.
ตอนที่ 6 ไทกวน ช่างเหล็กกล้า แห่งบ้านนาถ่อน
ชนเผ่าไทกวน คือ ชนเผ่าหนึ่งเดิมมีถิ่นฐานอยู่ในแคว้นสิบสองจุไท ในศตวรรษที่ 12 มีขุนบรมเป็นผู้ปกครองแคว้น มีเมืองในปกครอง ได้แก่ เมืองนาน้อย เมืองน้อยหนู เมืองปู่แสนปราง เมืองนางแสนเก้าและเมืองแถนเป็นเมืองหลวง บ้านเมืองเกิดภัยพิบัติและภัยสงครามผู้คนจึงอพยพลงมาทางทิศใต้ มาอยู่ตามลำน้ำไทรน้อยหรือเซบั้งไฟ ซึ่งไหลลงแม่น้ำโขงอยู่ตรงข้ามอำเภอธาตุพนม ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ บริเวณที่ตั้งถิ่นฐานเป็นที่ราบลุ่มมีภูเขาล้อมรอบเรียกว่า กวน เป็นที่มาของการเรียกชื่อคนกลุ่มนี้ว่าไทกวน มีเมืองอยู่ในบริเวณนี้ ได้แก่ เมืองป่งลิงหรือปุ่งลิง เมืองผาบัง เมืองวังคำ เมืองกวนอู เมืองกวนวัว มีเมืองป่งลิงเป็นเมืองหลวง อยู่ในขอบเขตของอาณาจักรศรีโคตรบูรณ์ ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ใดไม่ปรากฏว่าในศตวรรษที่ 18 - 19 สมัยเจ้าฟ้างุ้มรวบรวมเมืองต่าง ๆ เพื่อสถาปนาชาติลาวเป็นอาณาจักรลาวล้านช้าง ชาวไทกวนจึงอพยพข้ามฝั่งโขงมาอยู่บริเวณบ้านบังฮวก ในเขตเมืองมรุกขนคร พวกแรกมีเจ้าฟ้ามุงเมืองเป็นหัวหน้า ได้มาตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณปากห้วยบังฮวก ด้านทิศเหนือคือบริเวณโรงเรียนดอนนางหงส์สงเคราะห์ในปัจจุบัน
ราวศตวรรษที่ 23 ชาวไทกวน ไทกะเลิง ภูไทวัง ภูไทกะโป ซึ่งอพยพมาจากเมืองกวนอู กวนงัว และก่องแก้วมหาชัย ได้เข้ามาตั้งรกรากถิ่นฐานบริเวณห้วยบังฮวก โดยมีเท้าไชยทรงยศ เป็นหัวหน้ากลุ่มดูแลฝั่งทิศใต้ ต่อมาเมื่อมีประชากรเพิ่มขึ้น จึงได้พากันอพยพไปยังพื้นที่แห่งใหม่ ซึ่งปัจจุบันมีนามว่า "บ้านดอนนางหงส์"
กลุ่มแรก ไทกะโป ไปทางทิศใต้ตั้งถิ่นฐานที่บ้านดงหวาย อำเภอเรณูนคร ในปัจจุบัน
กลุ่มที่ 2 ไทกะเลิง ไปทางทิศตะวันตก ตั้งถิ่นฐานที่บ้านบ่อแก อำเภอนาแกในปัจจุบัน
กลุ่มที่ 3 ไทกวน ไปทางทิศเหนือตั้งถิ่นฐานที่บ้านทุ่งมนหรือบ้านโคกสว่างบ้านนาท่ม บ้านดงขวาง มีท้าวอินทรีย์ชัยเป็นหัวหน้า
กลุ่มที่ 4 ไทกวน ขึ้นไปทางทิศเหนือตามลำห้วยบังฮวก แม่เฒ่าศรีสองเมืองเป็นหัวหน้า มาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านช้างขวากกตาลหรือบ้านทุ่งนาใน แต่ในฤดูแล้งจะขาดแคลนน้ำจึงย้ายไปอยู่หัวทรงนานอกหรือบ้านผาเพียงทางไปบ้านดงยอต่อมาเกิดโรคระบาดจึงย้ายกลับมาอยู่บ้านดงไม้ถ่อน คือบ้านนาถ่อนทุ่งในปัจจุบัน
