.
ตอนที่ 5 วิถีชนคนเวียดนาม
บ้านนาจอก ตำบลหนองญาติ อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม
ในอดีตมีชาวเวียดนามจำนวนหนึ่งได้อพยพมาอยู่ในช่วงรัชกาลที่ 3 และส่วนหนึ่งอพยพ หนีภัยจักรวรรดินิยมฝรั่งเศสจากประเทศเวียดนามเข้ามาอาศัยอยู่ที่บ้านคำเกิ้ม ตำบลอาจสามารถ อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม ซึ่งอยู่ห่างจากบ้านนาจอกปัจจุบัน 6 กิโลเมตรหลังจากนั้นมีการอพยพกระจัดกระจายอยู่ในหมู่บ้านต่าง ๆ ในอำเภอเมืองนครพนม และส่วนหนึ่งได้อพยพมาอยู่ที่บ้านนาจอกแห่งนี้
ผู้สูงอายุในบ้านนาจอกเล่าสืบต่อกันมาว่าเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2471 ถึง พ.ศ. 2473 อดีตประธาน
โฮจิมินห์เคยได้มาพำนักและสร้างบ้านอาศัยอยู่ ณ บ้านนาจอกแห่งนี้ ในขณะนั้นใช้ชื่อว่า “จิ้น” โดยใช้ชีวิตเช่นเดียวกับชาวบ้านทั่วไป จึงไม่มีใครรู้ว่าท่านคือใคร จนท่านกลับไปกู้ชาติสำเร็จ จึงรู้ว่านายจิ้น ที่บ้านนาจอกที่แท้จริงคือประธานโฮจิมินห์ ร่องรอยที่ยังคงเหลืออยู่ในปัจจุบันก็คือต้นมะพร้าว 2 ต้นและต้นมะเฟือง 1 ต้น ซึ่งท่านประธานโฮจิมินห์หรือนายจิ้น ในขณะนั้นได้ปลูกไว้ ด้วยความสำคัญทางประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นดังกล่าวในปี พ.ศ. 2542 จังหวัดนครพนม จึงมีแนวคิดที่จะพัฒนาพื้นที่บ้านนาจอกแห่งนี้ ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่มีความสำคัญเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างประเทศไทยและสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ต่อมาปี พ.ศ. 2545 จังหวัดนครพนมได้แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาพื้นที่ หมู่บ้านนาจอกให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์วัฒนธรรม และมิตรภาพไทย- เวียดนาม จนกระทั่งเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2547 นายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรไทย และนายกรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ได้ร่วมกันประกอบพิธีเปิด หมู่บ้านมิตรภาพไทย- เวียดนามที่บ้านนาจอกแห่งนี้
บ้านนาจอกมีพื้นที่ทั้งหมด 929 ไร่ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม
ทิศเหนือ มีพื้นที่ติด บ้านภูเขาทอง หมู่ที่ 3
ทิศตะวันออก มีพื้นที่ติด บ้านหนองบัว หมู่ที่ 10
ทิศใต้ มีพื้นที่ติด อ่างเก็บน้ำหนองญาติ หมู่ที่ 1
ทิศตะวันตก มีพื้นที่ติด บ้านดอนโมง หมู่ที่ 4
ลักษณะดินจะเป็นดินร่วนปนทรายภูมิอากาศส่วนมากเป็นแบบร้อนชื้น เหมาะแก่การทำเกษตรกรรม บ้านนาจอกส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นอาชีพหลัก พืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ ผักสวนครัวปลอดสารพิษ เช่นผักบุ้ง ผักกวางตุ้ง ผักคะน้า ผักกาดหอม โหระพา ใบชา หมากพลู เป็นต้น อาชีพรองคือ ค้าขาย รับจ้างและรับราชการ
ชุมชนชาวไทยเชื้อสายเวียดนาม จังหวัดมุกดาหาร
ส่วนการอพยพคนคนไทยเชื้อสายเวียดนามเข้าสู่ประเทศไทยครั้งแรกมีขึ้นในสมัยพระเจ้าตากสินแห่งกรุงธนบุรี และในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ได้มีการรวบรวมกวาดต้อนผู้คนเข้าสู่อาณาจักรสยาม คนไทยเชื้อสายเวียดนามเป็นกลุ่มหนึ่งที่อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในภาคอีสาน คนไทยเชื้อสายเวียดนามกลุ่มแรกอพยพเข้ามาในสยามเมื่อสมัยเกิดกบฏไกรซิน ได้อพยพมาอยู่ตามหัวเมืองต่าง ๆ แถบลุ่มแม่น้ำโขง เช่น นครพนม มุกดาหาร สกลนคร ในสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ คนไทยเชื้อสายเวียดนามกลุ่มที่สองอพยพมาจากประเทศเวียดนามระหว่างปี พ.ศ. 2488 - 2489 เมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง เนื่องมาจากการกลับเข้ามายึดครองของฝรั่งเศสที่ใช้การปกครองอย่างเข้มงวดและทำการปราบปรามขบวนการชาตินิยมที่ต่อต้านฝรั่งเศส ในช่วงปี พ.ศ. 2492 - 2493 รัฐบาลไทยกำหนดถิ่นที่อยู่ของคนไทยเชื้อสายเวียดนามไว้ 5 จังหวัด จนถึงปี พ.ศ. 2527 - 2537 กระทรวงมหาดไทยประกาศให้ 13 จังหวัดเป็นเขตที่พักอาศัยคนคนไทยเชื้อสายเวียดนาม รวมทั้งจังหวัดมุกดาหารด้วย ในจังหวัดมุกดาหารแบ่งคนคนไทยเชื้อสายเวียดนามได้เป็น 2 กลุ่ม คือ คนไทยเชื้อสายเวียดนามเดิม ที่บรรพบุรุษอพยพเข้ามาตั้งแต่อดีต จนลูกหลานได้ถือสัญชาติไทย กับคนไทยเชื้อสายเวียดนามที่อพยพเข้ามาลี้ภัยในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง
คนไทยเชื้อสายเวียดนามในเขตเทศบาลเมือง จังหวัดมุกดาหาร มีวิถีชีวิตที่คล้ายคลึงกับคนไทยโดยทั่วไป ทั้งสภาพชีวิตด้านการศึกษา ที่อยู่อาศัย อาหารการกิน ตลอดจนสภาพเศรษฐกิจ หากแต่ยังคงค่านิยมดั้งเดิมอันเป็นเอกลักษณ์ของชาวเวียดนามอยู่บ้าง อาทิ การให้ความสำคัญกับสถาบันครอบครัว เคารพผู้อาวุโส ระบบความเชื่อที่เชื่อในวิญญาณเหนือธรรมชาติ รวมทั้งนับถือศาสนาคริสต์และศาสนาพุทธ และประกอบพิธีกรรมอันเป็นเอกลักษณ์แตกต่างจากคนไทยทั่วไป ตลอดจนการแต่งกายเมื่อมีพิธีกรรมสำคัญคนไทยเชื้อสายเวียดนามรุ่นเก่าจะแต่งกายตามแบบดั้งเดิม อันมีรูปแบบเฉพาะตัวของชาวเวียดนาม
ด้านการดำเนินชีวิต มีข้อค้นพบดังนี้ การได้สัญชาติไทยทำให้คนไทยเชื้อสายเวียดนามเข้ากับสังคมไทยได้ง่าย การเกิดการโตที่ประเทศไทยทำให้คนรุ่นลูกรุ่นหลานเข้ากับสังคมได้อย่างกลมกลืน ทุกคนถูกสอนในเรื่องของการทำมาหากิน การอยู่การกินก็กลมกลืนเช่นเดียวกับวิถีชีวิตชาวบ้านทั่ว ๆ ไปมีการสอนเด็กในเรื่องของการร้องเพลงยังมีการฟ้อนรำ สอนศิลปะเวียดนาม ส่วนใหญ่คนเวียดนามจะไม่ค่อยได้พักผ่อนเพราะทำแต่งาน คนเวียดนามพอมีวันหยุดก็จะพักผ่อนอยู่กับบ้าน เวลาว่างจะรวมตัวกันทำกิจกรรมที่สมาคมคนไทยเชื้อสายเวียดนาม ช่วงไหนที่เป็นเทศกาลวันว่างมักจะชวนครอบครัวไปเที่ยวที่ไกล ๆ เปลี่ยนบรรยากาศ มีการมารวมญาติพูดคุยกันภายในครอบครัว ชวนลูกหลานไปทำบุญ
และวันที่ 8 เดือน 3 มีประเพณี วันสตรีสากล ซึ่งวันนี้พ่อบ้านจะเป็นคนทำงานทุกอย่างแทนแม่บ้าน แม่บ้านไม่ต้องทำอะไร
ชุมชนชาวเวียดนาม บ้านท่าแร่ อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร
