอน้ำหนาว), ขอนแก่น (อำเภอภูผาม่าน และบางหมู่บ้านของอำเภอสีชมพู ชุมแพ), ชัยภูมิ (อำเภอคอนสาร), พิษณุโลก (อำเภอชาติตระการ และอำเภอนครไทยบางหมู่บ้าน), หนองคาย (อำเภอสังคม) และอุดรธานี (อำเภอน้ำโสม และอำเภอนายูงบางหมู่บ้าน)
3. ภาษาลาวตะวันออกเฉียงเหนือ ใช้ในประเทศลาวท้องที่แขวงเชียงขวาง หัวพัน ในประเทศไทยท้องที่บ้านเชียง อำเภอหนองหาน อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี และบางหมู่บ้านในจังหวัดสกลนคร, หนองคาย (บางหมู่บ้านในอำเภอท่าบ่อ อำเภอศรีเชียงใหม่ และอำเภอโพธิ์ตาก) และยังมีชุมชนลาวพวนในภาคเหนือบางแห่งในจังหวัดสุโขทัย อุตรดิตถ์ แพร่ ไม่กี่หมู่บ้านเท่านั้น
4. ภาษาลาวกลาง แยกออกเป็นสำเนียงถิ่น 2 สำเนียงใหญ่ คือ ภาษาลาวกลางถิ่นคำม่วน และถิ่นสุวรรณเขต ถิ่นคำม่วน จังหวัดที่พูดในประเทศไทย เช่น จังหวัดนครพนม, จังหวัดสกลนคร และจังหวัดบึงกาฬ (อำเภอเซกา และอำเภอบึงโขงหลง บางหมู่บ้าน) ถิ่นสุวรรณเขต จังหวัดที่พูดมีจังหวัดเดียว คือ จังหวัดมุกดาหาร
5. ภาษาลาวใต้ ใช้ในประเทศลาวท้องที่แขวงจำปาศักดิ์ สาละวัน เซกอง อัตตะปือ จังหวัดที่พูดในประเทศไทย จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดอำนาจเจริญ จังหวัดศรีสะเกษ และจังหวัดยโสธร
6. ภาษาลาวตะวันตก (ภาษาลาวร้อยเอ็ดหรือภาษาอีสาน) ไม่มีใช้ในประเทศลาว เป็นภาษาที่ใช้ในท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ท้องที่ร้อยเอ็ด อุดรธานี ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มหาสารคาม บุรีรัมย์ หนองคาย (บางหมู่บ้าน) และบริเวณใกล้เคียงมณฑลร้อยเอ็ดของสยาม สำเนียงนี้มีการใช้กันอย่างแพร่หลายในพื้นที่ส่วนมากของภาคอีสานสำเนียงนี้ส่วนมากจะใช้ "สระเอียแทนสระเอือ" ในปัจจุบันจนได้ขึ้นชื่อว่าเป็นสำเนียงกลางหรือสำเนียงมาตรฐานของภาษาอีสาน เทียบเท่ากับ แหลงใต้ อู้คำเมือง พูดไทยกลาง ของแต่ละภาค
ส่วนภาษาเขียนในอดีตใช้อักษรธรรมล้านช้างหรือตัวธรรม สำหรับบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับธรรมะหรือพระพุทธศาสนา และเขียนด้วยอักษรไทน้อยหรือตัวลาวเดิม (เป็นอักษรลาวล้านช้างโบราณ มีความแตกต่างกับอักษรลาวในประเทศลาวในปัจจุบันเล็กน้อย) สำหรับเรื่องราวทางโลก อักษรลาวล้านช้าง (ตัวลาวหรืออักษรไทน้อย) มีพยัญชนะ 20 เสียง สระเดี่ยว 18 เสียง สระประสม 2 - 3 เสียง บางท้องถิ่นไม่มีเสียงสระเอือแต่จะใช้สระเอียแทน