ลักษณะครอบครัวเป็นครอบครัวเดี่ยว ขนาดเล็ก และลักษณะชุมชนเป็นชุมชนที่มีการช่วยเหลือ อุดหนุน เกื้อกูลกันดีพอสมควร ลักษณะอุปนิสัยรักความสงบ ซื่อสัตย์ รักความสามัคคี สนุกสนาน ใจบุญสุนทาน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อคนทั่วไป
ชนเผ่าไทกวน คือ ชนเผ่าหนึ่งเดิมมีถิ่นฐานอยู่ในแคว้นสิบสองจุไท ในศตวรรษที่ 12 มีขุนบรมเป็นผู้ปกครองแคว้น มีเมืองในปกครอง ได้แก่ เมืองนาน้อย เมืองน้อยหนู เมืองปู่แสนปราง เมืองนางแสนเก้าและเมืองแถนเป็นเมืองหลวง บ้านเมืองเกิดภัยพิบัติและภัยสงครามผู้คนจึงอพยพลงมาทางทิศใต้ มาอยู่ตามลำน้ำไทรน้อยหรือเซบั้งไฟ ซึ่งไหลลงแม่น้ำโขงอยู่ตรงข้ามอำเภอธาตุพนม ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ บริเวณที่ตั้งถิ่นฐานเป็นที่ราบลุ่มมีภูเขาล้อมรอบเรียกว่า กวน เป็นที่มาของการเรียกชื่อคนกลุ่มนี้ว่าไทกวน มีเมืองอยู่ในบริเวณนี้ ได้แก่ เมืองป่งลิงหรือปุ่งลิง เมืองผาบัง เมืองวังคำ เมืองกวนอู เมืองกวนวัว มีเมืองป่งลิงเป็นเมืองหลวง อยู่ในขอบเขตของอาณาจักรศรีโคตรบูรณ์ ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ใดไม่ปรากฏว่าในศตวรรษที่ 18 - 19 สมัยเจ้าฟ้างุ้มรวบรวมเมืองต่าง ๆ เพื่อสถาปนาชาติลาวเป็นอาณาจักรลาวล้านช้าง ชาวไทกวนจึงอพยพข้ามฝั่งโขงมาอยู่บริเวณบ้านบังฮวก ในเขตเมืองมรุกขนคร พวกแรกมีเจ้าฟ้ามุงเมืองเป็นหัวหน้า ได้มาตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณปากห้วยบังฮวก ด้านทิศเหนือคือบริเวณโรงเรียนดอนนางหงส์สงเคราะห์ในปัจจุบัน
ราวศตวรรษที่ 23 ชาวไทกวน ไทกะเลิง ภูไทวัง ภูไทกะโป ซึ่งอพยพมาจากเมืองกวนอู กวนงัว และก่องแก้วมหาชัย ได้เข้ามาตั้งรกรากถิ่นฐานบริเวณห้วยบังฮวก โดยมีเท้าไชยทรงยศ เป็นหัวหน้ากลุ่มดูแลฝั่งทิศใต้ ต่อมาเมื่อมีประชากรเพิ่มขึ้น จึงได้พากันอพยพไปยังพื้นที่แห่งใหม่ ซึ่งปัจจุบันมีนามว่า "บ้านดอนนางหงส์"
กลุ่มแรก ไทกะโป ไปทางทิศใต้ตั้งถิ่นฐานที่บ้านดงหวาย อำเภอเรณูนคร ในปัจจุบัน
กลุ่มที่ 2 ไทกะเลิง ไปทางทิศตะวันตก ตั้งถิ่นฐานที่บ้านบ่อแก อำเภอนาแกในปัจจุบัน
กลุ่มที่ 3 ไทกวน ไปทางทิศเหนือตั้งถิ่นฐานที่บ้านทุ่งมนหรือบ้านโคกสว่างบ้านนาท่ม บ้านดงขวาง มีท้าวอินทรีย์ชัยเป็นหัวหน้า