ชาวญวณในอดีตดิ้นรนที่จะเป็นอิสระจากฝรั่งเศส ต้องจากบ้านเกิดเมืองนอนมาอาศัยอยู่ในประเทศไทย มีสาเหตุสำคัญ 2 ประการคือเพื่อหลีกภัยทางการเมืองเพราะในเวียดนามจัดการสู้รบที่อำนาจระหว่างตระกูลตริน กับตระกูลเหงียน และชาวเวียดนามยังต้องลี้ภัยศาสนาด้วยเพราะทั้งสองตระกูลมีนโยบายกดขี่ข่มเหงผู้ที่นับถือศาสนาคริสต์ ชาวเวียดนามเดินทางหนีภัยการเมืองเข้ามาอยู่ในภาคอีสานจำนวนมาก ส่วนหนึ่งเข้ามาอยู่ในจังหวัดสกลนครระหว่าง พ.ศ. 2498 – 2492
ชาวไทยเชื้อสายเวียดนามเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่ยังคงพูดภาษาเวียดนามในการสื่อสารระหว่างกลุ่มอาศัยอยู่ตามเขตพื้นที่ต่าง ๆ ของจังหวัดสกลนคร เช่น บริเวณที่บ้านท่าแร่ในปัจจุบัน การตั้งชุมชนครั้งแรกที่บ้านท่าแร่เป็นชุมชนชาวคริสตัง ชาวคริสตังนับถือศาสนาคริสต์โรมันคาทอลิกเป็นชุมชนสำคัญในการเผยแพร่ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกซึ่งถือเป็นศูนย์กลางของคาทอลิกระดับเขต ที่เรียกว่ามิสซังท่าแร่-หนองแสง เผยแพร่ศาสนาไปยังหมู่บ้านต่าง ๆ ในจังหวัดสกลนครและจังหวัดใกล้เคียง
ชาวเวียดนามที่เดินทางเข้ามาที่จังหวัดสกลนครนั้นได้รับการศึกษาปลูกฝังให้มีความรู้เป็นคนไทยสามารถผสมกลมกลืนเข้าสู่สังคมไทยจนในที่สุดก็ได้รับสัญชาติไทยโดยเรียกว่าคนไทยเชื้อสายเวียดนาม อยู่อาศัยมานานจนได้รับเชื้อชาติไทย ปัจจุบันบุคคลเหล่านี้ ประกอบอาชีพ ข้าราชการ นักธุรกิจ นักการเมืองท้องถิ่น มีบทบาทต่อการปกครองเศรษฐกิจของจังหวัด
บ้านนาจอก ตำบลหนองญาติ อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม
ในอดีตมีชาวเวียดนามจำนวนหนึ่งได้อพยพมาอยู่ในช่วงรัชกาลที่ 3 และส่วนหนึ่งอพยพ หนีภัยจักรวรรดินิยมฝรั่งเศสจากประเทศเวียดนามเข้ามาอาศัยอยู่ที่บ้านคำเกิ้ม ตำบลอาจสามารถ อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม ซึ่งอยู่ห่างจากบ้านนาจอกปัจจุบัน 6 กิโลเมตรหลังจากนั้นมีการอพยพกระจัดกระจายอยู่ในหมู่บ้านต่าง ๆ ในอำเภอเมืองนครพนม และส่วนหนึ่งได้อพยพมาอยู่ที่บ้านนาจอกแห่งนี้
ผู้สูงอายุในบ้านนาจอกเล่าสืบต่อกันมาว่าเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2471 ถึง พ.ศ. 2473 อดีตประธาน
โฮจิมินห์เคยได้มาพำนักและสร้างบ้านอาศัยอยู่ ณ บ้านนาจอกแห่งนี้ ในขณะนั้นใช้ชื่อว่า “จิ้น” โดยใช้ชีวิตเช่นเดียวกับชาวบ้านทั่วไป จึงไม่มีใครรู้ว่าท่านคือใคร จนท่านกลับไปกู้ชาติสำเร็จ จึงรู้ว่านายจิ้น ที่บ้านนาจอกที่แท้จริงคือประธานโฮจิมินห์ ร่องรอยที่ยังคงเหลืออยู่ในปัจจุบันก็คือต้นมะพร้าว 2 ต้นและต้นมะเฟือง 1 ต้น ซึ่งท่านประธานโฮจิมินห์หรือนายจิ้น ในขณะนั้นได้ปลูกไว้ ด้วยความสำคัญทางประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นดังกล่าวในปี พ.ศ. 2542 จังหวัดนครพนม จึงมีแนวคิดที่จะพัฒนาพื้นที่บ้านนาจอกแห่งนี้ ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่มีความสำคัญเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างประเทศไทยและสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ต่อมาปี พ.ศ. 2545 จังหวัดนครพนมได้แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาพื้นที่ หมู่บ้านนาจอกให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์วัฒนธรรม และมิตรภาพไทย- เวียดนาม จนกระทั่งเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2547 นายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรไทย และนายกรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ได้ร่วมกันประกอบพิธีเปิด หมู่บ้านมิตรภาพไทย- เวียดนามที่บ้านนาจอกแห่งนี้
บ้านนาจอกมีพื้นที่ทั้งหมด 929 ไร่ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม
ทิศเหนือ มีพื้นที่ติด บ้านภูเขาทอง หมู่ที่ 3
ทิศตะวันออก มีพื้นที่ติด บ้านหนองบัว หมู่ที่ 10
ทิศใต้ มีพื้นที่ติด อ่างเก็บน้ำหนองญาติ หมู่ที่ 1
ทิศตะวันตก มีพื้นที่ติด บ้านดอนโมง หมู่ที่ 4
ลักษณะดินจะเป็นดินร่วนปนทรายภูมิอากาศส่วนมากเป็นแบบร้อนชื้น เหมาะแก่การทำเกษตรกรรม บ้านนาจอกส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นอาชีพหลัก พืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ ผักสวนครัวปลอดสารพิษ เช่นผักบุ้ง ผักกวางตุ้ง ผักคะน้า ผักกาดหอม โหระพา ใบชา หมากพลู เป็นต้น อาชีพรองคือ ค้าขาย รับจ้างและรับราชการ
ชุมชนชาวไทยเชื้อสายเวียดนาม จังหวัดมุกดาหาร
ส่วนการอพยพคนคนไทยเชื้อสายเวียดนามเข้าสู่ประเทศไทยครั้งแรกมีขึ้นในสมัยพระเจ้าตากสินแห่งกรุงธนบุรี และในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ได้มีการรวบรวมกวาดต้อนผู้คนเข้าสู่อาณาจักรสยาม คนไทยเชื้อสายเวียดนามเป็นกลุ่มหนึ่งที่อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในภาคอีสาน คนไทยเชื้อสายเวียดนามกลุ่มแรกอพยพเข้ามาในสยามเมื่อสมัยเกิดกบฏไกรซิน ได้อพยพมาอยู่ตามหัวเมืองต่าง ๆ แถบลุ่มแม่น้ำโขง เช่น นครพนม มุกดาหาร สกลนคร ในสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ คนไทยเชื้อสายเวียดนามกลุ่มที่สองอพยพมาจากประเทศเวียดนามระหว่างปี พ.ศ. 2488 - 2489 เมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง เนื่องมาจากการกลับเข้ามายึดครองของฝรั่งเศสที่ใช้การปกครองอย่างเข้มงวดและทำการปราบปรามขบวนการชาตินิยมที่ต่อต้านฝรั่งเศส ในช่วงปี พ.ศ. 2492 - 2493 รัฐบาลไทยกำหนดถิ่นที่อยู่ของคนไทยเชื้อสายเวียดนามไว้ 5 จังหวัด จนถึงปี พ.ศ. 2527 - 2537 กระทรวงมหาดไทยประกาศให้ 13 จังหวัดเป็นเขตที่พักอาศัยคนคนไทยเชื้อสายเวียดนาม รวมทั้งจังหวัดมุกดาหารด้วย ในจังหวัดมุกดาหารแบ่งคนคนไทยเชื้อสายเวียดนามได้เป็น 2 กลุ่ม คือ คนไทยเชื้อสายเวียดนามเดิม ที่บรรพบุรุษอพยพเข้ามาตั้งแต่อดีต จนลูกหลานได้ถือสัญชาติไทย กับคนไทยเชื้อสายเวียดนามที่อพยพเข้ามาลี้ภัยในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง
