.
ตอนที่ 7 วิถีไทกะเลิง แห่งกุดแฮด ออกอากาศวันเสาร์ที่ 15 สิงหาคม 2563 ในช่วงเวลา 06.25 - 06.55น. ทางไทยรัฐทีวี ช่อง 32
บ้านหนองสังข์ ตำบลหนองสังข์ อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม
บรรพบุรุษของชาวไทกะเลิง บ้านหนองสังข์ อพยพมาจากเมืองวังอ่างคำ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของแขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ห่างจากแม่น้ำโขงประมาณ 110 กิโลเมตร อพยพย้ายบ้าน เนื่องจากเกิดโรคไข้มลพิษ (ฝีดาษ) ข้ามฝั่งโขงมาตั้งบ้านเรือนอยู่บ้านหนองหล่ม ตำบลโพธิ์ไทร อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร (แต่ก่อนขึ้นตรงจังหวัดนครพนม)
ต่อมาได้อพยพจากบ้านหนองหล่ม จำนวน 8 ครอบครัว โดยใช้เรือหาปลาพายทวนลำน้ำโขง จนพบลำน้ำก่ำที่ไหลมาจากน้ำหนองหาร จังหวัดสกลนคร ล่องเรือทวนลำน้ำก่ำขึ้นมาเรื่อย ๆ จนพบแหล่งน้ำหนองสังข์ ซึ่งเป็นหนองน้ำใหญ่มาก เนื้อที่ประมาณ 1,200 ไร่ จึงได้พากันขึ้นฝั่งมาตั้งบ้านทางทิศตะวันตกชื่อ “บ้านหลุบป่ากล้วย” พอถึงฤดูฝนน้ำหลากน้ำท่วม จึงได้พากันย้ายมาตั้งบ้านใหม่ทางทิศตะวันออกชื่อ “บ้านหนองสังข์” เป็นพื้นที่สูง น้ำไม่ท่วมจนถึงปัจจุบัน
บ้านโนนก่อ ตำบลบ้านซ่ง อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร
ความเป็นมาในอดีตชาวตำบลบ้านซ่ง มีเชื้อสายหลายเผ่าพันธุ์มาอยู่รวมกัน มีเชื้อสายเป็นชนเผ่าไทกะเลิง เดิมบรรพบุรุษมีถิ่นฐานอยู่ที่บ้านกุดน้ำแล้ง คือ บ้านนาสีนวล บ้านโพธิ์ศรี บ้านโนนสังข์ศรี ส่วนบ้านซ่งได้อพยพมาจากเมืองบกเมืองวัง บ้านกวาก หนองแบนซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของแขวงสะหวันนะเขต ประเทศสาธารณะรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เมื่อราวประมาณปี พ.ศ. 2268 มีการอพยพครั้งใหญ่ของประชาชนมาตั้งหลักแหล่งที่ตำบลผึ่งแดด อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร ในปัจจุบันแล้วย้ายถิ่นฐานมาอยู่ในบ้านโนนสังข์ศรีราษฎรในหมู่บ้านได้ขยายพื้นที่ทำนามาอยู่ในเขตบ้าน นาสีนวลเป็นบริเวณที่สมบูรณ์และราบลุ่มมีแหล่งน้ำ แม่น้ำแห่งนี้เรียกว่าหนองบึงน้อย มีบุคคลสำคัญในสมัยนั้นคือ หลวงท่านประคำเป็นผู้นำพาลูกหลานมาตั้งหลักแหล่งที่นี้ บ้านซ่งข้ามแม่น้ำโขงมา พักอยู่บ้านต้องหนองเปง ได้ 7 ปี จึงมีการย้ายถิ่นฐานอันเนื่องจากภัยธรรมชาติความแห้งแล้งเลยอพยพมาที่เหล่าบ้านซ่ง หรือมีนามเดิมว่า (บ้านนาโขแป้น) ซึ่งห่างจากหมู่บ้านประมาณ 1 กิโลเมตร อยู่ทางทิศใต้ของบ้านซ่งในปัจจุบัน โดยการนำของท่านพระครูจุฬา ฐาวะโร ใช้ช้างเป็นพาหนะพร้อมชาวบ้านคือ ท่านหลวงบรรหาร ท่านไชยกุมาร ท่านไชยเสน ท่านไชยสาร เป็นผู้ติดตามคือ
ท่านเชษฐา แล้วย้ายมาตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณห้วยมุกฝั่งทางทิศตะวันออก ซึ่งห่างจากที่ตั้งของหมู่บ้านในปัจจุบัน บ้านโนนก่อ ได้อพยพมาจากบ้านดงเห็น แขวงสะหวันนะเขตหนีสงครามข้าศึกเมืองวังอ่างทอง ได้เดินทางมาโดยการนำของพระระฆัง มาตั้งถิ่นฐานภูมิลำเนาที่ตีนเขาภูจ้อก้อ (ภูน้อย) ประกอบอาชีพทำนา เลี้ยงสัตว์ ต่อมาถูกไฟป่าเผาผลาญจนวอดวายเลยย้ายมาตั้งหมู่บ้านใหม่ คือ หมู่บ้านโนนก่อในปัจจุบันทุกวันนี้
บ้านกุดแฮด ตำบลกุดบาก อำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2367 - 2394) เจ้าอนุวงศ์ผู้ครองนครเวียงจันทน์แห่งกรุงศรีสัตนาคนหุต (ประเทศลาว) ซึ่งเป็นเมืองประเทศราชของไทยในขณะนั้น ได้ยกทัพเข้ามาในประเทศไทยโดยใช้อุบายหลอกลวงเจ้าเมืองรายทางว่าอังกฤษยกทัพเรือมาตีไทยและทางไทยขอให้เจ้าอนุวงศ์ยกทัพมาช่วย จึงไม่มีผู้ใดขัดขวาง จนทัพเจ้าอนุวงศ์ล่วงมาถึงเมืองนครราชสีมา เหตุการณ์ในครั้งนี้ถือว่าเป็นการกระทำที่อุกอาจมาก พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงมีพระบรมราชโองการให้พระยาบดินทร์เดชา (สิง) ยกทัพไปตีเมืองเวียงจันทน์ กองทัพไทยตีได้เมืองเวียงจันทน์ล้านช้างรวมทั้งเมืองมหาชัยกองแก้วซึ่งเป็นเมืองบริวาร เมื่อวันขึ้น 10 ค่ำ เดือน 8 ปีมะเมีย จ.ศ. 1196 (พ.ศ. 2377) และได้กวาดต้อนผู้คนเข้ามายังประเทศไทย ในการกวาดต้อนผู้คนในครั้งนั้นได้มีการกล่าวถึงกลุ่มชนเผ่ากะเลิง ดังปรากฏในเอกสารพื้นเวียงของจารุบุตร เรืองสุวรรณ ตอนหนึ่งว่า
"ฝูงใด เป็นพี่น้องพลัดพรากหนีกัน
เขาก็นำกุมเอากวาดต้อนเมือเลี้ยง
ฝูงหมู่ชาวกะเลิงข่าออกกะชอนขัดง่อน