กลุ่มที่ 4 ไทกวน ขึ้นไปทางทิศเหนือตามลำห้วยบังฮวก แม่เฒ่าศรีสองเมืองเป็นหัวหน้า มาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านช้างขวากกตาลหรือบ้านทุ่งนาใน แต่ในฤดูแล้งจะขาดแคลนน้ำจึงย้ายไปอยู่หัวทรงนานอกหรือบ้านผาเพียงทางไปบ้านดงยอต่อมาเกิดโรคระบาดจึงย้ายกลับมาอยู่บ้านดงไม้ถ่อน คือบ้านนาถ่อนทุ่งในปัจจุบัน
ลักษณะครอบครัวเป็นครอบครัวเดี่ยว ขนาดเล็ก และลักษณะชุมชนเป็นชุมชนที่มีการช่วยเหลือ อุดหนุน เกื้อกูลกันดีพอสมควร ลักษณะอุปนิสัยรักความสงบ ซื่อสัตย์ รักความสามัคคี สนุกสนาน ใจบุญสุนทาน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อคนทั่วไป
ภาษาพูดของไทกวนมีความคล้ายคลึงกับภาษาผู้ไท และใกล้เคียงกันกับชนเผ่าไทญ้อ จะใช้สระโอะ แทนสระออ เช่น
อีโพ๊ะ หมายถึง พ่อ
พร้าโก๊ะ หมายถึง มีดโต้
เฮา,โต๋ หมายถึง เรา,ท่าน
ชุดประจำชนเผ่าไทกวน โดยจะเป็นสีดำ - เหลือง ซึ่งสีดำ หมายถึง ความอดทน อดกลั้น, สีเหลือง หมายถึง ความบริสุทธิ์ซื่อสัตย์ ส่วนการแต่งกายนั้น ผู้ชาย จะแต่งกางเกงสีดำ เสื้อสีเหลือง สมัยก่อนผู้ชายจะไว้ผมยาว สักลายตามตัว ทั้งแขน ขา ส่วนใหญ่นิยมสักเป็นรูปนกที่บริเวณแก้ม เชื่อว่าสาวเห็นจะหลงรัก เพราะแสดงถึงความเข้มแข็งอดทน ผู้หญิง ใส่ผ้าถุงสีดำ เสื้อสีเหลือง เกล้ามวยผม
1. แกงขี้เหล็กใส่หนังเค็ม
ทำจากขี้เหล็กใบอ่อนที่สดจากต้น ส่วนหนังเค็มหนังของวัวที่ผ่านการทำความสะอาดมาอย่างดี นำมาเผาไฟแล้วนำไปต้มให้มีความนุ่ม ความแตกต่างจากชุมชนอื่น คือ ขี้เหล็กรสชาติไม่ขม เนื้อหนังเค็มสะอาด
2. หนังเค็ม
ทำมาจากหนังวัวหรือควาย (ส่วนใหญ่นิยมทำจากหนังควายเพราะมีความหนากว่า) เป็นการเก็บรักษาอาหารไว้กินได้นาน ๆ ภูมิปัญญาอย่างหนึ่งของคนอีสาน วิธีการทำหนังเค็ม คือเอาหนังวัวหรือหนังควายมาหั่นเป็นริ้วยาว จากนั้นนำไปตำหรือคลุกใส่กับรำและเกลือ นำไปหมักในภาชนะที่ปิดมิดชิดประมาณ 3 - 4 วัน จึงนำออกมาตากแดดให้แห้ง เวลากินก็เผากับไฟให้ขนและหนังไหม้เกรียม จากนั้นใช้ไม้ทุบเอาขี้เถ้าออก แล้วหั่นกินตอนร้อน ๆ หรือจะนำไปทำอาหารได้หลายเมนู
เป็นบ้านไม้ยกสูง มีใต้ถุน โดยแยกครัวออกมาอยู่ชานบ้าน ตามแบบชาวอีสานทั่วไป
ยึดประเพณีฮีต 12 คอง 14 ตามแบบประเพณีอีสาน แต่มีประเพณีที่สำคัญ คือ ไหว้ปู่ตาแสง คำว่าปู่ตาแสง หมายถึงคุณปู่ คุณตาของบรรพบุรุษทุกคนที่ถึงแก่กรรมไปแล้ว คำว่าแสง หรือตาแสง เป็นสรรพนามเรียกชื่อ ผู้ดำรงตำแหน่งผู้นำท้องถิ่น ระดับตำบลในสมัยโบราณ ปัจจุบันเรียกกำนัน