ในปัจจุบันนิยมใช้อักษรไทยสำหรับเขียนบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ ทั้งในทางโลกและทางธรรม เนื่องจากผู้คนส่วนใหญ่ไม่สามารถอ่านตัวอักษรธรรมและอักษรลาวออก แต่ความนิยมในการเขียนบันทึกเป็นภาษาถิ่นไม่ค่อยได้รับความนิยมนัก โดยส่วนใหญ่ภาษาเขียนในท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยจะใช้อักษรไทยและบันทึกเป็นภาษาไทยกลางเป็นหลักแทน
ชาวไทยอีสานบ้านนาบัว จังหวัดนครพนม ผู้ชาย ใส่เสื้อม่อฮ่อม แถบแดง ผ้าขาวม้าคาดเอว ผู้หญิง เป็นสีเหลืองทอง แถบสีแดง ใส่ผ้าไหม ผ้าฝ้ายมัดหมี่ สไบมัดหมี่
ชาวไทอีสานบ้านผึ่งแดด จังหวัดมุกดาหาร เป็นชนเผ่าไทยอีสานหนึ่งในชนเผ่าที่มีเอกลักษณ์ของชนเผ่าเฉพาะของตนเอง มีการแต่งกายชุดเสื้อผ้าสีขาวหรือผ้าฝ้ายสีคราม ใส่ผ้าซิ่นมัดหมี่ ซึ่งชนเผ่า เรียกชุดตัวเองว่า “ผ้าซิ่นต่อตีน” สวมผ้าสไบลายตาหล่อง นอกจากชุดแล้วยังมีเครื่องประดับด้วยเงินประดับตกแต่งเพื่อความสวยงาม ผู้หญิงก้าวผมเหมือนคนลาวทัดด้วยดอกจำปาหรือดอกลีลาวดี มีไหมหรือพรมสีแดงมัดรวบหัว โดยในสมัยโบราณเรียกว่า “ผีหัวแดง”
ส่วนการแต่งกายของชาวไทอีสาน บ้านแป้น จังหวัดสกลนคร นิยมผ้าฝ้าย หากเป็นงานพิธีการจะนิยมผ้าไหม ผู้หญิงจะนุ่งผ้าซิ่นยาวปิดเข่าตกแต่งชายผ้าซิ่น เรียกว่า ตีนซิ่น ห่มสไบทับหรือผ้าเบี่ยง ฝ่ายชายจะนุ่งกางเกง ภาษาถิ่นเรียก “โซ่ง” เสื้อคอกลมผ้าหน้าติดกระดุม นิยมผ้าขาวม้าคาดเอว
การแต่งกายชาวไทอีสาน บ้านผึ่งแดด จังหวัดมุกดาหาร
อาหารของชาวไทอีสาน บ้านแป้น จังหวัดสกลนคร จะรับประทานข้าวเหนียวเป็นหลัก ควบคู่กับอาหารเครื่องจิ้ม เช่น แจ่วบอง ป่นนานาชนิด เช่น ป่นเขียด ป่นกบ ป่นปลา เป็นต้น ในงานเทศกาลสำคัญของชาวไทยลาวจะมีอาหารพิเศษ เช่น ลาบหมู ลาบไก่ ลาบปลา ลาบวัว ก้อยกุ้ง ก้อยเนื้อ ก้อยหอย เนื้อวัว – เนื้อควายย่าง แกงต่าง ๆ ของชาวไทยลาวจึงเรียกว่า อ่อม ส่วนอาหารหลัก
อาหารของชุมชนไทอีสาน บ้านท่าเรือ จังหวัดนครพนม คือ นึ่งปลา, ลวกผัก, แจ่วบอง, แกงอ่อมไก่บ้าน, ตำแตง และแกงตามฤดูกาล ขนมหวาน เช่น ข้าวต้มหัวหงอก และข้าวเหนียวแดง
อาหารของชาวไทยอีสาน บ้านผึ่งแดด จังหวัดมุกดาหาร คือ ต้มปลาคอใหญ่ใส่ผักคะแยง หรือปลาอื่น ๆ แจ่วหัวโปก ผักสด ผักลวก ตุ๋นไข่ใบยอ ลาบปลาสมุนไพร ซุบหัวปลีใส่หอย ประเภทของหวาน เช่น ขนมเทียนแก้ว นึ่งกอย ข้าวลืมผัว (ข้าวดำ, ก่ำ) วัฒนธรรมอาหารชาวอีสานรับประทานข้าวเหนียว ซึ่งอาหารหลักของชาวบ้าน คือ เครื่องจิ้ม เช่น แจ่วบอง ป่น กับผัก ส้มตำ แกง อ่อม จากเนื้อสัตว์และพืชผักที่หาได้ตามไร่นา ส่วนอาหารพิเศษอื่น ๆ ได้แก่ เนื้อย่าง ลาบ ก้อย ฯลฯ นั่นจะบริโภคเมื่อยามมีงานบุญหรือการเลี้ยงฉลองเท่านั้น