เขาก็เต้นไต่ก้อนผาขึ้นฮอดดอย
ไปลอดลี้ตนอยู่ภูซัน
เขาก็นำเอากันผูกมือเมือไว้ "
(ที่มา: สำเริง ทรงศิริ และชัยยุทธ วัยเหนิดลื้อ)
นอกจากนี้เหตุการณ์ในสมัยสงครามปราบฮ่อที่ก่อความไม่สงบที่เมืองเชียงขวาง ทุ่งเชียงคำระหว่าง พ.ศ. 2426 - 2430 ซึ่งตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการอพยพชนในประเทศลาวเข้ามายังประเทศไทย รวมทั้งชนเผ่ากะเลิงได้อพยพเข้ามาอาศัยในเขตเมืองสกลนคร สมัยพระยาประจันตประเทศธานี (โง่นคำ)
เมื่อชาวกะเลิงอพยพมาอยู่ในเขตสกลนคร ได้แยกย้ายเพื่อทำมาหากิน โดยมีผู้นำคือ ศรีมุกดา จำวงศ์ลา โททุมพล ซึ่งชื่อบุคคลเหล่านี้ต่อมาได้กลายเป็นนามสกุลของชาวกะเลิงบ้านกุดแฮด บ้านนาขาม ตอนแรกนั้นตั้งหลักแหล่งอยู่บริเวณห้วยกุดแข้หรือห้วยหางแข้ (ปัจจุบันอยู่ในเขตบ้านหนองสะไน) หลังจากนั้นกลุ่มศรีมุกดาและจำวงศ์ลาได้อพยพ มาตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนอยู่ริมแหล่งน้ำที่อุดมสมบูรณ์ซึ่งมีต้นน้ำไหลมาจากยอดภูหนอง ชื่อว่า กุดแฮด จึงได้เรียกนามหมู่บ้านตามถิ่นที่อยู่ มาจนถึงปัจจุบัน
หมู่บ้านที่มีชาวกะเลิงเป็นชนกลุ่มใหญ่ในเขตอำเภอกุดบาก ได้แก่ บ้านกุดแฮด บ้านบัว บ้านทรายแก้ว บ้านหนองสะไน บ้านโพนงาม บ้านหนองค้า บ้านนาขามและบ้านกุดบากซึ่งมีเผ่ากะเลิงปะปนไทญ้อ และชาวกะเลิงกลุ่มรองอยู่ในเขตบ้านนายอ ตำบลงิ้วด่อน อำเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร
บ้านหนองสังข์ ตำบลหนองสังข์ อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม
บรรพบุรุษของชาวไทกะเลิง บ้านหนองสังข์ อพยพมาจากเมืองวังอ่างคำ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของแขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ห่างจากแม่น้ำโขงประมาณ 110 กิโลเมตร อพยพย้ายบ้าน เนื่องจากเกิดโรคไข้มลพิษ (ฝีดาษ) ข้ามฝั่งโขงมาตั้งบ้านเรือนอยู่บ้านหนองหล่ม ตำบลโพธิ์ไทร อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร (แต่ก่อนขึ้นตรงจังหวัดนครพนม)
ต่อมาได้อพยพจากบ้านหนองหล่ม จำนวน 8 ครอบครัว โดยใช้เรือหาปลาพายทวนลำน้ำโขง จนพบลำน้ำก่ำที่ไหลมาจากน้ำหนองหาร จังหวัดสกลนคร ล่องเรือทวนลำน้ำก่ำขึ้นมาเรื่อย ๆ จนพบแหล่งน้ำหนองสังข์ ซึ่งเป็นหนองน้ำใหญ่มาก เนื้อที่ประมาณ 1,200 ไร่ จึงได้พากันขึ้นฝั่งมาตั้งบ้านทางทิศตะวันตกชื่อ “บ้านหลุบป่ากล้วย” พอถึงฤดูฝนน้ำหลากน้ำท่วม จึงได้พากันย้ายมาตั้งบ้านใหม่ทางทิศตะวันออกชื่อ “บ้านหนองสังข์” เป็นพื้นที่สูง น้ำไม่ท่วมจนถึงปัจจุบัน
บ้านโนนก่อ ตำบลบ้านซ่ง อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร
ความเป็นมาในอดีตชาวตำบลบ้านซ่ง มีเชื้อสายหลายเผ่าพันธุ์มาอยู่รวมกัน มีเชื้อสายเป็นชนเผ่าไทกะเลิง เดิมบรรพบุรุษมีถิ่นฐานอยู่ที่บ้านกุดน้ำแล้ง คือ บ้านนาสีนวล บ้านโพธิ์ศรี บ้านโนนสังข์ศรี ส่วนบ้านซ่งได้อพยพมาจากเมืองบกเมืองวัง บ้านกวาก หนองแบนซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของแขวงสะหวันนะเขต ประเทศสาธารณะรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เมื่อราวประมาณปี พ.ศ. 2268 มีการอพยพครั้งใหญ่ของประชาชนมาตั้งหลักแหล่งที่ตำบลผึ่งแดด อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร ในปัจจุบันแล้วย้ายถิ่นฐานมาอยู่ในบ้านโนนสังข์ศรีราษฎรในหมู่บ้านได้ขยายพื้นที่ทำนามาอยู่ในเขตบ้าน นาสีนวลเป็นบริเวณที่สมบูรณ์และราบลุ่มมีแหล่งน้ำ แม่น้ำแห่งนี้เรียกว่าหนองบึงน้อย มีบุคคลสำคัญในสมัยนั้นคือ หลวงท่านประคำเป็นผู้นำพาลูกหลานมาตั้งหลักแหล่งที่นี้ บ้านซ่งข้ามแม่น้ำโขงมา พักอยู่บ้านต้องหนองเปง ได้ 7 ปี จึงมีการย้ายถิ่นฐานอันเนื่องจากภัยธรรมชาติความแห้งแล้งเลยอพยพมาที่เหล่าบ้านซ่ง หรือมีนามเดิมว่า (บ้านนาโขแป้น) ซึ่งห่างจากหมู่บ้านประมาณ 1 กิโลเมตร อยู่ทางทิศใต้ของบ้านซ่งในปัจจุบัน โดยการนำของท่านพระครูจุฬา ฐาวะโร ใช้ช้างเป็นพาหนะพร้อมชาวบ้านคือ ท่านหลวงบรรหาร ท่านไชยกุมาร ท่านไชยเสน ท่านไชยสาร เป็นผู้ติดตามคือ
ท่านเชษฐา แล้วย้ายมาตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณห้วยมุกฝั่งทางทิศตะวันออก ซึ่งห่างจากที่ตั้งของหมู่บ้านในปัจจุบัน บ้านโนนก่อ ได้อพยพมาจากบ้านดงเห็น แขวงสะหวันนะเขตหนีสงครามข้าศึกเมืองวังอ่างทอง ได้เดินทางมาโดยการนำของพระระฆัง มาตั้งถิ่นฐานภูมิลำเนาที่ตีนเขาภูจ้อก้อ (ภูน้อย) ประกอบอาชีพทำนา เลี้ยงสัตว์ ต่อมาถูกไฟป่าเผาผลาญจนวอดวายเลยย้ายมาตั้งหมู่บ้านใหม่ คือ หมู่บ้านโนนก่อในปัจจุบันทุกวันนี้