ในส่วนของความเชื่อ คือ เมื่อประมาณ 200 ปีมาแล้ว ชาวนาถ่อน นำโดยท้าวไชยทรงยศ ได้เลือกบริเวณดงไม้ถ่อน บ้านนาถ่อนทุ่งในปัจจุบันเป็นที่ตั้งหมู่บ้าน เพราะบริเวณนี้เป็นที่ราบสูง มีต้นไม้ใหญ่มากมาย และร่มรื่นภูมิทัศน์สวยงาม
เผ่าไทกวนนับถือพุทธศาสนา เทพไท้เทวา วิญญาณบรรพบุรุษอย่างเหนียวแน่น จึงเลือกตั้งที่ศาลพระภูมิขึ้น เป็นมิ่งขวัญหลักบ้าน บริเวณกลุ่มต้นไม้ใหญ่ ภาษาถิ่นเรียก ต้นบกดงหอ เพื่อประกอบพิธีกรรมไหว้บรรพบุรุษ วัฒนธรรมนี้ถือปฏิบัติสองกรณี คือ การไหว้ส่วนรวมและการไหว้ส่วนบุคคล การไหว้ส่วนรวม (เลี้ยงแสง) ยึดปฏิบัติ 2 ภาคฤดูกาล คือ
1. ภาคฤดูปักดำนา เดือน 6 ปัจจุบันถือเอาวันพืชมงคล กระทำพิธี เพื่อเป็นการขอน้ำฝนทำนาและความอุดมสมบูรณ์ธัญญาหารต่าง ๆ ให้กับชุมชนหมู่บ้าน และได้คุ้มครองป้องกันภัยจากธรรมชาติ รวมถึงโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ
2. ภาคฤดูกาลเก็บเกี่ยว ข้างขึ้นเดือน 12 เมื่อได้ผลผลิตข้าวแล้ว ในความเชื่อเรื่อกตัญญูกตเวที ต้องตอบแทนบุญคุณตาแสง ที่ให้ความอุดมสมบูรณ์ทุก ๆ ด้าน จึงให้ท่านรับประทานก่อน ทั้งนี้การเลี้ยงแสงทั้งสองฤดูกาล เป็นการเลี้ยงในนามหมู่บ้าน โดยนำเครื่องสักการะ เครื่องเซ่นไหว้ไปทำพิธีที่ซ้งกกยาง ปากบังฮวก และต้นบกดงหอ เพราะสถานที่ดังกล่าว เป็นทำเล มีกลุ่มต้นไม้ใหญ่และเป็นหลักถิ่นเมืองเก่า สาขาจากเมืองมรุกขนคร
การไหว้ส่วนบุคคล (เลี้ยงปู่ตา) เป็นการเซ่นสรวงดวงวิญญาณให้บรรพบุรุษของแต่ละตระกุลเป็นการเฉพาะ และรวมถึงตาแสงด้วย ส่วนมากนิยมปฏิบัติในการขอบคุณ เป็นต้น การไหว้ปู่ตาแสงส่วนมากนิยมให้กวานจ้ำ (บุคคลผู้กระทำพิธี) เป็นผู้นำพาปฏิบัติพิธีการตามขั้นตอน
เครื่องไหว้ปู่ตา ตาแสงประกอบด้วย ต้มหัวหมู ลาบขาว ลาบแดง(เลี้ยงใหญ่) ไก่ต้ม(เลี้ยงธรรมดา) อาหารคาวหวาน ผลไม้ ขนม เหล้าขาว เครื่องดื่มต่าง ๆ ข้าวหัวหงอก(ข้าวเหนียวคลุกน้ำตาล) ดอกไม้(นิยมสีแดง) ธูปเทียน ผ้าผืนแพรวา เรือกาบกล้วย ผ้ายผูกแขน หลากพลู บุหรี่ เงินใส่ขัย 5 ตามศรัทธา
ศาลปู่ตาแสง
ด้านความเชื่อชนเผ่าไทกวน นับถือผีบรรพบุรุษ โดยยึดเอาวันที่ 25 ตุลาคม ของทุกปี จะทำพิธีรำบวงสรวง ศาลปู่ตาแสง เพื่อปกป้องรักษาคนในชุมชน นอกจากนี้ยังมีวัฒนธรรมการฟ้อนรำไทกวน โดยเลียนแบบท่ามาจากสัตว์ป่า ได้แก่ ท่าช้างขึ้นภู งูเล่นหาง กวางโชว์เขา เสือออกล่า เต่าออกลาย ควายตั้งท่า ม้าออกศึก ระทึกกระทิงเปลี่ยว ขับเคี่ยวขบวนลิง และสิงห์คำราม เป็นต้น