แต่อาหารที่ชุมชนเห็นว่าโดดเด่น เพื่อใช้ในการต้อนรับนักท่องเที่ยว ได้แก่ ต้มปลา (ค่อใหญ่) ใส่ผักขะแยง ต้มปลา (ใส่ข้าวปุ้น) หรือใช้ทานข้างเคียง ตุ๋นไข่ใบยอ ตุ๋น (หมก) ไข่รองด้วยใบยอ แจ่วหัวโปก ผักสดผักลวก แจ่วใช้พริกแห้งตำใส่ผักชีหอมปรุงรสเผ็ด ๆ ยำหัวปลี ตำใส่งาและขนมเทียนแก้ว
พาข้าว (สำรับข้าว)
ขนมเทียนแก้ว
ข้าวลืมผัว(ข้าวดำ,ก่ำ)
การสร้างบ้านเรือน หมู่บ้านชาวไทอีสานจะตั้งอยู่ติดแม่น้ำ แวดล้อมด้วยสวนมะพร้าวและนาข้าว ตัวบ้านสร้างจากไม้ไผ่ยกพื้นสูง มีบันไดอยู่ด้านหน้า บนเรือนจะกั้นเป็นห้องนอน และพื้นที่ทำงาน ใต้ถุนบ้านใช้เป็นที่เก็บเครื่องมือทำนาทำไร่และใช้เลี้ยงสัตว์ ส่วนยุ้งข้าวจะปลูกอยู่ห่างจากตัวเรือนออกไป
ชาวไทอีสานสร้างเรือนเพื่ออยู่อาศัยจึงไม่ประณีตบรรจงมากนัก นั่นคือผู้มีฐานะปานกลางจะสร้างบ้านเรือนที่มีขนาด 2 ห้องนอน คือ ห้องส้วม (ห้องลูกสาวและห้องหอ) ห้องเปิง (ห้องหัวหน้าครอบครัว) และไว้หิ้งผี ที่เรียกว่า “ห้องฮักษา” มีส่วนที่เชื่อมต่อห้องนอนของลูกสาวกับเครือญาติเป็นชานโล่ง ไม่มีหลังคาติดต่อกับครัว ซึ่งส่วนใหญ่จะมีขนาดเล็ก ลักษณะเป็นบานใต้ถุนสูง เพื่อทำกิจกรรม เช่น ทอผ้าเย็บ เครื่องมือทำนา และให้วัวควายนอนส่วนหนึ่ง
ชุมชนบ้านท่าเรือ จังหวัดนครพนม มีการยึดวัฒนธรรมประเพณีตามฮีต 12 คอง 14 ทั่วไปตามประเพณีอีสาน แต่มีประเพณีสำคัญ ที่โดดเด่น คือ
ลำดับ |
ประเพณี |
รายละเอียด |
---|---|---|
1 |
บุญประทายข้าวเปลือก |
สู่ขวัญข้าวให้อุดมสมบูรณ์ เอาข้าวมารวมกันบุญประทายข้าวเปลือก จัดทุกวันที่ 31 ธันวาคม โดยเอาข้าวมารวมกันที่วัด สวดมนต์ข้ามปี เพื่อสู่ขวัญข้าว เป็นสิริมงคล เพื่อให้ข้าวอุดมสมบูรณ์ |
2 |
ไหว้ศาลปู่ตา |
ขึ้น 2 ค่ำ เดือน 6 หรือ “บุญเลี้ยงบ้าน สืบสานตำนานแคน” จะใช้ เหล้าไห ไก่ตัวมาไหว้ บนบาน หาก ได้ตามที่ขอ สิ้นปีมาก็มาเลี้ยงบ้านโดยมีไก่ต้ม (ไม่เอาเครื่องในออก) เหล้า พริก เกลือ น้ำตาล น้ำ แจ่ว เทียน ดอกไม้ กระติบข้าวมาไหว้ นอกจากนี้ยังมีรำฟ้อนบวงสรวงเจ้าปู่ด้วย ซึ่งมีพ่อจ้ำพากล่าว โดยนายทด แมดมีเหง้า อายุ 78 ปี “เพื่อให้ชาวบ้านอยู่ดีมีสุข” |