บ้านกุดแฮด ตำบลกุดบาก อำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2367 - 2394) เจ้าอนุวงศ์ผู้ครองนครเวียงจันทน์แห่งกรุงศรีสัตนาคนหุต (ประเทศลาว) ซึ่งเป็นเมืองประเทศราชของไทยในขณะนั้น ได้ยกทัพเข้ามาในประเทศไทยโดยใช้อุบายหลอกลวงเจ้าเมืองรายทางว่าอังกฤษยกทัพเรือมาตีไทยและทางไทยขอให้เจ้าอนุวงศ์ยกทัพมาช่วย จึงไม่มีผู้ใดขัดขวาง จนทัพเจ้าอนุวงศ์ล่วงมาถึงเมืองนครราชสีมา เหตุการณ์ในครั้งนี้ถือว่าเป็นการกระทำที่อุกอาจมาก พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงมีพระบรมราชโองการให้พระยาบดินทร์เดชา (สิง) ยกทัพไปตีเมืองเวียงจันทน์ กองทัพไทยตีได้เมืองเวียงจันทน์ล้านช้างรวมทั้งเมืองมหาชัยกองแก้วซึ่งเป็นเมืองบริวาร เมื่อวันขึ้น 10 ค่ำ เดือน 8 ปีมะเมีย จ.ศ. 1196 (พ.ศ. 2377) และได้กวาดต้อนผู้คนเข้ามายังประเทศไทย ในการกวาดต้อนผู้คนในครั้งนั้นได้มีการกล่าวถึงกลุ่มชนเผ่ากะเลิง ดังปรากฏในเอกสารพื้นเวียงของจารุบุตร เรืองสุวรรณ ตอนหนึ่งว่า
"ฝูงใด เป็นพี่น้องพลัดพรากหนีกัน
เขาก็นำกุมเอากวาดต้อนเมือเลี้ยง
ฝูงหมู่ชาวกะเลิงข่าออกกะชอนขัดง่อน
เขาก็เต้นไต่ก้อนผาขึ้นฮอดดอย
ไปลอดลี้ตนอยู่ภูซัน
เขาก็นำเอากันผูกมือเมือไว้ "
(ที่มา: สำเริง ทรงศิริ และชัยยุทธ วัยเหนิดลื้อ)
นอกจากนี้เหตุการณ์ในสมัยสงครามปราบฮ่อที่ก่อความไม่สงบที่เมืองเชียงขวาง ทุ่งเชียงคำระหว่าง พ.ศ. 2426 - 2430 ซึ่งตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการอพยพชนในประเทศลาวเข้ามายังประเทศไทย รวมทั้งชนเผ่ากะเลิงได้อพยพเข้ามาอาศัยในเขตเมืองสกลนคร สมัยพระยาประจันตประเทศธานี (โง่นคำ)
เมื่อชาวกะเลิงอพยพมาอยู่ในเขตสกลนคร ได้แยกย้ายเพื่อทำมาหากิน โดยมีผู้นำคือ ศรีมุกดา จำวงศ์ลา โททุมพล ซึ่งชื่อบุคคลเหล่านี้ต่อมาได้กลายเป็นนามสกุลของชาวกะเลิงบ้านกุดแฮด บ้านนาขาม ตอนแรกนั้นตั้งหลักแหล่งอยู่บริเวณห้วยกุดแข้หรือห้วยหางแข้ (ปัจจุบันอยู่ในเขตบ้านหนองสะไน) หลังจากนั้นกลุ่มศรีมุกดาและจำวงศ์ลาได้อพยพ มาตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนอยู่ริมแหล่งน้ำที่อุดมสมบูรณ์ซึ่งมีต้นน้ำไหลมาจากยอดภูหนอง ชื่อว่า กุดแฮด จึงได้เรียกนามหมู่บ้านตามถิ่นที่อยู่ มาจนถึงปัจจุบัน
หมู่บ้านที่มีชาวกะเลิงเป็นชนกลุ่มใหญ่ในเขตอำเภอกุดบาก ได้แก่ บ้านกุดแฮด บ้านบัว บ้านทรายแก้ว บ้านหนองสะไน บ้านโพนงาม บ้านหนองค้า บ้านนาขามและบ้านกุดบากซึ่งมีเผ่ากะเลิงปะปนไทญ้อ และชาวกะเลิงกลุ่มรองอยู่ในเขตบ้านนายอ ตำบลงิ้วด่อน อำเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร
ในอดีตประมาณ 100 ปีย้อนกลับไปคนก็ยังพูดภาษากะเลิง ซึ่งจัดอยู่ในตระกูลเอเชียใต้กล่าวคือ เป็นภาษาที่มีคำศัพท์และเสียงคล้ายภาษามอญ - เขมร ขมุ ฯลฯ เนื่องจากภาษาเหล่านี้ อยู่ร่วมกับตระกูลเดียวกัน โดยจะมีคำศัพท์พื้นฐาน เช่น คำเรียกอวัยวะของร่างกาย คำเรียกธรรมชาติ คำเรียกสี คำเรียกกริยาอาการ ฯลฯ ซึ่งมีความคล้ายกัน แต่ไม่เหมือนกันทั้งหมด ต่อมาได้เกิดการพูด ภาษาข้ามตระกูลมาเป็นภาษาตระกูลไท หรือ อาจเรียกได้ว่าเป็น ภาษากะเลิงใหม่
เหตุที่เป็นดังเช่นนี้ เพราะชาวกะเลิงอยู่แวดล้อมไปด้วยผู้คนที่พูดภาษาตระกูลไทเป็นส่วนใหญ่อีกทั้งต้องติดต่อสัมพันธ์กับผู้คนเหล่านี้ เช่น กลุ่มผู้พูดภาษาผู้ไทย ภาษาญ้อ ภาษาอีสาน (ลาว) รวมทั้งภาษาไทยมาตรฐาน การเปลี่ยนแปลงนี้มีลักษณะดำเนินไปอย่างช้า ๆ หลายชั่วอายุคน คนที่สูงอายุมากอาจจะยังจะจดจำคำศัพท์กะเลิงดั้งเดิมเอาไว้ได้บ้าง แต่เมื่อไม่ได้ใช้และไม่มีการสื่อสารต่อ ๆ กันมาครั้นถึงคนรุ่นหลังหลังภาษากะเลิงดั้งเดิมจึงเสื่อมสูญไปตามสภาพการณ์และกระทั่งความหมายของคำ ยังหาความหมายไม่ได้จากภาษากะเลิงใหม่ แต่พบความหมายนี้จากภาษามอญซึ่งภาษามอญเป็นภาษาร่วมตระกูลกันกับภาษากะเลิงแปลว่าคนหรือมนุษย์
ภาษาและวรรณกรรมพื้นบ้านกะเลิง ภาษาพูดกะเลิงโบราณจะมีลักษณะเด่นเฉพาะที่แตกต่างจากภาษาถิ่นอีสานทั่วไป ปัจจุบันสำเนียงและภาษากะเลิงมักจะใช้พูดกันน้อยมากเมื่อเทียบกับภาษาผู้ไทยหรือภาษาญ้อ
ทั้งนี้ภาษากะเลิงไม่มี ฟ ใช้ พ แทน เช่น ไพพ้า (ไฟฟ้า) ไม่มี ฝ ใช้ ผ แทน เช่น ผาด (ฝาด) ไม่มี ร ใช้ ล แทน ฮ แทน เช่น ลำ (รำ) ฮกเฮื้อ (รกเรื้อ) ไม่มี ช ใช้ ซ แทน เช่น ซม (ชม) มีอักษรควบใช้เป็นบางคำ เช่น ขว้าม (ข้าม) สวาบ (สวบ) กินอย่างมูมมาม