คนไทยเชื้อสายเวียดนามในเขตเทศบาลเมือง จังหวัดมุกดาหาร มีวิถีชีวิตที่คล้ายคลึงกับคนไทยโดยทั่วไป ทั้งสภาพชีวิตด้านการศึกษา ที่อยู่อาศัย อาหารการกิน ตลอดจนสภาพเศรษฐกิจ หากแต่ยังคงค่านิยมดั้งเดิมอันเป็นเอกลักษณ์ของชาวเวียดนามอยู่บ้าง อาทิ การให้ความสำคัญกับสถาบันครอบครัว เคารพผู้อาวุโส ระบบความเชื่อที่เชื่อในวิญญาณเหนือธรรมชาติ รวมทั้งนับถือศาสนาคริสต์และศาสนาพุทธ และประกอบพิธีกรรมอันเป็นเอกลักษณ์แตกต่างจากคนไทยทั่วไป ตลอดจนการแต่งกายเมื่อมีพิธีกรรมสำคัญคนไทยเชื้อสายเวียดนามรุ่นเก่าจะแต่งกายตามแบบดั้งเดิม อันมีรูปแบบเฉพาะตัวของชาวเวียดนาม
ด้านการดำเนินชีวิต มีข้อค้นพบดังนี้ การได้สัญชาติไทยทำให้คนไทยเชื้อสายเวียดนามเข้ากับสังคมไทยได้ง่าย การเกิดการโตที่ประเทศไทยทำให้คนรุ่นลูกรุ่นหลานเข้ากับสังคมได้อย่างกลมกลืน ทุกคนถูกสอนในเรื่องของการทำมาหากิน การอยู่การกินก็กลมกลืนเช่นเดียวกับวิถีชีวิตชาวบ้านทั่ว ๆ ไปมีการสอนเด็กในเรื่องของการร้องเพลงยังมีการฟ้อนรำ สอนศิลปะเวียดนาม ส่วนใหญ่คนเวียดนามจะไม่ค่อยได้พักผ่อนเพราะทำแต่งาน คนเวียดนามพอมีวันหยุดก็จะพักผ่อนอยู่กับบ้าน เวลาว่างจะรวมตัวกันทำกิจกรรมที่สมาคมคนไทยเชื้อสายเวียดนาม ช่วงไหนที่เป็นเทศกาลวันว่างมักจะชวนครอบครัวไปเที่ยวที่ไกล ๆ เปลี่ยนบรรยากาศ มีการมารวมญาติพูดคุยกันภายในครอบครัว ชวนลูกหลานไปทำบุญ
และวันที่ 8 เดือน 3 มีประเพณี วันสตรีสากล ซึ่งวันนี้พ่อบ้านจะเป็นคนทำงานทุกอย่างแทนแม่บ้าน แม่บ้านไม่ต้องทำอะไร
ชุมชนชาวเวียดนาม บ้านท่าแร่ อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร
ชาวญวณในอดีตดิ้นรนที่จะเป็นอิสระจากฝรั่งเศส ต้องจากบ้านเกิดเมืองนอนมาอาศัยอยู่ในประเทศไทย มีสาเหตุสำคัญ 2 ประการคือเพื่อหลีกภัยทางการเมืองเพราะในเวียดนามจัดการสู้รบที่อำนาจระหว่างตระกูลตริน กับตระกูลเหงียน และชาวเวียดนามยังต้องลี้ภัยศาสนาด้วยเพราะทั้งสองตระกูลมีนโยบายกดขี่ข่มเหงผู้ที่นับถือศาสนาคริสต์ ชาวเวียดนามเดินทางหนีภัยการเมืองเข้ามาอยู่ในภาคอีสานจำนวนมาก ส่วนหนึ่งเข้ามาอยู่ในจังหวัดสกลนครระหว่าง พ.ศ. 2498 – 2492
ชาวไทยเชื้อสายเวียดนามเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่ยังคงพูดภาษาเวียดนามในการสื่อสารระหว่างกลุ่มอาศัยอยู่ตามเขตพื้นที่ต่าง ๆ ของจังหวัดสกลนคร เช่น บริเวณที่บ้านท่าแร่ในปัจจุบัน การตั้งชุมชนครั้งแรกที่บ้านท่าแร่เป็นชุมชนชาวคริสตัง ชาวคริสตังนับถือศาสนาคริสต์โรมันคาทอลิกเป็นชุมชนสำคัญในการเผยแพร่ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกซึ่งถือเป็นศูนย์กลางของคาทอลิกระดับเขต ที่เรียกว่ามิสซังท่าแร่-หนองแสง เผยแพร่ศาสนาไปยังหมู่บ้านต่าง ๆ ในจังหวัดสกลนครและจังหวัดใกล้เคียง
ชาวเวียดนามที่เดินทางเข้ามาที่จังหวัดสกลนครนั้นได้รับการศึกษาปลูกฝังให้มีความรู้เป็นคนไทยสามารถผสมกลมกลืนเข้าสู่สังคมไทยจนในที่สุดก็ได้รับสัญชาติไทยโดยเรียกว่าคนไทยเชื้อสายเวียดนาม อยู่อาศัยมานานจนได้รับเชื้อชาติไทย ปัจจุบันบุคคลเหล่านี้ ประกอบอาชีพ ข้าราชการ นักธุรกิจ นักการเมืองท้องถิ่น มีบทบาทต่อการปกครองเศรษฐกิจของจังหวัด
ความต่างระหว่างคนเวียดนามรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ที่อยู่หมู่บ้านนาจอกคือ คนเวียดนามรุ่นเก่าจะพูดภาษาเวียดนามกลาง ที่ใช้พูดในจังหวัดฮาติง ถิ่นที่อยู่เดิม ส่วนเวียดนามรุ่นใหม่จะพูดภาษาเวียดนามแบบทางเหนือ เช่น ภาษาที่พูดในเมืองฮานอย
เนื่องจากคนส่วนใหญ่ในหมู่บ้านเป็นคนไทยเชื้อสายเวียดนาม ดังนั้นจึงพูดและเขียนด้วยภาษาเวียดนาม ภายหลังเมื่อมีการติดต่อกับคนอีสานจึงเริ่มฝึกฝนภาษาอีสานในหมู่บ้านคนไทยเชื้อสายเวียดนามพูดสามภาษา ได้แก่ ภาษาเวียดนาม ภาษาอีสาน และภาษาไทยภาคกลาง ภาษาเวียดนามที่พูดในบ้านนาจอกเหมือนกับภาษาภาคกลางของเวียดนาม ซึ่งไม่เหมือนกับภาษาเวียดนามภาคเหนือจากฮานอย หรือภาษาเวียดนามทางใต้จากเมืองโฮจิมินห์ (ไซ่ง่อน) นอกจากนี้ยังมีการผสมคำระหว่างภาษาเวียดนาม ภาษาอีสานและภาษาไทยภาคกลาง แต่เมื่อติดต่อกับกลุ่มชาติพันธุ์อื่นจะพูดภาษาไทยหรือภาษาอีสาน
การใช้ภาษาเวียดนามในจังหวัดมุกดาหารมีข้อค้นพบดังนี้ การค้าขายถ้าค้าขาย กับคนเวียดนามก็จะพูดคุยภาษาเวียดนาม เวลาอยู่ที่บ้านพ่อแม่สอนให้พูดภาษาเวียดนาม ออกนอกบ้านก็พูดภาษาไทย เวลาค้าขายถ้าเป็นคนเวียดนามเหมือนกันก็จะคุยเวียดนาม ยังคงมีไว้อยู่อย่างสวัสดี จ่าจู๋ จ่าจู๋ แล้วโค้งคำนับ เหมือนคนไทยคือการไหว้
แต่ในจังหวัดสกลนคร ภาษาของชาวเวียดนามนับวันยิ่งสูญหาย ยังเหลือแต่ชาวญวนเก่าที่ยังรักษาภาษาและขนบธรรมเนียมประเพณีเดิมไว้ ชาวเวียดนามสูงอายุยังคงใช้ภาษาเวียดนามอยู่ และที่สามารถใช้ภาษาเวียดนามได้ในปัจจุบันล้วนเป็นผู้สูงอายุทั้งสิ้น ในขณะที่เด็กรุ่นใหม่บางคนพอฟังได้ พอฟังเข้าใจแต่ไม่สามารถพูดได้คนที่ยังพูดภาษาเวียดนามได้เป็นผู้ที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 30 ปีทั้งนั้น ทั้งนี้เนื่องด้วยนโยบายทำให้เป็นชาติของจอมพลแปลกพิบูลสงคราม เรื่องของการทำให้เป็นไทย จึงกระทบต่อชาวญวนในไทย
การแต่งกายของชาวไทยเชื้อสายเวียดนาม ชายจะสวมกางเกงแพรขาก๊วย (ปั๋งลิ้น) สีดำสวมเสื้อคอตั้ง(คล้ายกับเสื้อคอจีนหรือคอพระราชทาน) ติดกระดุมเฉียงจากคอมาใต้รักแร้ ตัวเสื้อยาวคลุมเข่า ชายเสื้อผ้าซ้ายและขวาผ่าข้างจนถึงเอว นิยมสวมเสื้อสีเข้ม เช่น ดำ น้ำตาล เทาเข้ม และใช้ผ้าโพกศีรษะสีเดียวกับเสื้อ ใส่รองเท้าสานรัดส้น เครื่องแต่งกายของชายเรียกว่า “คังด๊งอ๊าวแท” จะสวมในโอกาสพิเศษ เวลาอยู่บ้านจะสวมเสื้อยืด คอกลมสีขาว นุ่งกางเกงแพรขาก๊วยสีดำ ส่วนหญิงจะนุ่งกางเกงขาก๊วยสีขาว ตัดเย็บด้วยผ้าแพร สวมเสื้อคล้ายเสื้อของชายแต่ตีเกล็ดให้โค้งเข้าบริเวณเอว ใช้สีสดใส เวลาออกนอกบ้านจะสวมหมวกทรงกรวยเรียกว่าหมวกญวน หรือใช้ผ้าแพรสีอ่อนโพกศีรษะ จะแต่งกายชุดนี้ในโอกาสพิเศษ เรียกว่า “อ๋าวหย่าย” เวลาปกตินุ่งกางเกงขาก๊วยสีเข้ม สวมเสื้อคอกลมผ่าหน้าติดกระดุม แขนยาวในตัวเรียกว่า อ้าวป่าบา
- ผู้ชายที่ทำหน้าที่ประกอบพิธีกรรมจะสวมชุดอ๋าวหย่ายสีดำ กางเกงขายาวสีดำ กับเสื้อชายยาวสีดำ ซึ่งเป็นชุดแต่งกายที่ได้รับการมอบต่อ ๆ กันมาตั้งแต่สมัยปู่ ย่า ตา ยาย