3 |
บุญเดือนสาม |
ผูกข้อต่อแขน สู่ขวัญผู้เฒ่าผู้แก่ แสดงความกตัญญู ให้ลูกหลานจากต่างจังหวัดมาไหว้ขอพร |
4 |
บุญเดือนสี่ |
บุญประจำปี (บุญผะเวสสันดร) แรม 14-15 ค่ำ เดือน 4 |
5 |
บุญเดือนห้า |
บุญประเพณีสงกรานต์ |
6 |
บุญสวนแตง |
จัดขึ้น ปลายมกราคม - กลางกุมภาพันธ์ จะมีการประกวดนางสวนแตง ประกวดตำแตงลีลา ประกวดแตง เพื่อสร้างความสามัคคี เป็นประเพณีที่จัดขึ้นทุกปีเพื่อ ให้กำลังใจผู้ปลูกแตง และประชาสัมพันธ์สู่ภายนอก |
7 |
เลี้ยงบ้านเดือนหก เลี้ยงผีตาแฮก |
เพื่อความเป็นศิริมงคลของชุมชน ซึ่งมาจากนิทานที่มีเนื้อความว่า “มีลูกกฎุมพี ผัวตายเหลือแต่แม่ ลูกโตมาเป็นบ่าว เลยอยากหาคู่ครองให้ คนแรกมาไม่ได้ลูก เลยหาคนที่สองให้ เมียหลวงก็จองเวรกับเมียน้อยว่า ถ้าตายไปเป็นแมว คนหนึ่งกะจะไปกินไข่ไก่ ไปเป็นวัวก็จะไปกินลูกวัว จองเวรกันไปทุกชาติ จนไปเกิดเป็นยักขิณี เมียน้อยอุ้มลูกมา เลยไล่ วิ่งเข้ามาในวัดในขณะที่พระพุทธเจ้าเทศน์อยู่ เลยมาทูลพระพุทธเจ้า นางยักขิณีเลยได้เข้าวัดเพื่อมาฟังเทศน์ พระองค์จึงให้นางยักขิณีไปอยู่ตามไร่ตามนาเป็นผีตาแฮกเพื่อปกปักรักษาที่นา ให้อุดมสมบูรณ์ พอถึงบุญข้าวสาก ก็จะเอาข้าวไปเลี้ยงตาแฮก” |
8 |
บุญข้าวประดับดิน |
เดือน 9 เป็นบุญที่เชื่อว่า เป็นวันที่ จะมีการปล่อยเปรต ผีญาติพี่น้อง ออกมา ชุมชนจึง ห่อข้าว ห่ออาหารและ ผลไม้ ไปวางไว้ตามรอบกำแพงวัด ตั้งแต่ หกทุ่มถึงตีห้า เพื่อให้ผีได้กินอาหารที่เอามาวาง รุ่งเช้ามาก็ตักบาตรที่วัดเพื่อทำบุญ |
9 |
บุญข้าวสาก |
เดือน 10 ลักษณะจะคล้ายกับข้าวประดับดิน แต่เพิ่มขึ้นมาตรงที่ การนำข้าวห่อที่ถวายพระแล้ว แล้วเอาไปเลี้ยงผีตาแฮก ซึ่งเป็นช่วงดำนาเสร็จแล้ว |
10 |
บุญเดือนสิบเอ็ด |
บุญประจำปี “บุญออกพรรษา” |
11 |
บุญเดือนสิบสอง |
บุญประจำปี ได้แก่ บุญกฐิน บุญลอยกระทง (ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12) และโครงการปฏิบัติธรรม เฉลิมพระเกียรติ (เดือนธันวาคมของทุกปี) |
นอกจากนี้บุญประเพณี ณ ชุมชนบ้านผึ่งแดด จังหวัดมุกดาหาร จะร่วมบุญข้าวจี่ บุญกองข้าวใหญ่ เรียกกันว่า ข้าวปี ข้าวเดือน จะทำในช่วง เดือน 3 หลังจากเลี้ยงปู่ตาเสร็จ เป็นพิธีเส้นไหว้ เอาข้าวลงไปรวมที่วัด ซึ่งจะมีผู้นำพิธี คือปู่จ้ำ โดยชุมชนจะนำข้าวคนละ 1 กระสอบ ไปทำพิธี โดยสิ่งที่ขาดไม่ได้คือ ใยแมงมุม
ใยแมงมุม