การแต่งกายของชาวไทกะเลิง ในจังหวัดนครพนม สำหรับผู้ชาย แต่งกายเสื้อดำย้อมหม้อ ย้อมคราม “ใส่ส่งขาหลั่ง (ขาก้วย) หรือส่งหัวฮูด มีผ้ามัดแอว” โดยเป็นผ้าขาวม้า หรือผ้าลายขิด ส่วนการแต่งกายสำหรับผู้หญิง แต่งกายด้วยเสื้อดำแขนยาวย้อมหม้อ ย้อมคราม ผ้าถุงลายต้นสน สไบผ้าจองเอื้อ เข็มขัดนาค ผ้าลายจกหีแข้และทัดหูด้วยดอกจำปี
ส่วนชาวไทกะเลิง ในจังหวัดมุกดาหาร ในอดีตชาวบ้านกะเลิงจะสวมใส่เสื้อผ้าประจำกลุ่มตามจารีตของตัวเองชุดแต่งกายของผู้หญิงนั้นจะเป็นผ้าย้อมคราม เช่น ผ้าโสร่งย้อมครามและผ้าโพกศีรษะขาวหรือดำ เสื้อย้อมครามของผู้หญิงนั้นทำจากผ้าผืนชิ้นเดียวกว้างประมาณศอกเศษ นำมาทบเย็บด้านข้าง แต่เหลือช่องไว้สอดแขน แล้วตัดหรือแหวกช่องตรงรอยทบให้เป็นช่องซึ่งบริเวณที่ตัดเป็นแนวยาวนี้จะเป็นคอเสื้อ เรียกเสื้อกระสอบ ผู้หญิงยังนุ่งผ้าถุงสีดำหรือสีน้ำเงินคราม โพกหัวด้วยผ้าด้ายดิบสีขาวหรือสีดำ ผู้ชายจะใส่ผ้าขาวม้าและเสื้อย้อมครามหรือเปลือยกายท่อนบน บ้างก็นุ่งผ้าแพรวาสีดำหรือสีครามปล่อยชายหรือรวบชายเหน็บเตี่ยว สวมเสื้อกระสอบคล้ายผู้หญิง และอาจโพกหัวด้วยผ้าสีดำ
ในสมัยโบราณ ชาวกะเลิงนิยมสักนกที่แก้มและสักขาให้เป็นลาย นิยมสักนับตั้งแต่เหนือหัวเข่าสะโพก เอว ข้อมือ ข้อเท้า โดยเชื่อว่า ชายใดจะได้ก่ายกอดหญิงจะต้องสักให้ลายที่ขา ที่เอว ที่แก้มด้วย (สุรัตน์ วรางค์รัตน์, 2524) ในเรื่องนี้สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพก็ได้กล่าวถึงกลุ่มกะเลิงไว้ว่า ผู้ชายไว้ผมปะบ่าและมักสัตว์เป็นลูกนกที่แก้ม (ดำรงราชานุภาพ, 2466) การสักลายตามตัวยังแฝงความเชื่อเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ การอยู่คงกระพัน และแสดงความเป็นชายเต็มตัว (กธิการ ตริสกุล, 2550: 84)
ในยุคต่อมา ชาวกะเลิงได้ปรับตัวรับเอาประเพณีของคนไทยและลาว ผู้หญิงจะนุ่งผ้าถุง และสวมเสื้อหลายรูปแบบทั้งเสื้อคอกะเช้า เสื้อยืด เสื้อสมัยนิยมจากโรงงาน ผู้ชายนุ่งกางเกงและเสื้อเชิ้ตหรือไม่ก็เปลือยกายท่อนบน ในปัจจุบัน ชาวกะเลิงจะซื้อเสื้อผ้าจากตลาดในท้องถิ่น
ชาวไทกะเลิง ในจังหวัดสกลนคร มีวัฒนธรรมการแต่งกาย คือ นุ่งผ้าซิ่น ใช้ด้าย 2 เส้นมาทำเกลียวควบกันใช้ทั้งผ้าฝ้ายธรรมดาและผ้าไหม เป็นผ้าตีนเต๊าะ แต่มีเชิงแถบเล็ก ๆ แคบ 2 นิ้ว นิยมสีเปลือกอ้อย เข็นด้วยด้ายสีแดงเหลืองเป็นสายเล็ก ๆ นอกจากนี้ ยังนิยมใช้ผ้าฝ้ายเข็น 2 เส้นควบกัน เช่น แดงควบเหลือง น้ำเงินควบขาว เขียวควบเหลือง ถ้าไม่ใช่เป็นผ้าตีนเต๊าะมักนุ่งสั้นเสื้อกะเลิงนิยมแต่งตัวกะทัดรัด เช่น ถ้านุ่งซิ่นผ้าฝ้ายสั้น มักใช้ผ้าทอพื้นบ้าน เป็นตาสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ คาดอก โพกผ้าบนศีรษะ ชาวไทกะเลิงสูงอายุ มักนุ่งซิ่นลายดำ ขาว แดง สวมเสื้อแขนกระบอกย้อมคราม ที่สาบเสื้อมีเหรียญสตางค์แดงติดเป็นแนวกระดุม เกล้าผมสูง ผู้ชายกะเลิงโบราณ ถ้าอยู่กับบ้านจะนุ่งกางเกงผ้าฝ้ายย้อมครามหูรูด ถ้ามีพิธีกรรมจะนุ่งผ้าโสร่ง ทิ้งชายให้สั้นครึ่งแข้ง
ไทกะเลิงมักจะมีการดำรงชีวิตอิงกับธรรมชาติ หาอยู่หากินตามธรรมชาติ รับประทานอาหารพื้นบ้านตามฤดูกาล ขึ้นอยู่กับวัตถุดิบที่จะนำมาประกอบอาหาร เช่น กุ้ง หอย ปู ปลา กบ เขียด แมงดา จักจั่น ไข่มดแดง หน่อไม้ ดอกกระเจียว ผักหวาน ผักติ้ว ผักสะแงง ผักพาย พริก ถั่ว มะเขือ และพืช สัตว์ชนิดอื่น ๆ โดยประเภทของอาหารมีลักษณะ เช่น แกง อ่อม ป่น แจ่ว ลาบ ปิ้ง หมก หลน ซุบ ฯลฯ อาหารที่โดดเด่นของชุมชน ได้แก่
ที่อยู่อาศัยของชาวไทกะเลิง บ้านโนนสังข์ จังหวัดนครพนม เหมือนไทกะเลิงสมัยโบราณ แต่ปัจจุบัน ไปตามยุคสมัย เป็นหมู่บ้านแฝดติดกันมี 6 หมู่บ้าน ทั้งตำบล มี 12 หมู่บ้าน เป็นชุมชนขนาดใหญ่ การทำบ้านเรือน ใช้เลื่อยในการตัดไม้ เอาหญ้าหรือใบไม้มาทำฝาบ้านและหลังคา
ชุมชนของชาวไทกะเลิง ในจังหวัดมุกดาหาร ทำเลที่ตั้งชุมชนและลักษณะบ้านเรือนที่อยู่อาศัยมักอยู่ร่วมกันเป็นชุมชน ในทำเลเป็นที่ดอน ซึ่งภาษาลาวเรียกสภาพภูมิลักษณะนี้ว่า โคก หรือ โนน ขณะเดียวกันมักมีแหล่งน้ำสำหรับการอุปโภคบริโภคด้วย แหล่งน้ำอาจเป็นบึง หนอง แม่น้ำ ลำห้วยก็ได้ นอกจากนี้ยังมีป่าที่เป็นแหล่งไม้ใช้งาน ทั้งตัดมาแปรรูป นำมาสร้างบ้านเรือน หรือ ใช้ทำเป็นฟืน ตลอดจนป่าไม้เพื่อการเก็บของป่า ถิ่นทำเลของชาวกะเลิงโดยภาพรวมจึงจัดว่าเป็นกลุ่มชนที่อยู่พื้นราบต่างจากชาวม้งชาวเมี่ยนซึ่งอยู่บนดอยสูง