- ผู้หญิง สวมชุดอ๋าวหย่ายที่ตัดเย็บใหม่ ไม่ใช่การได้รับตกทอดกันมาเหมือนเสื้อผ้าผู้ชาย เนื่องจากไม่ต้องใช้ในการประกอบพิธีกรรมที่ศาลเจ้าเช่นผู้ชาย แต่เป็นการสวมใส่เพื่อความสวยงาม นับตั้งแต่เปิดหมู่บ้านมิตรภาพไทย เวียดนามผู้หญิงในหมู่บ้านจึงนิยมตัดชุดอ๋าวหย่ายสวมใส่มากขึ้นตามลำดับ และสวมใส่ในพิธีสำคัญเช่น งานวันฉลองครบรอบวันเกิดของท่านโฮจิมินห์ในแต่ละปี งานแต่งงาน และงานพิธีกรรมที่ศาลเจ้า ปัจจุบันคนไทยเชื้อสายเวียดนามได้ตัดชุดอ๋าวหย่ายจำหน่ายแก่นักท่องเที่ยวอีกด้วย
นอกจากนี้ชาวไทยเชื้อสายเวียดนาม นิยมสวมหมวกเรียกว่า “กุ๊บ” ในพิธีแต่งงานเจ้าสาวจะสวมชุดสีแดง สวมหมวกกุ๊บ เจ้าบ่าวจะสวมเสื้อสีขาว กางเกงสีดำ ส่วนคู่แต่งงานที่อพยพมาจากเวียดนามใต้เจ้าสาวจะสวมชุดสีเหลือง สวมหมวกกุ๊บ เจ้าบ่าวจะสวมเสื้อสีขาวกางเกงสีดำ
คนไทยเชื้อสายเวียดนามที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับอาหารจีน อาหารที่เป็นเอกลักษณ์ของคนไทยเชื้อสายเวียดนามก็คือ หมูยอ แหนมเนือง ฯลฯ บางพวกอาจนิยมรับประทานเนื้อสุนัขเช่นเดียวกับชาวจีน ชาวเวียดนามมีวัฒนธรรมการกินคล้ายกับชาวจีน คือบริโภคอาหารจำพวกเส้นซึ่งนิยมใช้ตะเกียบ อาหารส่วนมากมีรสชาติจืด ปัจจุบันคนคนไทยเชื้อสายเวียดนามหรือคนไทยเชื้อสายเวียดนามนิยมบริโภคอาหารเหมือนกับคนไทยทั่วไป แต่จะเน้นอาหารจำพวกผักเป็นพิเศษ ผักจะเป็นส่วนประกอบของอาหารทุกมื้อ
ซึ่งวัฒนธรรมการกินของชาวเวียดนามจะรับประทานข้าวเจ้าเป็นอาหารหลัก และในแต่ละเมนูมักจะมีผัก เป็นส่วนประกอบที่สำคัญ เช่น แหนมเนือง เมี่ยงทอด และ เฝอ คนไทยเชื้อสายเวียดนามนั้นจะผูกพันวิถีการกินอยู่กับประเพณี ความเชื่อ ซึ่งลักษณะประเพณีวัฒนธรรมของชาวเวียดนามจะมีความผสมผสานระหว่างความเป็นคริสต์ชนกับประเพณีแบบชาวจีน เช่นชาวเวียดนามที่เคร่งศาสนามักจะไปโบสถ์ทุกวันอาทิตย์ แต่เมื่อตรุษจีน หรือเทศกาลสำคัญต่าง ๆ ก็จะเฉลิมฉลองไม่ต่างกับชาวจีนเช่นกัน
อาหารพื้นบ้านชาวไทยเชื้อสายเวียดนาม บ้านนาจอก มีความแตกต่างของอาหารเวียดนามที่จากชุมชนอื่น คือ ลักษณะอาหารจะมีรสชาติจืดไม่นิยมรสเผ็ด เช่น แกงกัว (แกงปู) ยาเกีย (ขาหมูอบสมุนไพร) ก๋าคอ (ปลาต้มเค็ม) จ๋าตึ่ง (ไข่อบหม้อ) หรืออาหารที่เป็นที่นิยมทั้งไป เช่น เฝอ แกงยุดโมน มะเขือดอง และอาหารประเภทผัก เนื๊อกหมัม เป็นต้น
บ้านของคนไทยเชื้อสายเวียดนามที่บ้านนาจอก จังหวัดนครพนม เป็นบ้านไม้ยกพื้น เดิมเป็นบ้านไม้ชั้นเดียว ปัจจุบันส่วนใหญ่สร้างเป็นแบบใต้ถุนสูง ด้านล่างปล่อยโล่งเพื่อใช้สำหรับผูกเปลญวนกับที่พักผ่อนดื่มน้ำชา บ้านมุงด้วยสังกะสี ชั้นบนของบ้านมีหนึ่งห้องเป็นห้องสำหรับทำพิธีไหว้บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว พื้นที่โล่งเวลานอนจะกั้นด้วยม่าน บ้านแบบนี้คนไทยเชื้อสายเวียดนามเรียกว่า บ้านทรงไทยอีสาน เพราะบ้านแบบเวียดนามเป็นบ้านชั้นเดียวติดดิน บ้านแบบใต้ถุนสูงสร้างแบบบ้านคนอีสานเมื่อมาอยู่เมืองไทย
คนไทยเชื้อสายเวียดนามในจังหวัดมุกดาหาร เดิมนิยมมีบ้านอยู่อาศัยแบบชั้นเดียวติดดิน โดยผนังก่ออิฐและปูพื้นด้วยอิฐ เมื่ออพยพข้ามมาอยู่ฝั่งไทยก็ยังนิยมปลูกบ้านชั้นเดียวติดดินแบบเดิมและนิยมรวมกันอยู่เป็นกลุ่มเป็นพวก จากการถูกจำกัดพื้นที่อยู่อาศัยและจำกัดสิทธิในการเป็นเจ้าของที่ดินและโรงเรือน คนไทยเชื้อสายเวียดนามจึงต้องเช่าอาศัยหรือรับจ้างปลูกพืชสวนครัวตามที่ดินของคนไทย อาศัยกระต๊อบหรือโรงนาที่อยู่รอบ ๆ เขตเทศบาลเมืองมุกดาหาร ส่วนในเขตเทศบาลเมือง คนไทยเชื้อสายเวียดนามจะเช่าบ้านและอาคารไม้สำหรับประกอบอาชีพค้าขาย ในปัจจุบันที่อยู่อาศัยและขนาดครอบครัวของคนไทยเชื้อสายเวียดนามในเขตเทศบาลเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหารมีครอบครัวขนาดเล็กและมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง
และชาวไทยเชื้อสายเวียดนามในจังหวัดสกลนคร สมัยก่อนที่พักจะเป็นบ้านต่ำ มุงจาก ฝาผนังทำจากไม้ไผ่สานกัน หรือไม้แป้น เนื่องจากเวียดนามอยู่ใกล้ทะเล พายุลมแรง ปัจจุบันบ้านเก่าไม่หลงเหลือแล้วส่วนมากจะเป็นตึกพาณิชย์
วัฒนธรรมประเพณีบ้านนาจอก จังหวัดนครพนม มีการประกอบกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาและส่งเสริมวัฒนธรรมและประเพณีอย่างต่อเนื่องและเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง และมีวัฒนธรรมประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชนชาวไทยเชื้อสายเวียดนาม ดังนี้
1. พิธีตรุษ หรือ เต๊ด (Tet) วันปีใหม่ของชาวเวียดนาม
โดยจะประกอบพิธีปีละครั้ง ในระหว่างเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ของทุกปี ตรงกับวันตรุษจีน วันไหว้ที่ไหว้บรรพบุรุษที่บ้านกับที่ศาลเจ้า สำหรับของเซ่นไหว้มี เหล้า ไก่นึ่งเป็นตัว หัวหมู ขนมแบ๋งห์ไต่
พิธีที่ศาล ผู้นำการทำพิธีต้องแต่งกายด้วยชุดอ๋าวหย่าย โดยคณะกรรมการศาลเจ้าจะทำการคัดเลือกผู้นำการทำพิธีในแต่ละครั้งที่จัดงาน ในวันนี้คนไทยเชื้อสายเวียดนามที่ไปทำงานต่างจังหวัดจะกลับบ้าน โดยจะร่วมกันทำความสะอาดบ้าน หิ้งบูชาบรรพบุรุษ และตกแต่งบ้านเรือน วันนี้ถือว่าเป็นวันมงคล คนไทยเชื้อสายเวียดนามจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าใหม่ ในแต่ละบ้านจะทำพิธีไหว้ดวงวิญญาณบรรพบุรุษ ด้วยอาหารหวาน คาว ผลไม้ เหล้า น้ำชา และจะร่วมกันดื่มกินอาหารฉลองในครอบครัว ผู้ใหญ่จะอวยพรให้ลูกหลานมีความสุข ร่างกายแข็งแรง และแจกซองใส่ธนบัตรหรือเหรียญเงินใหม่เอี่ยมใส่ซองสีแดง เรียกว่าการให้ “หมึ่ง ต่วย (Mung Tuoi) เหมือนกับซองแต๊ะเอียในวันตรุษจีน
2. บุญเดือนหก ประเพณีวันไหว้
อยู่ในเดือนหก ระหว่างวันเข้าพรรษา ในวันปกติก็จะไหว้ในวันพระของคนไทยเชื้อสายเวียดนาม พิธีไหว้เจ้าด่ายเวืองที่บ้านนาจอก กับที่ศาลเจ้าแถ็งห์ หว่าง ที่บ้านดอนโมง พิธีมีสองวันได้แก่ วันเข้ากับวันออก ในวันเข้าจะทำพิธีโดยกรรมการไหว้ตอนกลางคืน และวันออกจะไหว้ในเวลาเช้าตรู่ของวันรุ่งขึ้น คนไหว้เป็นผู้อาวุโสเจ็ดคนที่ได้รับการคัดเลือกจากกรรมการศาลเจ้า คนไหว้จะสลับสับเปลี่ยนกันไปในแต่ละปี สำหรับชายทั้งเจ็ดคน ขณะทำพิธีจะสวมชุดอ๋าวหย่ายของผู้ชาย เสื้อสีดำยาว กางเกงสีขาว โพกศีรษะด้วยผ้าสีดำ สำหรับของเซ่นไหว้ประกอบด้วย ไก่ต้มสุกหนึ่งตัว เหล้าหนึ่งกั๊ก หมาก พลู ทุกวันนี้คนไทยเชื้อสายเวียดนามบริจาคเงินแทนการซื้อเหล้า เพราะเชื่อว่าเหล้าที่ขายในร้านค้าถูกเปิดขวดแล้วจึงไม่ซื้อมาเซ่นไหว้