ชาวไทอีสานในกลุ่มจังหวัดสนุก จะทำบุญประเพณีตามฮีต 12 คลอง 14 รักษาขนบธรรมเนียม เป็นเรื่องสำคัญของชุมชน ที่ต้องปฏิบัติร่วมกันตลอดมาตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน ซึ่งมีการประยุกต์ให้กับยุคสมัย
1. เจ้าปู่เจ้าตา
ผู้รักษาบ้านรักษาเมือง ถึงปีใหม่ ชุมชนก็จะไปสักการะ ไปป่ะไปบน สำหรับผู้ที่จะไปสอบ ไปศึกษาเล่าเรียน ไปทำงาน เดินทางต่างจังหวัด ไปบนขอพรจากเจ้าปู่ ให้ช่วย 13 หมู่บ้าน ต้องไปไหว้
2. พิธีกินดอง (แต่งงาน)
หนุ่มสาวในภาคอีสานโดยเฉพาะกลุ่มไทอีสาน ค่อนข้างจะมีอิสระในการเลือกคู่ครอง นั่นคือประเพณีพื้นบ้านไม่ค่อยจะเคร่งครัดในความสัมพันธ์ระหว่างหนุ่มสาว แต่กระนั้นก็ตามหนุ่มสาวภาคอีสานจะเกรงกลัวผีบรรพบุรุษที่เรียกว่า “ผิดผี” คือ ไม่กล้าที่จะประพฤติล่วงเกินประเพณีที่เรียกว่า “ฮิตบ้านคงเมือง” ประเพณีอีสานโดยทั่วไปจะเปิดโอกาสให้หนุ่มสาวได้คุ้นเคยหรือร่วมกิจกรรมสาธารณะด้วยการเสมอ พ่อแม่ญาติพี่น้องฝ่ายสาวก็ไม่ได้ปกป้องแต่อย่างใดเช่น การลงช่วง (หนุ่ม ๆ จะมาช่วยสาว ๆ ปั้นฝ้ายและเกี้ยวพาราสีกันได้) หรืองานบุญประเพณีทั่วไปหนุ่มสาวต่างหมู่บ้านจะมีโอกาสพบปะและสังสรรค์กันอย่างใกล้ชิด ซึ่งเป็นโอกาสเลือกคู่ครองที่พึงใจไปด้วยกันงานบุญประเพณีนั้น ๆ ครั้นเมื่อหนุ่มสาวแน่ใจว่าพบบุคคลที่พึงพอใจแล้วหนุ่มสาวจะมาเยี่ยมเยียนกันที่บ้านสืบต่อไป
3. พิธีโอม (การสู่ขอ)
การสู่ขอนั้นฝ่ายชายจะส่งแม่สื่อไปทาบทาม ถามความสมัครใจจากฝ่ายสาวก่อน ฝ่ายพ่อแม่จะเรียกบุตรสาวมาถามความสมัครใจ หากฝ่ายหญิงสมัครใจก็จะทำพิธีโอม ซึ่งในการนี้แม่สื่อจะปรึกษากับฝ่ายสาวเรื่องการกำหนดวันทำพิธีโอนด้วย ถึงวันเก่ากำหนดทำพิธีโอมกันนั้นเจ้าโคตรฝ่ายชาย (เจ้าโคตรคือบุคคลที่เป็นผู้ใหญ่หรืออาวุโสของตระกูล) จะเป็นผู้เฒ่าแก่จัดพานหมาก 4 คำหรือเรียกว่าขันหมากกับเงิน 3 บาทไปบ้านเจ้าสาว เมื่อถึงเรือนฝ่ายสาวบิดามารดาญาติพี่น้องจะจัดการต้อนรับเจ้าโคตรฝ่ายชายที่เป็นเฒ่าแก่มาสู่ขอหรือมาโอมตามสมควร เมื่อทั้งสองฝ่ายได้นั่งตามสมควรแล้วเฒ่าแก่ฝ่ายชายจะยกพานหมาก 4 คำ (มีผ้าขาวปิดไว้) ให้บิดามารดาฝ่ายหญิงกินและรับเงิน 3 บาท ที่อยู่ในพานนั้นด้วยเงินนี้เรียกว่า “เงินใส่ปากคอ” การรับเงินแสดงว่าฝ่ายสาวตกลงใจแล้วหากไม่ตกลงฝ่ายสาวจะส่งเงินคืน 3 บาทครั้นเมื่อพิธีโอนเสร็จแล้วทั้งสองฝ่ายจะปรึกษาค่าสินสอดกัน เรียกว่า “คาดค่าดอง”
4. บุญเผวด