เรือนของชาวกะเลิงมีพัฒนาการมาเป็นลำดับ จนในปัจจุบันนี้แทบไม่มีความแตกต่างกับกลุ่มชนแวดล้อม ทั้งนี้เป็นผลที่สืบเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ และเลียนแบบ โดยทั่วไปเรือนของชาวกะเลิงมักปลูกเป็นหลังเดี่ยว แยกกันอยู่แต่ละครอบครัวเป็นเอกเทศ หรือหากเป็นครอบครัวใหญ่ ในช่วงแรกอาจอยู่ร่วมกันและต้องแยกออกไปปลูกเรือนสร้างครอบครัวใหม่ ในวันข้างหน้า แต่เดิมนั้นเรือนของชาวกะเลิงเป็นเรือนยกพื้นสูงประมาณ 1.5 - 2 เมตร สร้างจากวัตถุดิบที่หาได้จากท้องถิ่นโดยใช้ไม้เนื้อแข็งเป็นเสา โครงคร่าวและเครื่องเรือนส่วนอื่นทำจากไม้ไผ่บ้างใบไม้บ้าง เช่น พื้นปูด้วยฟาก ฝาบ้านกรุ ใบไม้ที่มีตาข่ายไม้ไผ่สานลายขัดตาต่าง ๆ ประกบหน้าหลัง หลังคามุงด้วยตับหญ้าคา
ลักษณะเรือนดังกล่าวมีน้อยมาก เพราะชาวกะเลิงมีพัฒนาการทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา ส่งผลไปสู่แนวทางการสร้างบ้านเรือนให้มีรูปแบบที่หลากหลายและไม่แตกต่าง อย่างเห็นได้ชัดจากบ้านเรือนของกลุ่มชนอื่น ๆ ในภาคอีสานของไทย โดยเรือนของชาวกะเลิงในปัจจุบันนี้ เป็นเรือนที่สร้างจากไม้เนื้อแข็ง ยกพื้นสูง 2.5 - 3.5 เมตร เสาพื้นเรือนและส่วนต่าง ๆ ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง หลังคาส่วนใหญ่มุงด้วยสังกะสี บางครัวเรือนมุงด้วยกระเบื้อง พื้นปูด้วยไม้กระดาน ทำบันไดชักลากขึ้นบนเรือน เวลากลางคืนหรือง้างออก ให้ห่างจากตัวเรือน โดยมีเชื่อมโยงเอาไว้มักง้างในเวลากลางวันที่ต้องออกไปทำไร่ทำนาแล้วโยกกลับเข้าที่เดิมอีกครั้งเมื่อตอนกลับคืนเรือน นอกจากนี้บางครัวเรือนที่มีฐานะดีสามารถสร้างเรือนไม้ประสมก่ออิฐฉาบปูน และทำพื้นชั้นล่างเป็นที่อยู่อาศัยถาวรโดยเฉพาะอย่างยิ่งครอบครัวที่มีผู้สูงอายุซึ่งต้องขึ้นบันไดไปสู่ชั้นบนหรือลงมาสู่ชั้นล่างด้วยความยากลำบากเพราะเหตุของความชราภาพดังนั้นการปรับปรุงเรือนชั้นล่างให้เป็นห้องนอนห้องพักของคนสูงอายุจึงเป็นการปรับเปลี่ยนเพื่อความเหมาะสมคอกสัตว์เลี้ยงเช่นวัวควายหรือเล้าเป็ดแล้วไก่ที่เคยทำไว้ใต้ถุนปัจจุบันบางครอบครัวได้ย้ายออกไปอยู่นอกตัวเรือนทำให้เกิดสุขภาวะที่ดีในการอยู่อาศัย
ลักษณะบ้านของชาวไทกะเลิง ในจังหวัดสกลนคร เดิมเป็นบ้านมุงหญ้า และพัฒนาเป็นไม้ การสร้างบ้านเรือนที่อยู่อาศัยของกะเลิงจะมีรูปทรงคล้ายบ้านทรงไทย หลังคาทรงสูง เรียกว่า “เฮือนยอก” หลังคามุงด้วยหญ้าคาหรือมุ่งแป้น (ไม้กระดานเป็นแผ่นสั้น ๆ) ฝาเรือนเป็นฟากไม้ไผ่หรือใบตองกุง เรือนที่สร้างสมบูรณ์แบบของกะเลิง จะมีส่วนประกอบที่สำคัญคือ เรือนนอนหรือเฮือนเหย่ย ภายในจะมีห้องเปิง ห้องนอนและห้องส้วม ซึ่งหมายถึงห้องที่กั้นสำหรับลูกเขยและลูกสาวที่แต่งงานใหม่ยังไม่ออกเรือน (นายเลิง ศรีมุกดา: 2538) นอกจากนี้ยังต่อชาน เรือนแอ่งน้ำ เรือนครัว ส่วนบันไดบ้านจะมีลักษณะคล้ายบันไดช่างไฟฟ้า ขั้นบันไดนิยมจำนวนคี่ โดยเชื่อว่า (นายพรม ศรีมุกดา: 2538) บันไดคู่เป็นบันไดผี บันไดคี่เป็นบันไดคน และจะผูกเชือกผูกบันไดติดชานเรือนไว้ เมื่อไม่อยู่บ้านก็จะ “เงิก” ไว้
ลักษณะของบ้านโบราณของไทกะเลิง หลังคาใช้ไพรหญ้ามุง และใช้ไม้ไผ่สานเป็นฝาบ้าน ต่อมามีการพัฒนาจากมุงหญ้า เป็นไม้เรียกว่า “เฮือนมุงแป้น” โดยใช้ไม้ทำเป็นหลังคา และ “ไม้แป้น” ตีเป็นฝา
ชาวกะเลิงสมัยก่อนจะขวนขวายหาปัจจัยพื้นฐานทั้งสี่คือ อาหารการกิน ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่มและยารักษาโรคเพียงเพื่อดำรงชีวิต ส่วนความสวยงามนั้นถือว่ามีความจำเป็นรองลงมาดังภาษิตโบราณที่ว่า (นายเครื่อง พองพรหม: 2538)
ชาวกะเลิงเชื่อว่าในป่ามีเจ้าป่าคุ้มครองปกปักรักษา ดังนั้นเมื่อจะตั้งหมู่บ้านก็จะตั้งศาลปู่ตาเพื่อให้เป็นพระภูมิเทพารักษ์ของหมู่บ้านเรียกบริเวณนั้นว่า “ดอนปู่ตา” ผู้ใดรุกล้ำเข้าไปในเขตดอนปู่ตาถือว่าผิด และเมื่อมีผู้เจ็บไข้ได้ป่วย ญาติผู้ใหญ่พร้อมเฒ่าจ้ำจะไปขอขมาโทษต่อเจ้าปู่ที่ดอนปู่ตา ซึ่งเชื่อว่าจะช่วยให้อาการเจ็บไข้ไม่สบายนั้นดีได้ ความเชื่อดังกล่าวมีผลต่อพฤติกรรมของชาวกะเลิงและก่อให้เกิดประเพณีสืบทอดกันมาจนกลายเป็นขนบธรรมเนียมประเพณี ซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ ประเพณีชีวิตและประเพณีสังคม
1. ประเพณีชีวิต