3. ไหว้วันครบรอบวันเสียชีวิตของ บิดา มารดา ปู่ย่า ตายาย เรียกว่า พิธีกรรมบูชาดวงวิญญาณบรรพบุรุษ หรือ พิธีโหย๋
พิธีนี้ทำเพื่อแสดงความกตัญญูและเคารพบรรพบุรุษที่ล่วงลับ การประกอบพิธีจะทำเมื่อถึงวันครบรอบวันตายของบรรพบุรุษ สำหรับของเซ่นไหว้ประกอบด้วย ไก่ต้ม เหล้า เบียร์ น้ำอัดลม ขนม เสื้อผ้า กระดาษเงิน กระดาษทอง ส่วนผู้ทำพิธีสวดเชิญวิญญาณเรียกว่า “ไทกรุ๋ง” เมื่อจัดของไหว้เรียบร้อยแล้ว ไทกรุ๋งจะเริ่มทำพิธีเสี่ยงทายว่าวิญญาณบรรพบุรุษนั้นมารับของไว้แล้วหรือไม่ ไทกรุ๋งจะโยนเหรียญโบราณของเวียดนามสองเหรียญ ลักษณะเหรียญมีรู ทรงกลม ไทกรุ๋งจะทาแป้งทั้งสองเหรียญ เหรียญละหนึ่งด้าน หากผลเสี่ยงทายเป็นคว่ำกับหงาย แปลว่าวิญญาณบรรพบุรุษมารับของเซ่นไหว้เรียบร้อยแล้ว แต่ถ้าเหรียญผลไม่ออกมาแบบคว่ำกับหงาย ก็จะตรวจตราของเซ่นไหว้ว่าหลงลืมอะไรหรือไม่ เช่นยังไม่เปิดขวดเหล้าก็ต้องเปิดให้พร้อมเพรียงแล้วกล่าวคำขอโทษ จากนั้นก็เสี่ยงทายใหม่อีกครั้ง
ส่วนการตั้งแท่นบรรพบุรุษ ถ้าคนใดเสียชีวิตที่บ้านหลังใดก็จะตั้งแท่นบูชาและรูปไว้บ้านหลังนั้น บรรพบุรุษที่ล่วงลับจะตั้งรูปไว้ตามความอาวุโส พ่อหรือหัวหน้าครอบครัวจะตั้งรูปไว้สูงกว่าสมาชิกทุกคน นอกจากบุญบรรพบุรุษ แล้วยังเป็นการให้ญาติพี่น้องลูกหลานได้มาพบกันในวันไหว้บรรพบุรุษโดยการไหว้ศาลเจ้าในช่วงวันเข้าพรรษาหรือบุญเดือนหก
4. การแต่งงาน
คนไทยเชื้อสายเวียดนามนิยมแต่งงานในกลุ่มคนที่เป็นชาวเวียดนามด้วยกัน ที่แต่งกับกลุ่มชาติพันธุ์อื่นก็มีแต่เป็นส่วนน้อย ในอดีตพิธีค่อนข้างเรียบง่าย เน้นที่การเซ่นไหว้บรรพบุรุษที่ล่วงลับ สำหรับของเซ่นไหว้ได้แก่ อาหารคาวหวาน ไก่ต้มหนึ่งตัว ธูป เทียน หมาก พลู เหล้า เมื่อขบวนขันหมากของฝ่ายเจ้าบ่าวยกมาถึงบ้านเจ้าสาว แล้วจะให้ผู้อาวุโสที่ประสบความสำเร็จในชีวิตคู่มาคล้องแขนเจ้าบ่าวเจ้าสาว โดยจะกล่าวอบรมการใช้ชีวิตและให้พรเพื่อสร้างฐานะความเป็นอยู่ ซื่อสัตย์ต่อกัน และฝ่ายเจ้าสาวก็จะเลี้ยงต้อนรับฝ่ายเจ้าบ่าว ต่อมาก็จะแห่กลับไปที่บ้านเจ้าบ่าว และเจ้าสาวจะมาอยู่ที่บ้านฝ่ายชายตามประเพณีของเวียดนาม
ส่วนใหญ่จัดในเดือนคู่ เว้นช่วงเข้าพรรษา แต่ถ้ามีญาติพี่น้องของฝ่ายชายหรือฝ่ายหญิงเสียชีวิตก็จะทำพิธีไว้ทุกข์โดยจะไม่จัดงานแต่งงานในช่วงระยะเวลาสองปี ทุกวันนี้ทำบุญหนึ่งร้อยวันก็ปลดทุกข์แล้วและห้ามคนที่เป็นหม้ายหรือล้มเหลวในชีวิตคู่มาแตะต้องสิ่งของเจ้าบ่าวเจ้าสาวเพราะเชื่อว่าไม่เป็นสิริมงคล แต่ทุกวันนี้ความเชื่อเช่นนี้ไม่ค่อยเคร่งครัดเหมือนในอดีตปัจจุบันงานแต่งงานของคนไทยเชื้อสายเวียดนามจัดเหมือนคนอีสาน มีการจัดเลี้ยงโต๊ะจีน สำหรับการ์ดเชิญแขกนิยมเขียนเป็นภาษาเวียดนามและภาษาไทย
5. พิธีศพ (DAM MA)
เมื่อมีคนในหมู่บ้านเสียชีวิต ญาติพี่น้องของผู้เสียชีวิตจะไปบอกกับประธานศาลเจ้าเตรียมสิ่งของที่ใช้แจ้งข่าวการเสียชีวิต ประกอบด้วย หมากพลู 1 สำรับ คือหมาก 5 คำ พลู 5 คำ เหล้าขาว 1 ขวด เพื่อมาครอบ ซึ่ง “การครอบ” หมายถึงการบอกผู้อาวุโส หรือประธนศาลเจ้า ต่อมาประธานศาลเจ้าก็จะไปบอกกับผู้ใหญ่บ้าน เพื่อให้ตีกลองบอกคนในหมู่บ้านให้ทราบข่าวร้ายโดยทั่วถึงกัน ซึ่งการตีกลองข่าวคนเสียชีวิตนั้นจะแตกต่างจากสัญญาณแบบอื่น โดยในระยะแรกจะตีปกติ แต่เมื่อจบลงต้องตีเป็นจังหวะอีก 9 ครั้ง
ส่วนสัญญาณกลองบอกว่ามีวัวควายถูกขโมยหรืออัคคีภัย จะตีรัว ๆ เร็ว ๆ เมื่อชาวบ้านได้ยินก็จะรู้ว่าเกิดเหตุอะไรขึ้นในหมู่บ้านแต่ทุกวันนี้จะใช้เสียงประชาสัมพันธ์ทางหอกระจายข่าว
จากนั้นชาวบ้านก็จะมาช่วยงานศพ ซึ่งมีคณะกรรมการศาลเจ้าเป็นผู้นำการทำพิธี และจัดหาคนหนุ่มจำนวน 7 คนมาช่วยงานศพและผู้หญิงก็จะมาช่วยกันทำอาหารเลี้ยงแขกที่ร่วมร่วมไว้อาลัย ส่วนการตั้งศพจะหันหัวผู้ตายไปทางทิศตะวันตก และวางศพในแนวยาวของตัวบ้าน ส่วนศพนอนวางมือซ้ายทับมือขวาวางบริเวณหน้าท้องโดยให้เท้าโผล่ออกนอกผ้าที่ห่ม หันเท้าออกนอกบ้าน และตั้งกระถางธูปไว้บริเวณเท้า คนที่มางานจะกราบที่เท้าผู้เสียชีวิต ในกระถางธูปจะจุดธูปดอกใหญ่ไว้หนึ่งดอกกลางกระถางธูป โดยมีเทียน 2 เล่มวางไว้ด้านหน้า และมีโต๊ะขนาดเล็ก ใส่ข้าวและไข่ต้ม เรียกว่า “เกือมอุบ” บนนั้นจะมีตะเกียบ 1 คู่
น้ำหนึ่งแก้ว ตะเกียงน้ำมันก๊าดที่จุดไว้ไม่ให้ดับหนึ่งดวงด้วยเชื่อว่าจะเป็นแสงสว่างให้ผู้เสียชีวิตที่มากินข้าว ส่วนข้าวหมายถึงความอยู่ดีกินดี ไข่หมายถึง อาหาร ส่วนงานศพผู้สูงอายุทั้งชายและหญิงจะตัดเย็บชุดสีแดงให้กับศพดังกล่าว กับมีข้าวจำนวนเก้าเม็ด เงินบาทหนึ่งเหรียญ กับทองคำจำนวนหนึ่งเพื่อมอบให้กับศพ เพราะเชื่อว่า ข้าว เงิน ทอง เป็นเครื่องหมายของความอุดมสมบูรณ์ในโลกหน้า
ชาวไทยเชื้อสายเวียดนามในจังหวัดมุกดาหาร มีระบบครอบครัวเครือญาติ ที่มีความแน่นแฟ้น มีความเคารพผู้อาวุโสและบรรพบุรุษ สมาชิกในครอบครัวมีความรักและผูกพันกัน มีความภาคภูมิใจในชีวิตครอบครัวและกลุ่มชาติพันธุ์ของตนสูง สมาชิกในครอบครัวมีบทบาทหน้าที่ที่เท่าเทียมกัน และผู้สูงอายุจะเป็นศูนย์รวมจิตใจของครอบครัว รวมทั้งยังมีการรวมกลุ่มทางสังคมเฉพาะที่เป็นคนไทยเชื้อสายเวียดนามด้วยกัน เช่น กลุ่มธุรกิจการค้า ประเพณีการแต่งงานของคนไทยเชื้อสายเวียดนาม มีการประกอบพิธีตามขั้นตอนเริ่มจากขั้นดูฐานะทางครอบครัวแต่ละฝ่าย โดยฝ่ายเจ้าสาวจะไปดูตัวและฐานะของเจ้าบ่าวเป็นอันดับแรก ต่อมาฝ่ายเจ้าบ่าวจึงจะไปดูตัวและฐานะของเจ้าสาว หลังจากตกลงค่าสินสอดแล้วจะนำสินสอดมาใส่รวมกันในปี๊บ ในพิธีแต่งงานจะมีการดื่มน้ำชาและไหว้บรรพบุรุษ โดยฝ่ายเจ้าสาวจะจัดทำ “ขนมฮำ” เพื่อนำไปไหว้บรรพบุรุษทั้งสองฝ่าย