จะมีการเล่นหัววัว หัวควาย เสี่ยงฟ้า เสี่ยงฝน เจ้าปู่ตาจะเข้ามาในวัด นำพิธี มีคนนำหัวงัว หัวควาย(กระดูก) ไปซ่อน แล้วให้เจ้าปู่ตาหา ถ้าหาเจอครบทั้ง 4 ทิศ ฝน ฟ้าจะดี
ชนเผ่าไทยอีสานมีวัฒนธรรมการร่ายรำผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมไทย - ลาว เป็นการรำบาสโลบ กับการฟ้อนผสมผสานกันในงานประเพณีต่าง ๆ ของชุมชน เช่น การรำบุญแห่เทียน เข้าพรรษา บวชนาค บุญพระเวส งานลอยกระทง และประเพณีอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับบุญประเพณี
การละเล่น ขับร้อง ลำนำ การละเล่นเครื่องดนตรี ได้แก่ หมอลำ การขับเซิ้ง ฟ้อน ส่วนเครื่องดนตรีสำคัญ ได้แก่ แคน ซึง หรือพิณ ฉิ่ง ฉาบ กลอง (เครื่องดนตรีอื่น ๆ ที่เห็นในปัจจุบัน เพิ่มเติมใหม่มาจากการผสมผสานวัฒนธรรมและการคิดค้นปรับปรุง เช่น โปงลาง โหวด)
นอกจากนี้ ยังมีเรื่องเล่าเกี่ยวกับนายฮ้อยทมิฬหรือขบวน “งัว” (วัว) การละเล่น “พาเมียไปยามย่า” ซึ่งเป็นการละเล่นในตอนกลางคืนที่เปิดโอกาสให้หนุ่มสาวได้พบปะกันในอดีตที่น่าสนใจอีกด้วย
ชาวไทอีสาน ในชุมชนบ้านท่าเรือ จังหวัดนครพนม มีการประกอบอาชีพทำนา (นาปี - นาปรัง) ทำสวน เช่น ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น และอาชีพหัตถกรรม ได้แก่ เครื่องดนตรีอีสาน เช่น แคน พิณ โหวด โปงลาง และปี่ ซึ่งเครื่องดนตรีอีสานนี้มีทั้งเป็นของที่ระลึกและเป็นเครื่องดนตรีที่สามารถใช้ได้จริง นอกจากนี้ยังมีการทอผ้าพื้นเมือง เช่น ผ้าฝ้าย ผ้าไหมมัดหมี่ ผ้าขาวม้า ผ้าสไบ และการทอเสื่อกก เป็นต้น
ชาวไทยอีสาน ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก นอกจากนั้นยังมีการจับปลาเป็นอาหาร และชาวไทอีสานยังทำอุตสาหกรรมในครัวเรือน เช่น ปั้นหม้อ สานตะกร้า ทอผ้า เป็นต้น ผู้หญิงลาวจะมีหน้าที่ทอผ้า เลี้ยงสัตว์ ตำข้าว เตรียมอาหาร ทำครัว เพาะปลูก เก็บเกี่ยว ส่วนผู้ชายจะทำงานหว่านไถนา ว่างก็จะมาทำพิณ แคน โหวด ชาวไทอีสานมีการนับถือญาติทั้งสองฝ่าย เมื่อชายหญิงแต่งงานแล้วจะอาศัยอยู่บ้านฝ่ายหญิงระยะหนึ่ง หลังจากนั้นจะย้ายออกไปตั้งเรือนใหม่ ลูกสาวมักได้รับมรดกจากพ่อแม่ และมักจะอาศัยอยู่กับพ่อแม่ของตนหลังจากแต่งงาน
ชาวไทอีสาน บ้านผึ่งแดด จังหวัดมุกดาหาร ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางการเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่ ร้อยละ 70 คือ ข้าว, พืชไร่ไม้ผลพืชผัก ส่วนการปศุสัตว์มีอยู่บ้างเล็กน้อย ร้อยละ 10 พนักงานเอกชน, รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 8 รับราชการ ร้อยละ 5