เป็นประเพณีเกี่ยวกับกิจกรรมบุคคล เช่น การแต่งงาน การทำขวัญบายศรี ประเพณีกะเลิงจะตั้งพานบายศรี เรียกว่า ขันหมากเบ็ง การสวดหรือสู่ขวัญโดยหมอสูตร ซึ่งเป็นภาษาบาลีผสมภาษาถิ่น การสู่ขวัญนอกจากจะมีการสู่ขวัญเพื่อเรียกขวัญคนแล้ว กะเลิงยังมีการสู่ขวัญให้กับสัตว์เลี้ยงที่สร้างคุณประโยชน์แสดงถึงความผูกพัน ความเป็นผู้มีจิตเมตตา เอื้ออาทร ดังคำกลอนการสู่ขวัญวัวควายของเฒ่าเป ศรีมุกดา ได้กล่าวไว้ว่า
เดือนสาม ขึ้นสามค่ำ ก๋บบ่มีปาก นากบ่ม่ฮูขี่
หมากขามป้อมสุกหวาน
2. ประเพณีสังคม
เป็นประเพณีที่มีขึ้นทุกเดือนในรอบปี เหมือนประเพณีชาวอีสานทั่วไป เรียกว่า ฮีตสิบสอง ตามปฏิทินวัฒนธรรม
ในปัจจุบัน ชาวไทกะเลิง บ้านกุดแฮด จังหวัดสกลนคร มิได้ปฏิบัติตามฮีตสิบสองอย่างครบถ้วน เช่น บุญข้าวจี่ บุญซำฮะแต่ก็มีประเพณีสังคมอย่างอื่นแทน เช่น การเลี้ยงผีหมอ ซึ่งแม่เฒ่าบาน ศรีมุกดา แม่หมอหรือแม่ครูชาวกะเลิงกุดแฮดจะพาลูกบ้านจัดพิธีเลี้ยงผีหมอโดยปลูกตูบผามกลางถนนในหมู่บ้านและจัดเลี้ยงเป็นเวลา 2 วัน 2 คืนทุกปี
ในภาพเป็นพิธีกรรมบวงสรวงเทพาอารักษ์ ก่อนจะเริ่มงาน โดยมีพ่อเฒ่าทองจันทร์ ศรีมุกดา และเฒ่าหมอหนอม คำสงค์ แม่เหยาไทกะเลิงบ้านนายอ ตาจ้ำและผู้ช่วยเป็นผู้นำประกอบพิธี พ่อเฒ่าสนาม ศรีมุกดา ท่ามกลางหัวหน้าส่วนราชการ เช่น นายอำเภอกุดบาก ผู้อำนวยการโรงเรียน
วิถีชีวิตชาวไทกะเลิง จะปฏิบัติตามฮีต 12 คอง 14 ทั้งการตั้งบ้านเรือนตามเครือญาติ การแต่งกายยังเป็นเอกลักษณ์ดั้งเดิม เชื่อในผีปู่ตา (ศาลปู่ตา) ผีแจนา รวมไปถึงชาวไทกะเลิง จะเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน จะอยู่กันแบบพี่น้องมีงานอะไรก็ช่วยเหลือกัน เป็นครอบครัวที่แบ่งปัน คนนี้ได้ปลาได้ปูกะแบ่ง ๆ กันไป คนไม่ใช่ญาติก็เหมือนญาติ
แต่เดิมชาวไทกะเลิง มีลักษณะทางวัฒนธรรม เช่น ชื่อเรียกชาติพันธุ์ ภาษา ความเชื่อ และจารีต เฉพาะตัว ระบบความเชื่อได้ทำให้เกิดจารีตที่ควบคุมพฤติกรรมและความสัมพันธ์ภายในของชาวกะเลิง ไว้อย่างเฉพาะ เป็นต้นว่า ข้อห้ามที่กำกับพฤติกรรม / มารยาทของเขยหรือสะใภ้ นิยมแต่งงานกันภายในกลุ่มชาติพันธุ์ เพื่อให้ถูกต้องตามจารีตและผีที่นับถือ ลักษณะดังกล่าวทำให้ชาวไทกะเลิงปฏิสัมพันธ์กับคนกลุ่มอื่นน้อย ยกเว้น ในเงื่อนไขจำเป็น เช่น การแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจ อาทิ นำข้าวหรือผลผลิตมาแลกเกลือกับคนลาว
ในปัจจุบัน ภาษาพูดของชาวกะเลิงแทบจะหมดไปแล้ว ไม่มีผู้ที่สามารถพูดกะเลิงได้มาอย่างน้อย 2 - 3 ชั่วอายุคนแล้ว ระบบความเชื่อ และวัฒนธรรมของชาวกะเลิงได้ถูกปรับเปลี่ยนไปคล้ายกับคนไทอีสาน (ลาว) หรือผู้ไทยอย่างมาก
ในสังคมจารีต ชาวกะเลิงนับถือศาสนาผีหรือวิญญาณหลายระดับ ผีที่มีบทบาทหลักคือ ผีสูงสุดและผีบรรพบุรุษ ชาวกะเลิงจะนับถือผีในเรือน ป่า ต้นไม้ และแม่น้ำ ซึ่งปรากฏผ่านการปฏิบัติพิธีกรรมเกี่ยวกับไร่นาต่าง ๆ ในการนับถือผีเรือนนั้น ชาวกะเลิงจะจัดห้องไว้ห้องหนึ่งสำหรับเป็นห้องผี จะห้ามไม่ให้เขยและสะใภ้ล่วงเข้าไปเด็ดขาด มิฉะนั้นจะผิดผี แล้วอาจทำให้สมาชิกในบ้านคนใดคนหนึ่งเจ็บป่วย โดยที่ห้องผีจะเป็นห้องนอนของลูกชาย ผู้ที่สามารถเข้าไปได้คือ พ่อ แม่ ลูกสาว ลูกชาย และหลาน ๆ เท่านั้น
ปัจจุบัน ชาวกะเลิงนับถือพุทธศาสนา ไม่ได้ทำพิธีเซ่นไหว้ด้วยสัตว์แล้ว แต่พวกเขาจะมาร่วมตัวกันเฉลิมฉลองก่อนการทำเกษตร ด้วยการกินดื่มเหล้าขาว พวกเขาไม่เชื่อผีร้ายที่คอยทำร้ายคนมากเท่าเมื่อก่อน หมู่บ้านชาวกะเลิงส่วนใหญ่ไม่มีหมอผี / คนทรงเหมือนในอดีต เมื่อชาวกะเลิงเจ็บไข้ได้ป่วย พวกเขาจะใช้วิธีการรักษาแบบแพทย์สมัยใหม่มากกว่าไสยศาสตร์
การนับถือปู่ตา ถือว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ปกป้องคุ้มครองคนในชุมชน สิ่งที่นำมาไหว้ปู่ตา ประกอบด้วย เหล้า น้ำหวาน ผ้าแพร ผ้านุ่งต่าง ๆ รวมทั้ง ไม้ไผ่ที่ตัด เหลาให้บางและขอดตรงบริเวณตรงปลายไม้ ใช้เปรียบแทน ดอกไม้ ไหว้ปู่ตา โดยแบ่งเป็น 2 ซีก ซีกหนึ่งจะทำตามจำนวนคนในบ้านและอีกซีกหนึ่งแทนจำนวนสัตว์เลี้ยงในบ้าน
ศาลปู่ตา
1. หมอลำผญาพื้นบ้านย้อนยุค
หมอลำผญาพื้นบ้านย้อนยุค ลักษณะการลำ ใช้ภาษาอีสานไทกะเลิง เป็นหมู่คณะ ประมาณ 5 - 10 คน แบ่งเป็น ชายและหญิง ลำเกี้ยวพาราสี ฝ่ายชายฝ่ายหญิง สองฝ่ายรำกันไปเรื่อย ๆ ลำพรรณนา คุณงามความดี ลำพรรณนาพุทธศาสนา ดนตรี มีแคน ฉิ่ง กรับ กลองหาบเล็ก งานที่ใช้หมอลำพื้นบ้านย้อนยุค เช่น งานแต่ง งานบุญประจำปี และงานศพ
2. การขับร้องหมู่สรภัญญะพื้นบ้าน