คนไทยเชื้อสายเวียดนาม ถูกสั่งสอนมาจากบรรพบุรุษเป็นทอดๆ อบรมสั่งสอนลูกหลานแบบคนไทย ประหยัด อดทน ซื่อสัตย์ ขยันทำมาหากินสอนกันมาตลอดทุกรุ่นให้ เคารพในกฎระเบียบของสังคมนั้น ๆ ยอมรับในกติกาค่านิยมของสังคมทั้งไทยและเวียดนาม สอนลูกหลานให้ไม่ลืมบุญคุณแผ่นดินไทย มีการติดต่อค้าขายกันมาตั้งแต่รุ่นพ่อรุ่นแม่ มีกิจกรรมและประเพณีเป็นตัวเชื่อม มีการเรียนรู้วัฒนธรรมคน ไทยเชื้อสายเวียดนามต้องยอมรับในกฎกติกาของสังคมไทย การติดต่อค้าขายทำให้เข้ากับทุกคนในสังคมได้ มีการช่วยเหลืองานบุญต่าง ๆ ในสังคม
ประเพณีของชาวไทยเชื้อสายเวียดนามในจังหวัดสกลนคร ประกอบไปด้วย วันตรุษญวน หรือปีใหม่ ปีใหม่ของชาวเวียดนาม มีลักษณะเหมือนกับประเพณีตรุษจีนของชาวจีนในอดีตสมัยที่เวียดนามตกเป็นเมืองขึ้นของจีนนานนับพันปี ความเชื่อและการดำรงชีวิตตลอดจนแตกต่าง ๆ ก็ได้รับอิทธิพลจากจีนทั้งสิ้น ตรุษจีนหรือวันขึ้นปีใหม่ตรงกับวันที่ 1 เดือน 1 ตามปฏิทินจันทรคติหรือตรงกับตรุษจีน ภาษาเวียดนามเรียกว่า เต๊ด เหงวียน ด๋าน แปลว่า เทศกาลต้อนรับแสงอรุณของปีใหม่ ในการเฉลิมฉลองเทศกาลตรุษญวนจะเริ่มขึ้นในวันที่ 23 เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติของเวียดนาม (เจ็ดวันก่อนตรุษญวน) วันนี้จะมีการไหว้เทพเจ้าเตาไฟ เรียกว่า องต๋าว หรือ ต๋าวเกวิน เทพเจ้าเป็นเทพเจ้าที่คอยสอดส่องดูแลความเป็นไปทุกอย่างภายในบ้าน เทพเจ้าเตาของเวียดนาม มี 3 องค์ซึ่งแตกต่างกับของจีนพอถึงวันที่ 23 เดือน 12 จะมีการเซ่นไหว้เทพเจ้าโดยวัตถุประสงค์คือเพื่อส่งเทพเจ้าขึ้นสวรรค์ ในพิธีจะมีการไหว้ปลาคาร์ฟซึ่งเทพเจ้าจะขึ้นสวรรค์โดยขี่ปลาคาร์ฟนี้ พอไหว้เสร็จก็จะนำปลาคาร์ฟไปปล่อยในแม่น้ำหรือหนองน้ำ เพราะเชื่อว่าปลาคราฟ จะแปรงกลายเป็นมังกรพาเทพเจ้าขึ้นสู่สวรรค์ หลังจากนั้นจะมีการทำความสะอาดบ้านเรือนประดับตกแต่งสวยงามเพื่อต้อนรับเทศกาลตรุษญวนที่จะมาถึง
ต่อมาคือการเด็ดเอายอดกิ่งไม้ที่เพิ่งงอกตามถนนหนทางใกล้บ้านเพื่อมาปักในแจกันบูชาบรรพบุรุษซึ่งมีความเชื่อว่าจะนำโชคลาภมาให้ดังนั้นผู้คนส่วนใหญ่จึงเลือกเกรดเอายอดไม้นี้มาเพื่อเป็นสิริมงคล พอถึงเช้าวันที่ 1 เดือน 10 ตามปฏิทินจันทรคติซึ่งถือว่าเป็นวันปีใหม่จะมีการไหว้บรรพบุรุษครั้งใหญ่ของไหว้จะมีมากมายหลายอย่างเพราะเชื่อว่าจะส่งผลต่อความอุดมสมบูรณ์ของครอบครัวตลอดปี
ชาวไทยเชื้อสายเวียดนาม บ้านนาจอก จังหวัดนครพนม จะมีความเชื่อเกี่ยวกับการปฏิบัติตนในวันเทศกาลและประเพณีต่าง ๆ ดังนี้
1. เทศกาลวันตรุษ
มีการไหว้บรรพบุรุษ ซึ่งจะทำพิธีไหว้ 2 วัน คือ วันแรกและวันที่สอง ส่วนวันที่สามเป็นวันเที่ยวจะมีการเฉลิมฉลองอย่างครึกครื้นโดยไม่มีการทำงานและเปิดร้านขายของแต่อย่างใด นอกจากนี้ยังมีการไหว้คนตายในสุสานด้วยเพื่อไหว้คนตายที่ไม่มีญาติ
2. ประเพณีวันสารทจีน
จะมีการไหว้บรรพบุรุษเพื่อขอพรให้ช่วยปกปักรักษาลูกหลาน ให้ร่มเย็น ทำมาค้าขายร่ำรวย
3. เทศกาลไหว้พระจันทร์
คือการไหว้คนตายที่ไม่มีญาติ เพื่อให้ไปเกิด มีการเผากระดาษเงิน กระดาษทอง ของใช้ไปให้
4. พิธีศพ
คนญวนจะเก็บศพไว้ที่บ้าน 7 วัน ลูกหลานจะต้องกินข้าวกับเกลือจนกว่าศพจะออกจากบ้าน ภายหลังจึงบริโภคอาหารแห้งและห้ามบริโภคอาหารที่เป็นเส้น เช่น ขนมจีน ก๋วยเตี๋ยว วุ้นเส้น รวมถึงผักที่เป็นเยื่อเถา ประเภทบวบ ฟัก เป็นต้น และหากมีผู้บริโภคอาหารดังกล่าวจะทำให้เสียชีวิตตามไปด้วย นอกจากนี้เวลาหามศพ พ่อ แม่ ต้องให้ลูกสาว ลูกชาย นอนต่อกันเป็นทางยาวจนถึงหน้าประตูบ้านแล้วหามศพข้ามลูกไปจนถึงหน้าบ้าน ถือว่าเป็นการส่งบิดามารดาครั้งสุดท้าย พิธีกงเต็ก จะจำลองสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ ด้วยกระดาษเช่น บ้านเรือน รถยนต์ เสื้อผ้า คนรับใช้ เป็นต้น เผาไปพร้อมกับกระดาษเงินกระดาษทองเพราะเชื่อว่าผู้ตายจะได้นำไปใช้ในภพหน้า
นอกจากนี้ยังมีความเชื่อเกี่ยวกับการเลือกสิ่งของ อาหาร ที่นำมาใช้ในพิธีกรรม ดังนี้
1. ความเชื่อเกี่ยวกับข้าว
จะใช้ข้าวเหนียวในการไหว้ศาลเจ้าเท่านั้น
2. ความเชื่อเกี่ยวกับเนื้อ
ไม่นิยมนำเนื้อวัว ควายมาเซ่นไหว้เพราะเป็นสัตว์ใหญ่ใช้แรงงาน มีบุญคุณต่อมนุษย์ดังนั้นหากนำมาไหว้จะเกิดเหตุร้ายต่อคนในครอบครัว
3. การไหว้แต่ละครั้งนิยมนำเครื่องในหมูเซ่นไหว้
เพราะเชื่อว่าถ้าไม่มีเครื่องในหมูเซ่นไหว้เป็นการบกพร่องต่อหน้าที่การเป็นลูกหลาน และการนำไก่มาเซ่นไหว้จะต้องเป็นไก่ตัวผู้เท่านั้น โดยเฉพาะถ้าหากขาไก่มีสีเหลือง และตัวอ้วนจะหมายถึงความเป็นสิริมงคล ค้าขายร่ำรวย มีเงินทองมาก
4. ความเชื่อเกี่ยวกับสุรา
มีความเชื่อว่าสุรากลั่น 40 ดีกรี เหล้าขาว หรือเบียร์ มีความบริสุทธิ์เหนือน้ำอื่นใด เพราะผ่านกระบวนการกลั่นกรอง จึงนิยมนำมาเซ่นไหว้
นอกจากนี้ ยังมีความเชื่อว่าเมื่อไหว้บรรพบุรุษจะขาดหมากพลูไม่ได้ และกับข้าวที่นำมาเซ่นไหว้นิยมใช้ แกงจืดวุ้นเส้น ผัดผักหมูยอ แหนม หรือกับข้าวที่บรรพบุรุษชอบรับประทานครั้งยังมีชีวิตอยู่ เชื่อว่าเมื่อนำมาเซ่นไหว้ จะอยู่เย็นเป็นสุข ค้าขายร่ำรวย นอกจากนี้ยังมีคติความเชื่อเกี่ยวกับข้อห้ามสำหรับการรับประทาน และยังมีธรรมเนียมปฏิบัติคำสั่งสอน คือ มีสติ รู้ตัว รู้คิด รู้ทำ รู้ปฏิบัติ ส่งเสริมให้คนในชุมชนรู้จักปฏิบัติตนให้เป็นคนดี มีศีลธรรม มีสติรู้คิดรู้ทำรู้ปฏิบัติ เอาใจใส่ต่อหน้าที่มีความตั้งใจและรับผิดชอบในการทำงานมีความทุ่มเท อดทนไม่ย่อท้อต่อปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ และพยายามแก้ไขปัญหาให้สำเร็จ เช่น ส่งเสริมให้คนในชุมชนเข้าวัดฟังธรรมรักษาศีล
การมีระเบียบวินัยเคารพกฎหมายผู้น้อยรู้จักการเคารพผู้ใหญ่ส่งเสริมให้เด็กเยาวชนและคนในชุมชนมีระเบียบวินัยเคารพกฎหมาย มีความเคารพผู้ใหญ่ให้เกียรติผู้อื่นไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ไม่ฝ่าฝืนกฎกติกาของหมู่บ้าน เช่น รู้จักการต่อแถว มีระเบียบวินัย เคารพกฎระเบียบของหมู่บ้าน ผู้น้อยให้เคารพผู้ใหญ่
การปฏิบัติตัวส่งเสริมให้คนในชุมชนมีศีลธรรมอันดี ไม่เบียดเบียนผู้อื่น เผื่อแผ่อยู่แบบพี่น้องมีความซื่อสัตย์ เช่น คนในชุมชนรู้จักช่วยเหลือผู้อื่น เมื่อผู้อื่นได้รับความเดือดร้อน ส่งเสริมให้ทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกันเพื่อให้เกิดความรักสามัคคีของคนในชุมชน รู้จักแบ่งปัน ปฏิบัติตามกฎระเบียบของหมู่บ้านอย่างเคร่งครัดมีความจริงใจต่อผู้อื่น