ชาวไทอีสาน บ้านแป้น จังหวัดสกลนคร ในอดีต นิยมทำนา จะใช้วิธีการลงแขก ซึ่งก่อนลงนาจะมีการทำ “ผีตาแฮก” หรือที่เรียกว่าแรกนาขวัญ เพื่อทำขวัญข้าว ให้มีข้าวมีกินตลอดปี ก่อนลงทำนา เรียกว่า “ครอบ” ก่อนนำข้าวขึ้นเล้า (ยุ้งฉาง) เรียกว่า “เลี้ยง” โดยจะใช้เหล้าไห ไก่ตัว กล่าวคือ เหล้า 1 ไห ไก่ 1 ตัว กล้วย ธูป 9 ดอก คำหมาก 2 คำ ยาสูบ 2 มวล นอกจากนี้ ยังมีการปลูกผักสวนครัว ปลูกฝ้าย ปลูกคราม เป็นต้น
สินค้าแนะนำของบ้านท่าเรือ จังหวัดนครพนม คือ เครื่องดนตรีพื้นเมือง และผ้าไหม ผ้ามัดหมี่ได้มาตรฐาน 5 ดาว ลายที่เป็นเอกลักษณ์ คือ ลายดอกบัวน้อย ลายเกล็ดเต่า หางกระรอก และลายขอ
ผลิตภัณฑ์ชุมชนบ้านผึ่งแดด จังหวัดมุกดาหาร ได้แก่ ผ้าทอมือ ผ้าขาวม้า พัดสะอ้อหอไหม ขนมเทียนแก้ว ลูกประคบ ข้าวไรซ์เบอรี่ ขันหมากเบ็ง และหมวกจากต้นไหล
ผลิตภัณฑ์ขึ้นชื่อของบ้านแป้น จังหวัดสกลนคร คือ ผ้าฝ้ายทอมือ ย้อมจากสีธรรมชาติ คือ ผ้าฝ้ายย้อมคราม
ชุมชนบ้านท่าเรือ จังหวัดนครพนม
วัดศรีโพธิ์ชัย แหล่งสืบทอดความรู้วัฒนธรรมท้องถิ่น วัดแห่งแรกที่ชาวบ้านท่าเรือร่วมแรงร่วมใจสร้างขึ้น เพื่อเป็นศูนย์รวมทางจิตใจของชาวบ้านหลังการก่อตั้งหมู่บ้าน วัดแห่งนี้เป็นสถานที่จัดแสดงขนบธรรมเนียมประเพณีต่าง ๆ และเป็นแหล่งถ่ายทอดภูมิปัญญาวัฒนธรรมท้องถิ่น ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาและสืบสานต่อ ซึ่งนอกจากโบสถ์ ศาลาการเปรียญที่ใช้ทำกิจของสงฆ์และงานบุญต่าง ๆ แล้วภายในวัดยังเป็นที่ตั้งของศูนย์หัตถกรรมผ้าไหมบ้านท่าเรือ ถ่ายทอดภูมิปัญญาในการมัดลาย ย้อมสี และการทอผ้าที่มีมาตั้งแต่รุ่นปู่ย่าตายาย ให้ลูกหลานในชุมชนได้สืบทอด นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งเรียนรู้ดนตรีพื้นบ้านอีกด้วย
ชุมชนบ้านผึ่งแดด จังหวัดมุกดาหาร
หลวงปู่องค์ขาว เป็นพระพุทธรูปโบราณ สร้างพร้อมพระอุโบสถหลังแรก (อุโบสถขนาดเล็กสร้างก่อนอุโบสถวัดบ้านหัวขัว) อายุราว ๆ 180 ปี ชาวบ้านผึ่งแดดให้ความเคารพนับถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้าน เป็นพระประธานในอุโบสถ สร้างหุ้มองค์พระซึ่งทำด้วยทองสัมฤทธิ์ โดยใช้ปูนทรายก่อหุ้มอีกชั้นหนึ่ง และทาด้วยสีขาว จึงเรียกชื่อว่า หลวงปู่องค์ขาว