ความเชื่อเกี่ยวกับผีสางเทวดา พระภูมิเจ้าที่ ก่อนที่จะมีการตั้งบ้านเรือนจะมีการนำหมอธรรม มาทำพิธีตั้งศาลพระภูมิ ทำกระทงบัดพลี เพื่อประกอบพิธีสะเดาะเคราะห์ พิธีกรรมในการรักษา มีหมอเหยาในการรักษา และความเชื่อด้านสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทางบรรพบุรุษวิญญาณ ไสยศาสตร์
1. เครื่องดนตรีโบราณ กลองกิ่ง
สมัยโบราณ ถือเป็นอุปกรณ์สัญลักษณ์แห่งความมีอำนาจ ความเด็ดขาด การข่มขู่และกล้าหาญ ตีเป็นสัญญาณนัดหมายต่าง ๆ และสำคัญยิ่ง คือ เวลาออกศึกการรบ เมื่อเสียงกลองกิ่งดังขึ้น จะเกิดความฮึกเหิมอยากต่อสู้ เพื่อให้เกิดชัยชนะ ปัจจุบันเผ่าไทกวนนาถ่อน นำมาใช้ตีเป็นสัญญาณให้เกิดความเป็นมงคลและสันทนาการในชุมชน ซึ่งการตีกลองกิ่งมีความหมายดังนี้
"ตีกลองกิ่งดังนึ่งครั้งมีราศี
ตีสองทีมีเงินทองกองมากล้น
ตีสามทีคนสรรเสริญทั่วสากล
ตีสี่ทีโรคภัยพ้นห้างกายา
ตีห้าทีเกียรติยศมีชื่อก้อง
ตีหกทีปู่ตาป้องภัยนานา
ตีเจ็ดทีพุทธธรรมช่วยนำพา
กุศลมาค้ำชูท่านเจริญเอย"
กลองกิ่ง
2. ฟ้อนประกอบกลองกิ่ง ฟ้อนไทกวน
3. ฟ้อนตีเหล็ก
ส่วนมากแล้วชาวไทกวนประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำนา เลี้ยงสัตว์ เลี้ยงโค และตีเหล็ก เมื่อเสร็จจากหน้านา ผู้หญิงก็จะมาช่วยผู้ชายตีเหล็ก และยังมีกลุ่มทอผ้า กลุ่มจักสาน กลุ่มทำแหนม และกลุ่มทำขนมจีนที่ไม่ใช้แป้งแต่ใช้ข้าวหมักแทน
การตีเหล็ก ทำมีดพร้า ของชาวไทกวน บ้านนาถ่อน จังหวัดนครพนม มีประวัติเล่าว่า ขุนพินิจแสนเสร็จ เห็นว่าหลังหน้าฤดูทำนาแล้ว ชาวบ้านไม่มีอะไรจะทำจึงไปติดต่อบาทหลวงซาเวียร์ชาวฝรั่งเศส จากเมืองเชียงหวาง แขวงคำม่วน ประเทศลาว มาสอนชาวบ้านตีเหล็กจนชำนาญ ปัจจุบันกลายเป็นอาชีพอุตสาหกรรมในครัวเรือน และเป็นสัญลักษณ์ของตำบลนาถ่อนไปด้วย
ผลิตภัณฑ์จากการตีเหล็ก อาทิ มีด พร้า เคียว เป็นต้น
แหล่งท่องเที่ยวชุมชน และท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเส้นทางท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
จุดที่ 1 ที่ทำการสภาวัฒนธรรมชมการตีเหล็ก
จุดที่ 2 เยี่ยมชมการตีเหล็กแบบปัจจุบัน
จุดที่ 3 เยี่ยมชมป่าชุมชน บ่อเกลือสินเธาว์
จุดที่ 4 เยี่ยมชมปู่ตาแสง
จุดที่ 5 เยี่ยมชมสักการะพระจักรพรรดิ ณ วัดศรีมงคล
จุดที่ 6 เยี่ยมชมขุมเงิน ณ วัดแก้วเสด็จ
จุดที่ 7 เยี่ยมใบเสมา ณ วัดโพธิ์ลานช้าง