ด้านวัฒนธรรมและความเชื่อของคนไทยเชื้อสายเวียดนาม ในจังหวัดมุกดาหาร ต่อยอดประเพณีของเวียดนามให้เข้ากับความเป็นไทย การยึดถือและเคารพบรรพบุรุษ การนับถือระหว่างผู้ใหญ่ผู้น้อย การสอนให้รู้จักการขยัน ประหยัด อดทน คนนอนคือห้ามกวาดบ้าน เตาหุงข้าวต้องตั้งอย่างมีทิศ ห้ามสวนแสงตะวัน ชาวเวียดนามก็คือให้ความสำคัญในเรื่องความอาวุโส มุ่งมั่นอดทนทำมาหากิน ผู้ใหญ่สอนอะไรไปก็ต้องเชื่อแล้วทำตามอย่างเร็ว
คนไทยเชื้อสายเวียดนามมีความเชื่อในเรื่องภูตผีวิญญาณหรือสิ่งเหนือธรรมชาติ มีการประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อคือ “หมอจิ๋น” เป็นพิธีกรรมเกี่ยวกับการปัดรังควานของผีภัยให้ออกจากร่างกายของผู้ป่วยและเป็นการส่งเสริมสิ่งดีงามให้แก่ผู้คนทั่วไป นอกจากนี้ยังมีความเชื่อในเรื่องโชคลางหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์เช่นเดียวกับคนไทยในท้องถิ่น แต่แตกต่างกันในส่วนของการประกอบพิธีกรรม ส่วนในเรื่องศาสนามีทั้งที่นับถือศาสนาพุทธและศาสนาคริสต์ ในส่วนของพิธีศพนั้น จะถูกจัดขึ้นตามขั้นตอนโดยพิธีสวดศพจะมีการจ้างตระกูลที่รับจ้างร้องไห้มาร้องไห้ต่อหน้าศพเพื่อแสดงการไว้อาลัย ญาติพี่น้องจะสวมชุดสีขาวมาร่วมขบวนแห่ศพและมีตัวแทนญาติของผู้ตายทำการเดินถอยหลังและใช้มือผลักรถบรรทุกศพเพื่อส่งวิญญาณ ในกรณีที่เป็นคนไทยเชื้อสายเวียดนามที่นับถือศาสนาพุทธจะเผาศพ ส่วนคนไทยเชื้อสายเวียดนามที่นับถือศาสนาคริสต์จะฝังศพ
ในยุคแรกที่คนไทยเชื้อสายเวียดนามอพยพเข้ามา บ้านทุกบ้านจะมีหิ้งบูชาและภาพของโฮจิมินท์และมีการสวดบูชาโฮจิมินท์ทุกวัน ต่อมาเมื่อทราบว่ากรรมการองค์กรชาวเวียดนามบางคนยักยอกเงินไป ชาวคนไทยเชื้อสายเวียดนามอพยพจึงเลิกความเชื่อถือดังกล่าว ปัจจุบันจะไม่พบเห็นหิ้งบูชาหรือภาพถ่ายโฮจิมินท์อีกแล้ว
คนไทยเชื้อสายเวียดนามที่นับถือศาสนาพุทธกันส่วนมาก ชาวเวียดนามทุกครัวเรือนเลยต้องมีการนับถือบรรพบุรุษ คนเวียดนามนับถือและศรัทธาในองค์โฮจิมินห์ นับถือมีความศรัทธาในองค์โฮจิมินห์ นับถือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นับถือพระเจ้าเยซู มีความศรัทธาศาสนาคริสต์ การสืบทอดการไหว้บรรพบุรุษ เทศกาลก็จะมีการเส้นไหว้แบบจีน การปฏิบัติต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ด้วยพิธีกรรม เวลามีงานแต่งงานบ่าวสาวต้องมีการไหว้บอกบรรพบุรุนะว่าจะออกเรือนกัน นับถือศาสนาคริสต์ ในทางการปฏิบัติต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ด้วยพิธีกรรม
ความเชื่อเรื่องการบูชาบรรพบุรุษและการไหว้ในวันครบรอบวันตายเป็นจารีตที่ชาวเวียดนามนับถือมาแต่โบราณเชื่อว่าวิญญาณของญาติจะยังคงอยู่เคียงข้าง และช่วยปกป้องและสนับสนุนช่วยเหลืออยู่ตลอดเวลาซึ่งการไหว้บรรพบุรุษ มนุษย์เป็นการรวมตัวของลูกหลานที่อยู่ในวงศ์ตระกูลและเพื่อนสนิทมิตรสหาย ซึ่งก็แล้วแต่ครอบครัวเป็นคนกำหนด แต่มีบางครั้งการไหว้บรรพบุรุษในวันนี้ไม่ได้มีพิธีอะไรใหญ่โตมาก สิ่งของที่ใช้ไหว้นั้นบางครั้งก็ไม่ได้จัดให้ครบองค์ประกอบเพียงแค่มีการ จุดธูปบูชาหรือมีแก้วน้ำ ผลไม้ สิ่งที่สำคัญคือจิตใจของลูกหลานที่ยังคงระลึกถึงความดีและสำนึกในบุญคุณของบรรพบุรุษเท่านั้นเอง จากความเชื่อนี้ทำให้บ้านต่าง ๆ ของชาวเวียดนามการจัดตั้งแท่นบูชาไว้สำหรับบูชาบรรพบุรุษของตน ซึ่งแท่นบูชานั้นจะถูกจัดวางไว้ในที่ที่สำคัญที่สุดของบ้าน สำหรับการไหว้นอกจากจะไหว้ในวันสำคัญแล้วข้างขึ้นข้างแรมนับตั้งแต่วันที่ 1 ถึงวันที่ 15 ค่ำแล้ว ยังมีการไหว้จุดธูปบูชาในโอกาสพิเศษและอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น การแต่งงาน งานศพ งานรื่นเริงเทศกาลตรุษ เป็นต้น
ชาวเวียดนามในจังหวัดสกลนครมีทั้งนับถือศาสนาพุทธและศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิกส่วนใหญ่ที่นับถือศาสนาคริสต์ ในทุกปีของวันคริสต์มาสจะมีการจัดงานเฉลิมฉลองที่ยิ่งใหญ่นั่น คือ ประเพณีแห่ดาว ตามตำนานเล่าว่าช่วงเวลาที่พระเยซูประสูติ บรรดาโหราจารย์มองเห็นดาวลักษณะพิเศษอย่างหนึ่ง ที่มีความสุขสว่างกว่าดาวทั่วไป ปรากฏขึ้นบนท้องฟ้าเป็นที่น่าอัศจรรย์พวกเขาจึงดั้นด้นเดินตามดาวนั้นจนไปพบกับสถานที่ประสูติของพระเยซู นับแต่นั้นมาชาวคริสต์ถือว่า ดาว คือสัญลักษณ์ของการเสด็จลงมาจากบนโลกมนุษย์ของพระเยซูในค่ำคืนวันที่ 25 ธันวาคมซึ่งเป็นวันคริสต์มาส พี่น้องชาวไทยเชื้อสายเวียดนาม ที่ไปทำงานต่างถิ่นจะกลับมาอยู่กันพร้อมหน้าพร้อมตาช่วยการประดิษฐ์ดาวดวงใหญ่ เข้าร่วมขบวนแห่กันอย่างสนุกสนานประเพณีแห่ดาวนี้ นอกจากเป็นการบอกเล่าเรื่องราวของพระเยซูคริสต์ให้อนุชนรุ่นหลังได้ตระหนักถึงวันสำคัญทางศาสนาแล้ว การแห่ดาวเป็นการสร้างสามัคคีและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชนเผ่าเวียดนามด้วย
การแสดงการละเล่นที่เป็นเอกลักษณ์ โดดเด่นของชาวไทยเชื้อสายเวียดนามบ้านนาจอก ได้แก่ รำกุ๊บการแสดงฟ้อนรำโดยมีกุ๊บ เป็นอุปกรณ์เหมือนงอบ ใช้กันแดดในการประกอบอาชีพมีการดัดแปลงในการฟ้อนรำเปลี่ยนอุปกรณ์เป็นดอกไม้หรืออื่น ๆ ที่ใช้ในชีวิตประจำวันของชาวไทยเชื้อสายเวียดนาม
ภูมิปัญญาและการประกอบอาชีพของชาวไทยเชื้อสายเวียดนามบ้านนาจอก ประกอบด้วย ด้านเกษตรกรรม ได้แก่ การเพาะปลูกผักปลอดสารพิษ ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากชาอัสสัม ด้านจักสาน มีการสานเปลยวน การหากินตามธรรมชาติ คือ การทำนา ทำสวน ปลูกผักปลอดสารพิษ และเป็นช่างไม้ช่างปูนก่อสร้าง โดยมีการประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำไร่ ทำนา ทำสวน เลี้ยงสัตว์ 102 ครัวเรือน อาชีพค้าขาย 37 ครัวเรือน ทำงานประจำรับราชการ 9 ครัวเรือน
กลุ่มอาชีพมีจำนวน 4 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มโฮมสเตย์จำนวนสมาชิก 15 คน 2) กลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษ จำนวนสมาชิก 30 คน 3) กลุ่มแม่บ้านร้านค้าของที่ระลึกอาหารเวียดนามจำนวนสมาชิก 15 คน 4) กลุ่มเลี้ยงไก่พื้นเมืองจำนวน 20 คน และ 5)กลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์ชาเขียว จำนวนสมาชิก 15 คน