การขับร้องหมู่สรภัญญะพื้นบ้าน เป็นการขับร้องทำนองเฉพาะพื้นบ้านเป็นหมู่คณะ หมู่ละประมาณ 5 - 6 คน ซึ่งในหนึ่งหมู่คณะใช้ชายล้วน หญิงล้วน หรือทั้งหญิงและชายก็ได้ เนื้อหาที่ใช้ในการขับร้อง พรรณนาการทำความดี รักษาศีล 5 ศีล 8 พรรณนาประวัติพุทธศาสนา และคำสอนของพระพุทธเจ้า โอกาสใช้การขับร้อง บุญพระเวส บุญกองข้าว บุญข้าวประดับดิน บุญข้าวสาก โดยบางงานมีการขับร้องแบบประกวด
3. การฟ้อนกลองตุ้ม ไทกะเลิง
การฟ้อนกลองตุ้มไทกะเลิง เป็นการฟ้อนละเล่นที่สืบต่อกันมาอย่างยาวนาน ซึ่งการแสดง บอกถึงความพร้อมเพรียง ความสมานสามัคคี ความเป็นหมู่ชาติพันธุ์ไทกะเลิงอย่างแท้จริง อุปกรณ์ คือ กลองตุ้ม 1 ลูก พังฮาด 1 อัน ที่มีเพิ่มเข้ามาอีก กรับ ฉิ่ง ใช้คนหาบสองคน หน้า 1 คน หลัง 1 คน คนน่าตีพังฮาด คนหลังตีกลอง โอกาสในการตีกลองตุ้ม บุญพระเวส บุญแห่พัดยศ บุญเทศกาลต่าง ๆ แต่ไม่ตีในงานสีดำ(คนตาย) คนซ้อนจะมีทั้งชายและหญิง ปะปนผสมกัน ท่าฟ้อนใส่กลองตุ้มมี 2 ประเภท ดังนี้
1.ท่าฟ้อนกลองตุ้มเลียนแบบสัตว์ มี 10 ท่า ได้แก่
1. ซักสุ่มหา | 2. นกสีดาเล่นหาด | 3. จาดแม่ห้าง |
4. นกกระยางตากปีก | 5. ฟ้อนหลีแม่เฒ่า | 6. เต่าลงหนอง |
7. ตีฆ้องกินเหล้า | 8. ผู้เฒ่าเมปลง | 9. พาช้างขึ้นภู |
10. ฟ้อนเซหาชู้ |
|
2.ฟ้อนกลองตุ้มวิถีชีวิตไทยกะเลิง มี 12 ท่า ได้แก่
1. ขุดกบ ขุดเขียด | 2. ขุดกะปู | 3. ส้อนสวิง |
4. แหย่ไข่มดแดง | 5. ซักสุ่มงมปลา | 6. เก็บดอกฝ้าย |
7. ตากดอกฝ้าย | 8. ดีดฝ้าย | 9. เข็นฝ้าย |
10. ทอผ้า | 11. ตำหูก | 12. โชว์ผ้า |
4. หัวล้านชนกัน
เป็นการละเล่นโดยให้บุคคลที่มีลักษณะหัวล้าน มาชนกันหาผู้ชนะ เป็นการละเล่นเพื่อความสนุกสนานในชุมชน
5. ไม้ละอือ
เป็นการละเล่นที่ใช้ ไม้ไผ่ ขนาดเท่าหัวแม่โป้งยาว 60 เซนติเมตร และสั้นประมาณ 1 คืบ เจาะรูลงดินยาวประมาณ 1 คืบ แบ่งฝ่ายเล่น ขวิดไม้ 1 คืบ ไปให้ไกล้อีกฝ่ายรอรับ “ถ้ารับได้คนที่ขวิดก็ตาย (แพ้) เอาคนใหม่ขวิด”
6. หมากตีจับ
แบ่งฝ่ายออกเป็นสองฝ่าย แล้วขีดเส้นแบ่งแดน เวลาจะข้ามแดนไปแตะอีกฝ่ายจะต้องร้อง “อี....” ห้ามให้เสียงขาด ถ้าขาดถือว่าตายต้องออกจากการแข่งขันไปเรื่อง “ถ้าฝ่ายไหนตายหมด แพ้”
7. ฟ้อนรำผีหมอ
ทำเพื่อสังเวยวิญญาณทั้งหลายให้มีความเบิกบานสำราญใจ อันถือเป็นการแสดงความกตัญญู รู้บุญคุณของบรรพบุรุษที่เคยมีคุณูประการกับชาวบ้าน ซึ่งชาวไทกะเลิงได้ปฏิบัติพิธีกรรมเช่นนี้อย่างต่อเนื่องมายาวนาน โดยมีข้อกำหนดที่สำคัญว่า การจัดงาน “เลี้ยงผี” จะต้องจัดในวันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 หรือ 4 ของทุกปี
8. การละเล่นดนตรีพื้นบ้าน
ลักษณะและโอกาสการบรรเลงดนตรีพื้นบ้านของชาวไทกะเลิง จะมีการบรรเลงเพื่อผ่อนคลายความเครียดยามว่างเว้นจากงาน และบรรเลงในการจัดพิธีกรรมตามความเชื่อหรือฮีตคอง เครื่องดนตรีประเภทเคาะหรือตี เช่น กะลอ โดยมากชาวกะเลิงนิยมทำกะลอแขวนไว้ตามกระท่อมกลางนาหรือเถียงหรือทับ และเมื่อยามว่างเว้นจากงานก็จะมักตีเล่นซึ่งจะมีท่วงทำนองหรือจังหวะที่บรรยายถึงสภาพความเป็นอยู่ การทำมาหากินและบรรยายสภาพธรรมชาติ
เฒ่าคำเมียง ศรีมุกดา
เฒ่ากะเลิงผู้มีความชำนาญตีกะลอ
เฒ่าแสวง ศรีมุกดา
นักดนตรีพิการ และหัวหน้าวง
นอกจากนี้ยังมีการละเล่นพื้นบ้านอื่น ๆ ได้แก่ ขาโถกเถกหรือไม่โถกเถก สับบักข่าง เป็นต้น โดยในสมัยก่อนเชื่อว่าต้องเล่นหลังเดือน 3 ออกใหม่ 3 ค่ำหรือหลังพิธีเลี้ยงผีปู่ตา โดยคนแก่จะบอกเด็ก ๆ ว่า ถ้าเล่นก่อนเลี้ยงผี ผีจะมาหักคอ การละเล่นจะไม่จำกัดเพศ วัย ไม่กวดขันเรื่องสถานที่ เล่นกันแบบเรียบง่าย กติกาไม่ยุ่งยากซับซ้อนและมักเล่นเพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลิน ผ่อนคลายความตึงเครียดมากกว่าจะมุ่งเอาแพ้เอาชนะ
ขาโถกเถกหรือไม้โถกเถก
สับบักข่าง
ด้านการประกอบอาชีพ
ในอดีต ชาวกะเลิงมักจะทำข้าวไร่ และเก็บของป่าล่าสัตว์ แต่เมื่ออยู่ร่วมกับคนลาวมากขึ้น ชาวกะเลิงได้หันมาทำนาในที่ลุ่มใช้เทคนิควิธีเหมือนกับคนไทอีสาน (ลาว) ชาวกะเลิงบริโภคข้าวเหนียวเป็นหลัก ส่วนข้าวเจ้านั้นเป็นส่วนเสริม พวกเขาปลูกข้าวโพด มันสำปะหลัง มัน แตงกวา หอม มะเขือเทศ มะละกอ กล้วย มะนาว ขนุน และผักผลไม้อื่น ๆ ในอดีต เคยปลูกฝ้าย แต่ปัจจุบันได้แล้วละทิ้งไปแล้ว ชาวกะเลิงจะเลี้ยงสัตว์ เช่นควาย วัว หมู เป็ด ไก่ ซึ่งฤดูการทำการเกษตร ก่อนเพาะปลูกและการเก็บเกี่ยว ชาวกะเลิงจะจัดพิธีกรรมเกี่ยวกับการเกษตรเพื่อเซ่นไหว้ผี ให้ได้รับการปกป้องดูแลและให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ ในอดีต ชาวกะเลิงจะฆ่าหมูและควาย สำหรับประกอบพิธีเกี่ยวกับการผลิตเพื่อบูชาผีศักดิ์สิทธิ์