หอธรรมาสน์ เป็นหอธรรมาสน์โบราณ อายุราว 170 ปี สร้างด้วยไม้ทั้งหลัง ฝาเป็นลายฉลุมีรูปกินรีตรงกลางสวยงาม หลังคามี 4 จั่ว มีรูปหัวพญานาคสลัก 4 หัวติดที่มุมหลังคา ขาทำเป็นรูปขากินรีเหยียบลูกแก้ว เป็นงานศิลปกรรมที่เกิดจากช่างฝีมือไทยบ้าน สร้างด้วยแรงศรัทธาในพระพุทธศาสนา ใช้ในพิธีงานบุญเพื่อให้พระขึ้นไปนั่งเทศน์
ตู้เก็บพระธรรมคัมภีร์ ตู้ไม้โบราณตกแต่งด้วยลายรดน้ำซึ่งเขียนลวดลายคล้ายพระพุทธจักรลงรักปิดทองตลอดทั้งตู้ ใช้เป็นตู้เก็บคัมภีร์ใบลานและหนังสือที่เกี่ยวกับพระธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนาสมัยโบราณ จึงเรียกกันตามสิ่งที่เก็บอยู่ในตู้ว่าตู้พระธรรม
โปวโบราณ ทำจากไม้ตะเคียนทองซึ่งได้รับบริจาคจากชาวบ้านจอมมณีใต้ ซึ่งเป็นไม้ตะเคียนที่อยู่ติดลำห้วย โดยใช้ส่วนต้นทำเป็นกองเพล ส่วนปลายทำเป็นโปง จนชาวบ้านเรียกชื่อลำห้วยว่า ฮองโปง จนถึงทุกวันนี้ ใช้ตีเป็นสัญญาณบอกเวลา สมัยก่อน มีหมู่บ้านจำนวนน้อย ชาวบ้านขึ้นภูหรือไปหาของป่าถ้าได้ยินเสียงโปงจะรู้เลยว่าบ้านผึ่งแดดอยู่ทิศทางใด และสมัยก่อนเสียงดังไกลมากชาวบ้านหนองสูง (อำเภอหนองสูงในปัจจุบัน) ยังได้ยิน
กลองเพล กลองขนาดใหญ่ประจำวัดทำจากไม้ตะเคียนทองซึ่งได้รับบริจาคจากชาวบ้านจอมมณีใต้ ซึ่งเป็นไม้ตะเคียนที่อยู่ติดลำห้วย โดยใช้ส่วนต้นทำเป็นกองเพล ส่วนปลายทำเป็นโปง จนชาวบ้านเรียกชื่อลำห้วยว่า ฮองโปง จนถึงทุกวันนี้ กลองเพลชายตีเวลาเพลหรือ 11:00 น เป็นสัญญาณกำหนดเวลาพระภิกษุสามเณรฉันภัตตาหาร กลองเพลงจะมีห้วงเวลาการตีบอกสัญญาณหลัก 4 ช่วงเวลา คือ ตีกลองเพล ตีกลองแลง ตีกลองดึก (กลางเดิก) และการตีบอกสัญญาณเฉพาะกิจ เช่น เหตุด่วน เหตุร้าย ซึ่งเรียกคล้ายคลึงกันคือ “กลองรวม” ดังนี้
- กลองเพล เวลา 10.55 น. หรือ 11.00 น. ตีให้สัญญาณต่อญาติโยมว่าเป็นช่วงของการนำภัตตาหารมาถวายเพล
- กลองแลง เวลา 16.00 น. เนื่องจากโบราณกาลไม่มีนาฬิกาบอกเวลา เสียงกลองแลงจึงทำหน้าที่ช่วยสื่อสารให้ชาวบ้านได้รับรู้ว่า “ค่ำแล้ว”
- กลองรวม เวลา 19.00 น. ตีบ่งบอกเวลาแห่งการรวมตัว (รวมพล) ของชาวบ้าน เพื่อประชุมจัดเตรียม งานบุญ ในเทศกาลต่าง ๆ หรือกระทั่งวาระแห่งการสูญเสียก็จะตีเพื่อให้ทุกคนมารวมตัวกัน โดยยึดเหตุการณ์เป็นหลัก เกิดตอนไหนก็จะตีเพื่อรวมพลกันตอนนั้น
- กลองดึก เวลา 04.00 น. เป็นการตีเพื่อให้สัญญาณเตือนพระและสามเณรให้ตื่นมาทำวัตรเช้า และปลุกเตือนให้ชาวบ้านตื่นมาหุงข้าวหุงปลาเพื่อเตรียมถวายพระ และดำเนินชีวิตตามควรลองของชีวิต