เมื่ออพยพเข้ามาครั้งแรก คนคนไทยเชื้อสายเวียดนามในจังหวัดมุกดาหารจะทำงานทุกอย่างเพื่อหาเลี้ยงชีพ เช่น เป็นคนงานก่อสร้าง ช่างไม้ ค้าขาย บ้างก็เช่าที่ดินคนไทยเพื่อปลูกผัก เลี้ยงเป็ด รายได้ส่วนหนึ่งจะบริจาคให้องค์กรกลางนำส่งไปช่วยชาติในการต่อสู้เรียกร้องเอกราช ในปัจจุบันคนคนไทยเชื้อสายเวียดนามเป็นกลุ่มที่มีฐานะดี เป็นนายทุน เจ้าของโรงงาน กิจการร้านค้า และขายสินค้าในตลาดสด
อาชีพที่ลูกหลานได้ทำเป็นอาชีพรับราชการ แพทย์ เกี่ยวกับการค้าขายมีการถ่ายทอด เป็นรุ่น ๆ มีการสั่งสอนสืบต่อกันมา มีความกล้าคิด กล้าทำมากขึ้น คนเวียดนามส่วนใหญ่มีความรู้ทักษะเรื่องการค้าขายทักษะเกิดจากการ สืบทอดโดยครอบครัว ประสบการณ์ในการประกอบอาชีพ ใช้ความขยัน ประหยัดอดทนเกิดทักษะจากการสืบทอดจากครอบครัว คนเวียดนามส่วนใหญ่มีความรู้ทักษะเรื่องการค้าขาย ประยุคเอาของของไทยมาทำ ข้าวเกรียบปากหม้อ เอาหม้อกับผ้าขา มาทำ คนเวียดนามส่วนใหญ่ที่หนีสงครามมาไม่ได้ทันเอาอะไรมา ที่มีมาก็จะมีมีด พร้า จอบเสียม เครื่องมือส่วนใหญ่ที่ติดตัวตอนหนีสงครามมาจะเป็นมีด จอบเสียม เครื่องมืออาศัยจากโรงงานที่เขาผลิตออกมาสำเร็จรูปมากกว่า
เมื่อคนใดมีอาการไข้จะมีหมอยากลางบ้านมาทำการรักษาโดยใช้สมุนไพรและใช้ภูมิปัญญาจากการสังเกตอาการของผู้ป่วย เช่น การตรวจจับชีพจรจะรู้ว่ามีอาการป่วยเกี่ยวกับโรคอะไร ขณะเดียวกันจะใช้ยาปฏิชีวนะควบคู่กันไปด้วยแต่เน้นรักษาด้วยสมุนไพรเป็นหลัก กรณีที่เกินความสามารถของหมอกลางบ้านแล้วจะจัดส่งโรงพยาบาลของรัฐต่อไป ปัจจุบันการรักษาพยาบาลของคนคนไทยเชื้อสายเวียดนามในเขตเทศบาลเมืองมุกดาหารที่เจ็บป่วยเล็กน้อยจะรักษาที่คลินิกแพทย์แผนปัจจุบัน หากเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลจะได้รับบริการและสวัสดิการเหมือนคนไทยทั่วไป
และชาวไทยเชื้อสายเวียดนามในจังหวัดสกลนคร นิยมประกอบอาชีพด้านการเกษตร จะมีการปลูกผัก เลี้ยงหมู เลี้ยงไก่ ทำสวนผัก ค้าขาย สมัยจอมพลแปลกจะห้ามทำนา ส่วนมากจึงทำอาชีพค้าขายแทน ขายทอง ตัดเย็บเสื้อผ้า การจักสาน ทำฝาบ้านขาย
สินค้าแนะนำของชุมชนชาวไทยเชื้อสายเวียดนาม ในกลุ่มจังหวัดสนุก (สกลนคร - นครพนม - มุกดาหาร) ส่วนใหญ่จะเป็นอาหารของชาวไทยเชื้อสายเวียดนาม ไม่ว่าจะเป็นกวยจั๊บญวนแบบกึ่งสำเร็จรูป หมูยอ แหนมเนือง ผักปลอดสารพิษตามฤดูกาล เป็นต้น
สถานที่ท่องเที่ยวของชาวไทยเชื้อสายเวียดนาม ในจังหวัดนครพนม ประกอบไปด้วย
1. อนุสรณ์สถานประธานโฮจิมินห์หมู่บ้านมิตรภาพไทย – เวียดนาม
เป็นสถานที่จัดแสดงและรวบรวมข้อมูลชีวประวัติท่านประธานโฮจิมินห์ สิ่งของเครื่องใช้ของอดีตท่านประธานโฮจิมินห์ในช่วงที่ทำอยู่บ้านนาจอก เอกสารและภาพถ่ายสำคัญทางประวัติศาสตร์ ที่แสดงถึงความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศไทยและสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม แสดงความสัมพันธ์ประเทศไทยและสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามโดยที่ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามมีงบประมาณในการสร้างบ้านจำลองท่านประธานโฮจิมินห์ ที่ประเทศเวียดนามขนาดอัตราส่วน 1 : 10 จำนวน 2 หลัง พร้อมรูปปั้นอดีตท่านประธานโฮจิมินห์มอบไว้ให้เพื่อจัดแสดงที่หมู่บ้านมิตรภาพไทย- เวียดนาม ซึ่งเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2556 ท่านเหงียนผูจ่อง เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม มาพบประชาชนชาวไทยเชื้อสายเวียดนามที่บ้านนาจอกและได้มอบเงินจำนวน 45 ล้านบาทเพื่อสร้างอนุสรณ์สถานประธานโฮจิมินห์เพื่อเป็นเกียรติประวัติท่านประธานโฮจิมินห์และเพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างไทย-เวียดนาม ให้มีความแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
2. บ้านท่านประธานโฮจิมินห์ (หลังเก่า)
อยู่ห่างจากหมู่บ้านมิตรภาพไทย - เวียดนามประมาณ 500 เมตรเป็นสถานที่จัดแสดงสิ่งของเครื่องใช้ของท่านประธานโฮจิมินห์ในช่วงพำนักอาศัยอยู่ที่บ้านนาจอก พร้อมทั้งหลักฐาน การปลูกต้นมะพร้าวและต้นมะเฟืองที่ยังปรากฏอยู่บริเวณบ้านท่านประธานโฮจิมินห์
3. ศาลเจ้าพ่อด่ายเวือง
ศาลเจ้าพ่อด่าย เวือง (Dai Vuong) ที่บ้านนาจอก สร้างเมื่อ พ.ศ. 2441 บูรณะซ่อมแซมเมื่อ พ.ศ. 2536 ความเป็นมา คำว่า ด่ายเวือง แปลว่า พระมหากษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่แห่งเวียดนาม ศาลแห่งนี้ชาวบ้านร่วมกันสร้างตั้งแต่เริ่มก่อตั้งหมู่บ้าน แต่เดิมศาลเจ้าทำด้วยไม้ แต่ต่อมาเมื่อคนในบ้านนาจอกมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ชาวบ้านจึงช่วยกันบูรณะซ่อมแซม สำหรับศาลหลังใหม่ทำจากปูนซีเมนต์ ความศักดิ์สิทธิ์ของศาลเจ้าพ่อด่าย เวือง ได้รับการบอกเล่าและเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนในหมู่บ้านเพราะเชื่อว่าการเคารพบูชาบรรพบุรุษนั้น จะช่วยหนุนนำให้การทำงานและชีวิตครอบครัวร่มเย็นเป็นสุขและเป็นศูนย์รวมในการประกอบพิธีกรรมของคนไทยเชื้อสายเวียดนาม
คนไทยเชื้อสายเวียดนามบ้านนาจอกมีความเชื่อและนับถือ เจ้า เจิ่น ฮึง ด่าว (Tran Hung Dao) ซึ่งแต่เดิมเป็นเจ้าที่ปกครองประเทศเวียดนามเมื่อในอดีต โดยคนไทยเชื้อสายเวียดนามได้ร่วมกันสร้างรูปปั้นถือดาบไม้ไว้เป็นตัวแทน โดยมีข้อห้ามไม่ให้ผู้หญิงเข้าใกล้เพราะเชื่อว่าจะทำให้เสื่อม แต่ให้ไหว้ได้ในบริเวณรอบนอก สำหรับความเป็นมาของ เจ้า เจิ่น ฮึง ด่าว คือนักรบผู้กล้าเวียดนามสมัยราชวงศ์เจิ่น (Tran) เจ้า เจิ่น ฮึง ด่าว ได้รับความเคารพนับถือจากคนเวียดนามทั้งใน และนอกประเทศ ถือว่าเป็นเทพแห่งทหาร ปรัชญา สังคม
สถานที่สำคัญที่ชาวไทยเชื้อสายเวียดนามในจังหวัดมุกดาหารเคารพบูชา และใช้เป็นสถานที่รวมตัวทำกิจกรรม คือ
1. ศาลเจ้าวัดญวน (ดึ๊ก – ถัง - ตัน)
เป็นวัดเก่าสร้างมาตั้งแต่ รัชกาลที่ 5 เมื่อพุทธศักราช 2439 โดยชาวญวนอพยพได้ก่อสร้างขึ้น
2. “ธรรมสถานเยียวยากตือ” หรือที่รู้จักกัน คือ วัดเยียวยากตื้อ (วัดเวียดนาม)
ซึ่งในบริเวณดังกล่าวมีทั้งสถานที่ปฏิบัติงานของสมาคมชาวไทยเชื้อสายเวียดนาม และโรงเรียนสอนภาษาเวียดนาม