ชาวกะเลิงจะล่าสัตว์ในป่าหรือในทุ่งเช่น นก กระต่าย ลิง กระรอก งูและสัตว์อื่น ๆ โดยใช้ปืนไฟหนังสติ๊ก หรือกับดัก และบางกลุ่มที่อยู่ใกล้กับแม่น้ำใหญ่ การตกปลาหรือการหาปลา (โดยใช้ตะขอ หรือกับดัก) ก็เป็นทรัพยากรสำคัญสำหรับเป็นอาหารในชีวิตประจำวัน ในการหาของป่า ชาวกระเลิงยังเก็บเห็ด หน่อไม้ ตะไคร้ หอยเชอรี่ จั๊กจั่น และลูกน้ำ มาบริโภคด้วย พวกเขารู้จักใช้สมุนไพรที่หามาจากป่าเพื่อรักษาโรคเช่น มาลาเรีย ปวดท้อง หรือไข้หวัด
ปัจจุบัน ชาวกะเลิงส่วนใหญ่ทำนาลุ่มแบบคนไทยอีสาน นอกจากนี้ในกระแสความเปลี่ยนแปลงใน ชาวกะเลิงก็ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตในการทำกิน เช่น การปลูกพืชพาณิชย์ มันสำปะหลัง อ้อย รวมถึงยางพาราด้วยเช่นกัน โดยรวมวิธีการผลิตหลักของกะเลิง คือ การทำเกษตร และพืชทางเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม ชาวกะเลิงจำนวนหนึ่งยังออกไปหาทำงานรับจ้างตามโรงงาน เช่น กรุงเทพ
ด้านเกษตรกรรม/ปศุสัตว์
การคุมปูนทำคราม คือการเอาดินมาทำกระถางแล้วเจาะลงข้างใน เอาไม้แดงเผาแล้วนำเอาปูนลง จากนั้นนำย้อมคราม ซึ่งความสำคัญของครามในชุมชน คือ การได้รับการรับรอง มาตรฐาน GI หรือสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ต้นครามของชุมชนด้วย
ทับควาย
การคลุมปูนทำคราม
การเลี้ยงควายบนภูเขา หลังจากหน้านาลูกผู้ชายจะต้อง ต้อนวัว ควาย ขึ้นไปเลี้ยงบนภูเขาเป็นระยะเวลาหลายเดือน ซึ่งจะอยู่กิน หาอาหาร เรียนรู้ภูมิปัญญาการหาอยู่หากินบนภูเขาจนถึงเดือน 9 เดือน 10 จึง9ต้อนควายกลับลงมา นอกจากนี้ยังมีการเลี้ยงสัตว์ เช่น วัว ควาย เป็ด ไก่ ปลา กบ ฯลฯ และการเพาะปลูก เช่น แคนตาลูป พริก ข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง
ด้านหัตถกรรม
มีการจักสานจากไม้ไผ่ เช่น ตะกร้า กระติบข้าว ข้อง กระต่าย ตะกร้า หวดข้าวสวิงและอื่น ๆ เป็นการรวมกลุ่มของผู้สูงอายุที่ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
นอกจากนี้ยังมีกลุ่มทอผ้าพื้นเมือง ผ้าย้อมสมุนไพรและไม้มงคลลายมุก ผ้ามัดหมี่ ลายต้นสน ลายจกหีแข้ “ช่วงว่าง ๆ จากการทำนา เพื้นกะสิทอผ้า...” “...การทอผ้าของหมู่บ้านของไทกะเลิงของเฮา มีมาแต่สมัยปู่ย่าตายาย ใช้เฉพาะในครอบครัว แต่ก่อนเป็นผ้าจองเอื้อ ไปทำเกี่ยวกับการบวช แต่วันนี้เฮากะมาปรับเปลี่ยนเป็นย้อมไม้มงคล ใช้ไม้ประจำจังหวัดนครพนม ผ้าจะบ่มีสารเคมี เพราะใช้เปลือกไม้มาย้อมผสม แต่ละเส้นแต่ละกระบวนการเฮาต้องทำเองด้วยมือ ตั้งแต่แม้ไปเอาใบไม้มา และกะเอามาต้มมาย้อม มาล้าง แล้วกะมาปั่น จนกว่าเฮาจะมาทอเป็นผืน ต้องทอกันสองถึงสามคน กว่าจะได้ลายหนึ่งบางทีมันกะต้องแก้แล้วแก้อีก ถ้าจะคิดเป็นตัวเงินกะบ่ได้คือทำงาน แต่ว่าเฮาทำแล้วมันกะได้ความสุขทางจิตใจ”
สินค้าแนะนำของชาวไทกะเลิง จังหวัดนครพนม ประกอบไปด้วย ผ้าสไบลายจกหีแข้ ผ้าลายดอกมะส้าน ผ้าคลุมไหล่ลายดอกมะส้าน / ลายจกหีแข้ ผ้าถุงลายต้นสน นอกจากนี้ยังมีผลิตภัณฑ์แปรรูป เช่น กระเป๋าเงิน ผ้าเช็ดหน้า พวงกุญแจ เครื่องจักสานจากไม้ไผ่ รวมไปถึงกลองตุ้มน้อย ที่เป็นเครื่องดนตรีที่มีชื่อเสียงของที่นี่ ก็เอามาทำเป็นพวงกุญแจเพื่อเป็นสินค้าที่ระลึก
ผ้าทอลายมะส้าน
สินค้าของชุมชนไทกะเลิง บ้านกุดแฮด จังหวัดสกลนคร ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายทอ ผ้าไหมย้อมครามหลากหลายรูปแบบทั้งเสื้อผ้าพื้นเมือง ซิ่น ผ้าชิ้น ผ้าคลุมไหล่ ผ้าชิ้น น้ำหมากเม่า และสินค้าของชุมชนนายอ ได้แก่ มีด พร้า จอบ เสียม
ผ้าไหมย้อมคราม
สถานที่ท่องเที่ยวและสถานที่สำคัญในชุมชนไทกะเลิง จังหวัดนครพนม ประกอบไปด้วย ดอนตาทอง ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม วัดสระพังทอง เป็นต้น
ดอนตาทอง บ้านหนองสังข์ จังหวัดนครพนม
เจดีย์ถ้ำพระภูน้อย
สถานที่ท่องเที่ยวและสถานที่สำคัญในชุมชนไทกะเลิง จังหวัดสกลนคร ประกอบไปด้วย ป่าชุมชนบ้านกุดแฮด แนวหน้าผาเหวหำหด ทับควายโรงเรียนลูกผู้ชายไทกะเลิง รอยไดโนเสาร์แก่งกะลังกะลาด ดานออนซอน สำนักปฏิบัติธรรมป่าสักวัดกุดแฮดหรือวัดป่าช้า แหล่งย้อมผ้าคราม เป็นต้น
รอยไดโนเสาร์แก่งกะลังกะลาด
แหล่งย้อมผ้าคราม